อีคิวกับการเลี้ยงลูกให้ฉลาด


1,458 ผู้ชม



หน้าที่ 1 - อีคิวกับการเลี้ยงลูกให้ฉลาด

 


           EQ โดยทั่วไป เราอาจแบ่งความสามารถของบุคคลออกเป็น 2 ด้านใหญ่ๆ คือ ความสามารถทางความคิด และความสามารถทางอารมณ์ 1. ความสมารถทางความคิด (Cognitive intelligence) คือความสามารถในการคิด วิเคราะห์ ทำความเข้าใจปัญหา แยกแยะ สร้างความคิดรวบยอด และจดจำข้อมูลต่างๆ ความสามารถด้านนี้ มีเครื่องมือวัดออกมาเป็นค่าตัวเลขที่เรียกว่า ค่า IQ (intelligence quotient) ใครมี IQ สูงถือว่าฉลาดมาก ใครมี IQ ต่ำถือว่าฉลาดน้อย 2. ความสามารถทางอารมณ์ (Emotional intelligence) คือความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ของตนเอง จัดการกับอารมณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี รู้จักมองโลกในแง่ดี และปรับตัวกับปัญหาตลอดจนความเครียดต่างๆ ได้ดี มีผู้พยายามสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถด้านนี้ คล้ายๆ IQ เรียกว่า EQ (emotional quotient) แต่เนื่องจากความสามารถทางอารมณ์มีความสลับซับซ้อนมาก ในปัจจุบันจึงยังไม่มีแบบทดสอบใดที่วัดได้อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามผู้คนก็เรียกคำว่า EQ ติดปาก ใช้แทนคำ? ความฉลาดทางอารมณ์? นั่นเอง

           ซึ่งการเลี้ยงเด็กในปัจจุบันพบว่า แค่ IQ และ EQ ยังไม่เพียงพอสำหรับเด็ก แต่เด็กควรมี 5 Q IQ - ฉลาดทางสติปัญญา ความรู้ ข้อมูลวิชาการ และวิเคราะห์ EQ - ฉลาดทางอารมณ์ รู้ภาวะอารมณ์ของตนเอง และผู้อื่น MQ - ฉลาดทางจริยธรรม คุณธรรม AQ - Adversity Quotient ความสามารถในการแก้ปัญหา+วิกฤต SQ - Social Quotient ทักษะทางสังคม ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

           การจะเลี้ยงให้เด็กมีครบทั้ง 5 Q จึงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่นัก เนื่องจากสังคมและเศรษฐกิจที่เติบโตทำให้เวลาในการอยู่ใกล้ชิดกับบุตรเริ่ม น้อยลง นักวิชาการจึงได้แนะนำคุณพ่อคุณแม่ในยุคปัจจุบันว่า หลายท่านที่หนักใจกับการดูแลเด็กในปัจจุบันอาจจะไม่สามารถได้ครบทั้ง 5Q แต่ขอให้พื้นฐานEQ สมบูรณ์เด็กก็สามารถที่จะสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างดี เพราะหลายๆครั้งที่พบว่าเด็กที่มีแต่ความฉลาดทางปัญญาอย่างเดียว แต่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคม หรือแก้ปัญหาได้ดี ก็ทำให้เกิดปัญหาต่างๆขึ้นมากมายทั้งทางกาย และทางจิต อันเนื่องมาจากความสามารถในการปรับตัว การแก้ปัญหา สรุปคือ IQ อาจจะเพียงแค่ ฉลาดคิด แต่ฉลาดทางอารมณ์ = ฉลาดคิด + ฉลาดพูด + ฉลาดทำ

องค์ประกอบของ EQ และวิธีสร้าง
           ความดี : หมายถึง - ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง วิธีสร้าง : รู้จักเห็นใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม : รู้อารมณ์และความต้องการของตนเอง : ควบคุมอารมณ์และความต้องการได้ : แสดงออกอย่างเหมาะสม - ความสามารถในการเห็นใจผู้อื่น วิธีสร้าง : ใส่ใจผู้อื่น : เข้าใจ และยอมรับผู้อื่น : แสดงความเห็นใจอย่างเหมาะสม - ความสามารถในการรับผิดชอบ วิธีสร้าง : รู้จักการให้ รู้จักการรับ : รู้จักรับผิด รู้จักให้อภัย : เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
           ความเก่ง : หมายถึง- ความสามารถในการรู้จักตนเองและมีแรงจูงใจ วิธีสร้าง: รู้ศักยภาพของตนเอง: สร้างขวัญและกำลังใจให้ตนเองได้: มีความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย - ความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหา วิธีสร้าง: รับรู้และเข้าใจปัญหา: มีขั้นตอนในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม: มีความยืดหยุ่น - ความสามารถในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น วิธีสร้าง: รู้จักการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น: กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม: แสดงความเห็นที่ขัดแย้งได้อย่างสร้างสรรค์

           ความสุข : หมายถึง- ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข มีความภูมิใจในตนเอง วิธีสร้าง: เห็นคุณค่าในตนเอง: เชื่อมั่นในตนเอง - ความพึงพอใจในชีวิต วิธีสร้าง: รู้จักมองโลกในแง่ดี: มีอารมณ์ขัน: พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ - ความสงบทางใจ วิธีสร้าง: มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุข: รู้จักผ่อนคลาย: มีความสงบทางจิตใจ

           ตรวจสอบอีคิวของท่านแดเนียล โกลแมน แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวถึงลักษณะของคนที่มีอีคิวสูง หรือมีความฉลาดทางอารมณ์สูงไว้ดังนี้

           • เป็นคนที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์
           • มีการตัดสินใจที่ดี
           • สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้
           • มีความอดทน อดกลั้น
           • ไม่หุนหันพลันแล่น
           • สามารถทนต่อความผิดหวังได้
           • มีความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น
           • มีความเข้าใจสถานการณ์ทางสังคม
           • ไม่ย่อท้อหรือยอมแพ้ง่าย
           • มีพลังใจที่จะฝ่าฟันต่อสู้กับปัญหาชีวิตได้
           • สามารถจัดการกับความเครียดได้ ไม่ปล่อยให้ความเครียดเกาะกุมจิตใจจนทำอะไรไม่ถูก

แดเนียล โกลแมน ยังแนะนำวิธีพัฒนาอีคิวแบบง่ายๆ ด้วย

           1. รู้จักอารมณ์ : เป็นพื้นฐานในการควบคุมอารมณ์เพื่อแสดงออกอย่างเหมาะสม การรู้จักอารมณ์ก็คือการรู้ตัว หรือการมีสตินั่นเอง ซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมอารมณ์ และสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ วิธีการ :

           2. ทบทวนด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่เข้าข้างตัวเองว่าเรามีลักษณะอารมณ์อย่างไร แสดงออกในรูปแบบไหน และเหมาะสมหรือไม่ ฝึกสติให้รู้ตัวอยู่เสมอ ว่าขณะนี้ กำลังรู้สึกอย่างไรกับตัวเอง หรือสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆตัว สบายใจ ไม่สบายใจ แล้วลองถามตัวเองว่าเราคิดอย่างไรกับความรู้สึกนั้น มีผลอย่างไร กับการแสดงออกของเรา

           3. จัดการกับอารมณ์ : หมายถึงความสามารถในการควบคุมอารมณ์ และแสดงออกอย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ วิธีการ :

           4. ฝึกรับรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งด้านดี และร้าย สร้างโอกาสจากอุปสรรค หรือหาประโยชน์จากปัญหา โดยการเปลี่ยนมุมมอง เช่น เหตุการณ์ร้ายเป็นความท้าทายที่จะพัฒนาเรายิ่งขึ้น

           5. ฝึกผ่อนคลายความเครียด โดยเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตนเอง เช่น การออกกำลังกาย นั่งสมาธิ เดินจงกลม เล่นดนตรี ปลูกต้นไม้ เป็นต้น

           6. สร้างแรงจูงใจ : การมองหาแง่ดีของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นว่า จะสามารถเผชิญเหตุการณ์นั้นได้ และก้าวไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ วิธีการ :

           7. ทบทวนและจัดอันดับสิ่งสำคัญที่ต้องการในชีวิต และความเป็นไปได้ เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย

           8. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน

           9. มุ่งมั่นต่อเป้าหมาย

           10. ลดความสมบูรณ์แบบ โดยทำใจยอมรับว่าสิ่งที่ต้องการอาจผิดพลาดได้ เพื่อลดความเครียด

           11. ฝึกมองหาประโยชน์จากอุปสรรค เพื่อสร้างความรู้สึกดีๆ และพลัง

           12. ฝึกสร้างทัศนคติที่ดีในเหตุการณ์ไม่ดีต่างๆ

           13. รู้อารมณ์ผู้อื่น : เพื่อแสดงออกอย่างเหมาะสมกับคนที่มีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ต่อกัน วิธีการ :

           14. ให้ความสนใจในการแสดงออก อารมณ์ และความรู้สึกของผู้อื่น โดยการสังเกตสีหน้า แววตา ท่าทาง การพูด น้ำเสียง ตลอดจนการแสดงออกอื่นๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจต่อกัน

ที่มา   https://vcharkarn.com/varticle/39451

อัพเดทล่าสุด