หน้าที่ 1 - โบทูลิซึม (Botulism) จากอาหาร
โบทูลิซึม (Botulism) จากอาหาร
โรคโบทูลิซึม (botulism) ในคน เป็นโรครุนแรงที่ไม่พบบ่อย�� โรคนี้เกิดจากสารชีวพิษ (toxin) ที่มีฤทธิ์รุนแรง ซึ่งสร้างโดยเชื้อแบคทีเรียชื่อคลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) และไม่ติดต่อจากคนถึงคน ��เชื้อแบคทีเรียสปีชีส์ดังกล่าวที่ก่อโรคโบทูลิซึมในคน สามารถแบ่งตามชนิดของชีวพิษได้เป็น 3 ชนิด (type) คือ ชนิด� A B และ E�
แบคทีเรียนี้ในรูป สปอร์ (spore) สามารถพบได้ในดิน, ตะกอนในน้ำ และในปลา�� สปอร์พวกนี้ทนความร้อน�� ภายใต้สภาวะไร้อากาศ สปอร์ของโบทูลินัม สามารถเจริญไปเป็นแบคทีเรียใหม่และสร้างชีวพิษได้�การรับประทานสารชีวพิษ ที่มีอยู่ในอาหารที่เตรียมอย่างไม่เหมาะสมเป็นอันตราย และอาจทำให้เสียชีวิตได้�
โดยทั่วไปแล้ว โบทูลิซึมมักมีสาเหตุมาจากอาหาร แต่โรคดังกล่าวอาจจะติดต่อผ่านการติดเชื้อทางบาดแผล หรือเกิดการติดเชื้อในลำไส้ของทารกได้
อาการของโรค
อาการของโรคโบทูลิซึมไม่ได้เกิดจากตัวแบคทีเรียเอง�� แต่เกิดจากชีวพิษที่แบคทีเรียชนิดนี้ปล่อยออกมา ซึ่งมักปรากฏอาการให้เห็นภายใน 12 - 36 ชั่วโมง (อย่างเร็วคือ 4 ชั่วโมง และอย่างช้าคือ 8 วัน) ภายหลังการได้รับเชื้อ�� รายงานการพบโบทูลิซึมมีไม่มากนัก แต่อัตราการตายสูง หากรักษาไม่ทันท่วงทีหรืออย่างไม่เหมาะสม โรคนี้อาจมีอัตราการทำให้เสียชีวิตสูงถึง 5 - 10 เปอร์เซ็นต์
อาการในเบื้องต้นของโรคนี้ก็คือ หมดเรี่ยวแรง อ่อนเพลีย และวิงเวียนศีรษะ ซึ่งมักจะตามด้วยการมองเห็นภาพไม่ชัดเจน ปากแห้ง พูดหรือกลืนอาหารลำบาก�� อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย คือ อาเจียน ท้องร่วงหรือท้องผูก และอาจมีอาการท้องบวม�� อาการของโรคอาจเปลี่ยนแปลง ไปสู่การที่คอและแขนไม่มีแรง จากนั้น กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการหายใจและกล้ามเนื้อช่วงล่างของร่างกาย อาจได้รับผลกระทบไปด้วย เกิดอาการอัมพาตอาจทำให้หายใจลำบาก แต่จะไม่มีไข้และไม่สูญเสียสติสัมปชัญญะ
ผู้ที่รับประทานอาหารซึ่งติดเชื้อในแบบเดียวกัน มักจะมีอาการคล้ายคลึงกัน หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที (คือ มีการวินิจฉัยอย่างเร่งด่วน ฉีดสารต้านชีวพิษ (antitoxin) อย่างรวดเร็ว และดูแลในส่วนของระบบการหายใจอย่างใกล้ชิด)
อาการของโรคการป้องกันและรักษาโรคโบทูลิซึม
การป้องกันโรคนี้อาศัยการเตรียมอาหารอย่างถูกต้อง (โดยเฉพาะขั้นตอนการเก็บรักษา) กระบวนการสเตอริไล-เซชัน (Sterilization) ทำลายชีวพิษในสปอร์ได้ แต่กระบวนการพาสเจอไรเซชัน (Pasteurization) อาจไม่เพียงพอที่จะทำลายสปอร์ได้หมด�� ดังนั้น จึงต้องควบคุมดูแลป้องกัน ไม่ให้เชื้อเติบโต และสร้างชีวพิษ ในระหว่างกระบวนการผลิตควบคู่กันไปด้วย การแช่เย็น ร่วมกับการทำให้อาหารอยู่ในสภาพ มีความเข้มข้นของเกลือสูง หรือมีสภาพเป็นกรด มีส่วนช่วยป้องกัน การเติบโตและการสร้างสปอร์ได้
การรักษาต้องทำทันที ภายหลังจากวินิจฉัยพบว่าเป็นโรคนี้ ในหลายกรณีต้องอาศัยเครื่องช่วยหายใจ และอาจต้องรักษานาน หลายสัปดาห์หลายเดือน ��ไม่จำเป็นต้องใช้ ยาปฏิชีวนะ (antibiotics) ยกเว้น ในรายที่พบการติดเชื้อจากบาดแผล�� มีวัคซีน (vaccine) ต่อโรคนี้ แต่มีการนำมาใช้น้อยมาก เนื่องจากยังไม่ทราบประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงชัดเจน
* เนื้อหาในเอกสารนี้เรียบเรียงมาจาก Fact Sheet No 270 (Revised August 2002) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ท่านที่สนใจจะอ่านฉบับสมบูรณ์ (ภาษาอังกฤษ) สามารถดาวน์โหลดได้จาก https://www.who.int/mediacentre/factsheets/who270/en/print.html�������
หน้าที่ 2 - โบทูลิซึม กับอาวุธชีวะ
ดร. นำชัย ชีววิวรรธน์
ฝ่ายบริหารจัดการความรู้
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BioTec)
นักเขียนประจำ วิชาการ.คอม
โบทูลิซึม (Botulism) กับอาวุธชีวะ
โรคโบทูลิซึม (botulism) ในคน แม้ว่าจะเป็นโรครุนแรง แต่ก็พบได้ไม่บ่อยนัก สำหรับข่าวเรื่องผู้ป่วยจากโรคโบทูลิซึมที่ ต.ป่าคาหลวง และ ต.สวด อ.บ้านหลวง จ.น่าน เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2549 นั้น นอกจากเนื้อหาในข่าวที่กล่าวถึง ความเป็นไปได้ที่จะมีการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อ คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) จากดินแล้ว ยังมีข่าวบางกระแสว่า เชื้อนี้อาจเป็น อาวุธชีวะ หรือ อาวุธชีวภาพ (biological weapon หรือbioweapon) อีกด้วย
เรื่องนี้น่าจะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด?
พบโรคโบทูลิซึมที่ใดบ้างในโลก ?
แม้ว่าจะไม่พบโรคโบทูลิซึมบ่อยนัก แต่เชื้อโรคชนิดนี้พบกระจายอยู่ในดินทั่วโลก และพบผู้ป่วยที่ติดเชื้ออยู่เป็นระยะๆ ทั่วโลก องค์การอนามัยโลกระบุว่า มีบันทึกเรื่องการระบาดของโรคนี้ระหว่างปี พ.ศ. 24942532 ใน 38 ประเทศ [1] เช่น การระบาดในประเทศสหภาพโซเวียต (2522) ประเทศแคนาดา (2528) ประเทศจีน (1986) และประเทศเนเธอแลนด์ (2543) เป็นต้น
จากรายงานการวิจัยฉบับหนึ่ง [2] ระบุว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2533-2543 เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว ก็มีผู้ป่วยจำนวน 263 ราย จากการได้รับเชื้อนี้จากอาหารใน 160 กรณี ในจำนวนนี้พบทั้งในชา ผัก น้ำมัน และเนื้อสัตว์ (ดูตารางด้านล่าง)
แหล่งข้อมูล: [2]
เคยพบโรคโบทูลิซึมในประเทศไทยหรือไม่ ?
มีรายงานว่า มีการแพร่ระบาดของโรคนี้ก่อนหน้านี้แล้วเช่นกัน เช่น มีการอ้างถึงการศึกษาโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ [3] ว่า พบกรณีจากการบริโภคหน่อไม้ปี๊บ ที่มีผู้ป่วยจำนวน 10 ราย ในจังหวัดเชียงใหม่ ในเดือน พ.ย. 2546 และย้อนหลังกลับไปอีกคือ ในเดือน ธ.ค. 2540 ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก (ป่วย 6 ราย เสียชีวิต 1 ราย) และเดือน เม.ย. 2541 ที่ จ. น่าน (ป่วย 13 ราย เสียชีวิต 2 ราย) [4]
โรคโบทูลิซึมในจังหวัดน่าน เกี่ยวข้องกับอาวุธชีวะหรือไม่ ?
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า เหตุการณ์พบผู้ป่วยจากโรคโบทูลิซึม เป็นเรื่องที่แม้ว่าจะพบได้ไม่บ่อย แต่ก็พบได้เป็นระยะๆ ทั่วโลก และจนถึงปัจจุบัน ข้อมูลจากทั่วโลกก็ยังไม่เคยมีรายงานเรื่อง การก่อการร้ายด้วยเชื้อโรคชนิดนี้แต่อย่างใด ดังนั้น แม้ว่าจะมีผู้ป่วยจากกรณีหน่อไม้ปี๊บที่ จ.น่าน ในคราวนี้จำนวนมาก แต่ก็มีแนวโน้มเป็นไปได้มากว่า จะเกิดจากการติดเชื้อ คลอสทริเดียม โบทูลินัม จากดินในระหว่างการเตรียมหน่อไม้ปี๊บดังกล่าว
ติดตามตอนต่อไปของบทความนี้
โบท็อกซ์ (Botox): สวยด้วยยาพิษ ( https://www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php?Aid=244
ที่มา https://vcharkarn.com/varticle/335