มาเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเด็กด้วย 6Q กันเถอะ


858 ผู้ชม


หน้าที่ 1 - มาเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเด็กด้วย 6Q กันเถอะ

 


           ช่วยกันเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเด็กให้เก่ง ดี มีความสุข และปลอดภัยจากภัยต่างๆที่เข้ามา ด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันพวกเขาด้วย 6Q กันเถอะค่ะ

ภาพจาก https://www.thehindu.com

          ใกล้จะครบ 6Q เต็มทีแล้วนะคะ คราวนี้ขอนำเสนอ Q ตัวที่ 5 น้องนุชคนเกือบสุดท้ายกันบ้าง นั่นก็คือ HQ นั่นเองค่ะ
          HQ หรือ Health Quotient คือ การมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เพราะหากร่างกายไม่แข็งแรง การพัฒนาคิวด้านอื่นๆ คงเกิดขึ้นไม่ได้ การดูแลสุขภาพที่ดีควรดูแลทั้งการออกกำลังกาย อาหาร และสุขภาพใจ ไปพร้อมกัน HQ เป็นเชาวน์สุขภาพ คือความสามารถทางการจัดการและการบริหารสุขภาพของตัวคุณเอง เคยคิดไหมว่าถ้าหากเราทำงานหนักโดยไม่ใส่ใจต่อสุขภาพหรือการพักผ่อนใดๆ มันจะ เกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง แน่นอนว่าความเครียดถามหา สุขภาพกายอ่อนแอ สุขภาพจิตย่ำแย่และในที่สุด ผลการปฏิบัติงานก็จะไม่มีประสิทธิภาพ การมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จึงเป็นสิ่งจำเป็น ควรดูแลและใส่ใจต่อสุขภาพของตนเองสักนิด ด้วยการหาเวลาออกกำลังกายเสียบ้างหรือหันไปเล่นกีฬาสุดโปรด เพราะการออกกำลังกายนั้นจะช่วยทำให้สมองทุกส่วนทำงาน ระบบความจำดีขึ้น และที่สำคัญ จะทำให้มีสมาธิในการทำงานมากขึ้นด้วย
          สุขภาพกายที่ดี หมายถึงกายที่ร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีตลอดไปได้ด้วยตนเองและสามารถป้องกันการเจ็บป่ายที่ เกิดขึ้นได้ด้วยการปฏิบัติตัวตามแนวทางสู่การมีสุขภาพดีเมื่อถึงเวลาเจ็บไข้ เราก็ต้องดูแลตนเองให้ดีเพื่อให้หายป่วยเร็วขึ้น หรือเพื่อบรรเทาอาการที่เป็นอยู่และลดอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนการมีสุขภาพจิตที่ดีก็ส่งเสริมให้มีสุขภาพที่แข็งแรง หายจากการเจ็บป่วยได้เร็วขึ้นได้เช่นกัน  การพัฒนาแนวคิดการดำเนินชีวิตอย่างคนมีสุขภาพด้วย 6 อ. เพื่อสุขภาพที่ดี ต้องปฏิบัติดังนี้


          1.อาหาร    กินอาหารโดยยึดหลักการกินให้หลากหลายชนิดมากที่สุด ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมันและแป้งในปริมาณมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง และเบาหวานได้ ควรเน้นอาหารประเภทผักผลไม้ให้มากขึ้น
          2.ออกกำลังกาย    ควรออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดห์ละ 3  ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ
          3.อารมณ์    อารมณ์มีความสัมพันธ์กับสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์มีผลต่อร่างกาย อารมณ์ดีส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น เมื่อมีความสุข ร่างกายจะหลั่งสารเอนโดฟิน ส่งผลให้ร่างกายต้องตื่นตัวกระชุ่มกระชวย ผ่อนคลายการทำงานของสมองจะดี หายป่วยเร็วขึ้น อายุยืนมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าอารมณ์ไม่ดีจะส่งผลทำลายสุขภาพทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลง กินอาหารได้น้อย นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด ก้าวร้าว ความดันโลหิตสูง ดังนั้น การรู้จักควบคุมอารมณ์อย่างเหมาะสม มีผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจทำให้การดำรงชีวิตประจำวันมีความสุข
          4.อนามัยสิ่งแวดล้อม    สภาพแวดล้อมในบ้านที่ดีเอื้อต่อการมีสุขภาพดีของคนในครอบครัว ขณะเดียวกันก็ควรสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชนด้วย
          5.อโรคยา    หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันสูง ลดการกินอาหารรสจัด ไม่กินอาหารที่สุก ๆดิบๆ หรืออาหารที่มีสารปนเปื้อน การจัดการกับความเครียด โดยทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ การคาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับรถยนต์ สวมหมวกกันน็อกขณะขับขี่มอเตอร์ไซค์
          6.อบายมุข    งดเว้นบุหรี่ สุรา ยาเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพกายและจิตใจ

          หรืออีกวิธีหนึ่ง นั่นคือ 10 อ. เพื่อสุขภาพ
          อาหารดี อิ่มอร่อยไร้โรคา            อากาศดีพาชีวีให้สดใส
          ออกกำลังกายพอดีไม่แก่ไว          อุจจาระทุกวันได้ปลดทุกข์ภัย
          อนามัยช่องปากสำคัญนัก            ท่านที่รัก อุบัติเหตุ ป้องกันได้
          อารมณ์ดีมีสุขทุกวันไป               งานอดิเรกทำให้ใจชื่นบาน
          อบอุ่นในครอบครัวและญาติมิตร     หลับสนิทอนาคตก็สดใส
          ทำได้ครบทั้ง 10 อ. ผลทันใด       สุขกายใจตลอดไปทุกคนเอย

          นอกจากการมี สุขภาพกายที่ดีแล้ว ยังต้องมีสุขภาพจิตที่ดี สุขภาพจิตที่ดี คือมีจิตใจที่พร้อมเผชิญความไม่แน่นอนในชีวิต ด้วยการเรียนรู้ที่จะอยู่กับบุคลคลอื่นด้วยความรักการแบ่งปัน รู้จักการแบ่งเวลาให้เหมาะสมและมองโลกในแง่ดี ปรับตัวปรับใจได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงได้

ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดี


          1.มองตนเองในด้านดี เห็นคุณค่าในตนเอง
          2.สามารถพึ่งพาตนเองได้
          3.มีความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่นและสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น
          4.ยอมรับความสามรถของตนเอง
          5.รู้จักอดทนในการรอคอย
          6.ตอบสนองความต้องการของตานเองได้อย่างเหมาะสม
          7.ยอมรับและสามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมได้

วิธีป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิต
          1.ร้กษาสุขภาพให้แข็งแรง
          2.หาที่ปรึกษา เมื่อมีปัญหาไม่สบายใจ
          3.ฝึกเป็นคนที่รู้จักให้อภัยแก่คนอื่นได้ง่าย
          4.หลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ทำให้เครียดไปชั่วขณะ
          5.ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
          6.หาทางระบายอารมณ์ขุ่นมัวไปในทางที่เหมาะสม
          7.อย่าปล่อยให้มีเวลาว่างมากเกินไป
          8.เล่นกับสัตวเลี้ยง
          9.การคิดในเชิงบวก
          10.รู้จักทำบุญให้ทาน
แล้วอย่าลืมติดตามอ่านน้องสุดท้อง Q ที่ 6 กันต่อในคราวหน้านะคะ แล้วคุณจะรู้ว่าอัจฉริยะสร้างได้จริงๆๆ


ที่มา   https://vcharkarn.com/varticle/39759

อัพเดทล่าสุด