หน้าที่ 1 - เบาหวาน โรคคุ้นหูที่ไม่ธรรมดา
โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบได้บ่อยและมักจะพบได้หลายคนในครอบครัวเดียวกัน จนอาจมองได้ว่าโรคนี้อาจติดมาจากพันธุกรรมได้
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณะสุขพบว่า ปัจจุบันคนที่วัย 35 ปีขึ้นไปป่วยเป็นเบาหวานมากถึง 2.4 ล้านคน และที่น่าเป็นห่วงกว่านั้นคือผู้ที่เข้ารับการรักษากว่าครึ่งไม่เคยรู้มาก่อนว่าป่วยเป็นเบาหวาน
ลองทำแบบทดสอบดูว่าคุณเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานมากน้อยเพียงใด โดยทำเครื่องหมาย ถูก ที่หน้าหัวข้อนั้นๆ หากตรงกับสภาพและอาการของตน...
คุณมีอายุมากกว่า 35 ปี มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคเบาหวาน
ชอบกินของหวานๆ มันๆ หิวบ่อย ทานจุ
ออกกำลังกายน้อย กระหายน้ำบ่อย
อ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย ตาพร่า มองไม่ชัด
ความดันโลหิตสูง น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
ปวด แน่น จุกเสียดหน้าอก น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
ชาตามปลายมือปลายเท้า ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืนต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะ
หากคุณตอบว่าใช่เป็นส่วนใหญ่แสดงว่าคุณอาจเป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องรีบบำบัดรักษาก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป
เบาหวานคืออะไร
เบาหวานเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ หรือร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ จึงไม่สามารถเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตรวมถึงโปรตีนและไขมันบางส่วนได้อย่างเหมาะสม ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติและเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น หัวใจวาย ตาบอด ไตวาย อัมพฤกษ์ อัมพาตและโรคติดเชื้อ เป็นต้น
เบาหวานจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
เบาหวานชนิดที่ 1 หรือเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ซึ่งเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ เบาหวานชนิดนี้ส่วนใหญ่จะพบในเด็กและวัยรุ่น ประมาณ 10% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นเบาหวานชนิดที่ 1
เบาหวานชนิดที่ 2 หรือเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ซึ่งตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ส่วนใหญ่สร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ แต่ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ
ประมาณ 90% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
โรคแทรกซ้อนของเบาหวานมีอะไรบ้าง
ตา อาจเป็นต้นกระจกก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตาเสื่อม และอาจทำให้ตาบอดในที่สุด
ระบบประสาท ผู้ป่วยอาจะเป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลาย
เท้า ซึ่งมักจะทำให้มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่ายและอาจลุกลามจนเท้าเน่า กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือไม่มีแรงเบ่งปัสสาวะ กระเพาะอาหารไม่ทำงาน มีอาการจุกเสียด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเดิน โดยเฉพาะเช้ามือถึงก่อนเที่ยง ผู้ป่วยชายมักมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ไต มักเกิดภาวะไตวาย มีอาการบวม ซีด ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่พบได้ค่อนข้างบ่อย
ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ถ้าหลอดเลือดแดงที่เท้าแข็งและตีบ เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พออาจทำให้เท้าเย็น เป็นตะคริว ปวดขณะเดินมากๆ หรืออาจทำให้เป็นแผลหายยากหรือนิ้วเท้าเป็นเนื้อตายเน่า
ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เช่น วัณโรคปอด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ กลาก โรคเชื้อชา เป็นฝีหรือพุพองบ่อย นิ้วเท้าหรือช่องคลอดอักเสบ เป็นต้น
แผลที่เท้า เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีภาวะปลายประสาทอักเสบ และภาวะขาดเลือดทำให้เท้าชาเกิดแผลได้ง่ายและหายยากหรือเป็นเนื้อตายเน่า บางครั้งจำเป็นต้องตัดนิ้วหรือตัดขา ทำให้เกิดภาวะพิการได้
ทำไมผู้ป่วยเบาหวานมักเสียชีวิตจากโรคหัวใจ
ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอายุที่น้อยกว่าและรุนแรงกว่า เนื่องจากระดับน้ำตาลที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นทำให้ผนังหลอดเลือดแดง ทั้งรายการเกิดความผิดปกติและเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีโรคอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วย เช่น โรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นต้น
โรคเหล่านี้จะเร่งให้โครงสร้างและสภาพของหลอดเลือดเกิดความผิดปกติมากขึ้นและเร็วขึ้น หลอดเลือดหัวใจจึงเกิดการอักเสบ ทำให้คราบไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดมีการแตกออก ซึ่งจะทำให้เกิดลิ่มเลือดมาอุดตันหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบจึงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้ป่วยเบาหวาน
อาการโรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานจะแตกต่างจากผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไปอย่างไร
สำหรับอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีพในผู้ป่วยเบาหวานอาการเจ็บหน้าอกมักจะไม่ชัดเจนหรือไม่มีเลย เนื่องจากประสาทรับความรู้สึกในผู้ป่วยเบาหวานเสื่อมสภาพลง จึงมักจะมีแค่อาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ แน่น จุกเสียดหน้าอกเหมือนอาหารไม่ยอม วิงเวียน ตัวเย็น เหงื่อออก ใจสั่นรู้สึกคล้ายจะเป็นลม อาการเหล่านี้อาจมีอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพร้อมกันและอาจเกิดขึ้นในเวลาใดก็ได้
วิธีการบำบัดแบบองค์รวมของการแพทย์จีน
เป็นที่ทราบกันว่าโรคเบาหวานมีโรคแทรกซ้อนหลายอย่างที่ทำให้เกิดภาวะพิการและมีอันตรายถึงชีวิต การบำบัดโรคเบาหวานของการแพทย์จีนจึงไม่ได้หยุดอยู่แค่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเท่านั้น แต่ยังเน้นความสำคัญกับการรักษาต้นเหตุและโรคแทรกซ้อนของเบาหวานไปพร้อมๆ กัน ดังนี้
ทำความสะอาดและทะลวงหลอดเลือด สลายลิ่มเลือดและไขมัน ทำให้หลอดเลือดโล่งสะอาด ดังทฤษฎี
การวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของการแพทย์จีน ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด จึงป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อน
ของเบาหวาน เช่น โรคหลอดเลือด หัวใจตีบ ไขมันในเลือดสูง
ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปรับความสมดุลของร่างกายโดยเฉพาะความสมดุลของตับและตับอ่อน ทำให้มีการสังเคราะห์ โคเลสเตอรอลและ
อินซูลินในปริมาณที่เหมาะสม และเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลแล้วก็จะตอบสนอง ต่ออินซูลินได้อย่างปกติ
จึงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บำรุงรักษาไตที่เสื่อมลงให้แข็งแรงขึ้น เนื่องจากไตเสื่อมทำให้เกิดโรคเบาหวาน แต่เมื่อเป็นโรคเบาหวาน
แล้วก็จะทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้นจนเกิดภาวะไตวายซึ่งเป็นวัฏจักรที่เลวร้าย การบำรุงรักษาไตจึงมีบทบาท สำคัญในการบำบัดฟื้นฟู
โรคเบาหวานด้วย
ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้ถูกสุขลักษณะ พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เมื่อใช้วิธีบำบัดรักษาแบบองค์รวมควบคู่กับการปฎิบัติตัวอย่างถูกต้อง อาการต่างๆ ของเบาหวานจึงค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด
ที่มา : https://www.happydm.org/html/news_all.php?type_ID=3
หน้าที่ 2 - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน
เบาหวาน จัดเป็นโรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากความไม่สมดุลของปริมาณ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท (อาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาล) ที่รับประทานเข้าไปในร่างกายกับปริมาณของฮอร์โมนอินซูลิน ในภาวะปกติ ฮอร์โมนอินซูลิน ถูกหลั่งออกมาจากต่อมไร้ท่อที่ตับอ่อนเมื่อมีน้ำตาลเพิ่มขึ้นในเลือด เพื่อทำให้ร่างกายใช้น้ำตาล ที่ได้มาจากอาหารให้เป็นพลังงานภายในเซลล์ เมื่อปริมาณของฮอร์โมนอินซูลินไม่สมดุลกับอาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาล ที่รับประทานเข้าไป ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้ดี จึงเกิดโรคเบาหวานขึ้น
สาเหตุที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลดังกล่าว ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด มีการศึกษาที่ชี้แนะว่า เป็นผลจากพันธุกรรมหรือ เกิดจากโรคติดเชื้อไวรัสบางชนิดทำลายต่อมไร้ท่อ ที่สร้างอินซูลินในตับอ่อน หาใช่มีต้นเหตุมาจากการกินน้ำตาลมากเกินไปดังที่หลายคนเข้าใจกัน (แต่การกินของหวานทำให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลยากขึ้น) ในระยะแรกเริ่มที่ เกิดความไม่สมดุล ร่างกายของผู้นั้นจะปรับตนเองโดยอัตโนมัติ โดยผู้นั้นไม่รู้ตัวและยังไม่แสดงอาการออกมา จนกว่าความไม่สมดุลนี้มีมากเกินกว่าความสามารถในการปรับตัวของร่างกายผู้นั้นจะทำได้ ผู้นั้นจะค่อยๆ แสดงอาการ ของโรคเบาหวานออกมาจนกระทั่งมีอาการครบทุกรูปแบบ ดังนั้นกว่าผู้นั้นจะแสดงอาการออกมาให้เห็นชัดว่าเป็นโรคเบาหวาน โรคได้เกิดขึ้นก่อนแล้วนานหลายเดือนหรืออาจจะเป็นปีๆ แต่ยังไม่มีข้อมูลว่า การเข้าไปแก้ไขหรือรักษาตั้งแต่ในระยะที่ยังไม่แสดงอาการชัดเจน จะเกิดประโยชน์ที่เด่นชัด และดีกว่าการเข้าไปรักษาโรคในระยะที่มีอาการแล้วหรือไม่ จึงยังไม่มีการตรวจค้นหา ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานในระยะที่ยังไม่แสดงอาการทั้งๆ ที่เรามีวิธีการทดสอบอยู่แล้ว หากในอนาคตมีวิธีการรักษาใหม่ๆ ในระยะที่ยังไม่มีอาการและสามารถรักษาโรคให้หายขาดหรือหยุดยั้งการดำเนินโรคไว้ที่ตรงนั้นได้ ก็อาจจะมีการตรวจค้นหาผู้ที่ยังไม่แสดงอาการเพื่อให้การรักษาดังกล่าวได้ ดังนั้น ชีวิตของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถ แบ่งออกเป็นระยะต่างๆ ดังนี้คือ
ระยะที่หนึ่ง คือ ระยะเวลาตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์จนถึงหลังคลอด
ระยะที่สอง คือ ระยะเวลาหลังคลอดจนถึงระยะเวลาที่ตรวจพบว่าเริ่มเกิดความไม่สมดุลแต่ผู้นั้นยังไม่มีอาการของเบาหวาน การแบ่งออกเป็นระยะที่หนึ่งและสองยังไม่มีความสำคัญในขณะนี้ เพราะยังไม่มีการรักษาใดๆ ในปัจจุบัน
ระยะที่สาม คือ ระยะเวลาที่ตรวจพบว่าเกิดความไม่สมดุล และไม่มีอาการ จนถึงผู้นั้นเริ่มมีอาการของโรคเบาหวาน
ระยะที่สี่ คือ ระยะเวลาที่ผู้นั้นมีอาการของโรคเบาหวานไปจนถึงหายจากโรค
ระยะที่ห้า คือ ระยะที่หายจากโรคเบาหวานจนถึงแก่กรรม
ปัจจุบันเราพบผู้ป่วยและรักษาโรคเบาหวานในระยะที่สี่ ซึ่งเป็นระยะเวลา ที่ผู้ป่วยมาหาแพทย์ โรคเบาหวานไม่เพียงแต่ทำให้เกิดความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดเท่านั้น แต่ยังทำให้ระบบประสาทและหลอดเลือดเสื่อมเร็วกว่าปกติ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติไม่สามารถแก้ไขความเสื่อมของระบบประสาทและหลอดเลือดที่เสื่อมไปแล้วได้ นักวิทยาศาสตร์หลายท่านจึงตั้งสมมติฐานว่า ถ้ามีการรักษาโรคเบาหวานตั้งแต่แรกเริ่มที่ยังไม่มีอาการ อาจจะป้องกันการเสื่อมของระบบประสาทและหลอดเลือดได้ ถ้าในอนาคตมีวิธีการรักษาดังกล่าวและป้องกันความเสื่อมได้จริง เราอาจจะมีวิธีการรักษาหรือควบคุมโรคเบาหวานตั้งแต่ผู้นั้นเป็นทารกในครรภ์มารดาเลยก็ได้ หากทำได้จะเป็นการป้องกัน ผู้นั้นไม่ ให้มีโอกาสแสดงอาการของโรคเบาหวาน หรือยืดเวลาที่ไม่แสดงโรคเบาหวานออกไป (ระยะที่สองและสาม) หรือลดความรุนแรงของโรคเบาหวานถ้าโรคจะต้องเกิดขึ้นในอนาคต ในส่วนที่ประชาชนทั่วไปทำได้เองในขณะนี้คือ การออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในสมดุล ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่อยู่ในระยะที่สองจนถึงระยะที่สี่และระยะที่ห้าของชีวิต ให้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในท้ายบทความเกี่ยวกับ การออกกำลังกายและน้ำหนักที่อยู่ในสมดุล
โรคเบาหวานพบได้ในประชากรไทยตั้งแต่ร้อยละ ๓ ถึง ๑๐ แล้วแต่พื้นที่และภาวะโภชนาการ โรคนี้พบได้ทั้งสองเพศ มักพบในวัยกลางคน แต่สามารถพบได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้เข้าสู่วัยทอง ใน อดีต ที่ประเทศไทยยังเป็นประเทศด้อยพัฒนา โรคเบาหวานจะพบได้ ประมาณร้อยละ ๑-๔ เท่านั้น โรค เบาหวานมี ๒ ประเภท
ประเภทที่หนึ่ง เกิดจากร่างกายขาดอินซูลินเพราะต่อมสร้างอินซูลินที่ตับอ่อนถูกทำลาย
ประเภทที่สอง ไม่ได้เกิดจากการ ขาดอินซูลิน แต่ร่างกายอาจจะ มีอินซูลินเพิ่มขึ้นในร่างกายแต่ ก็ยังเป็นโรค เบาหวาน เพราะความผิดปกติเริ่มจาก ปัจจัยหรือสารบางอย่างทำให้ ร่างกายไม่สามารถใช้อาหารประเภทแป้งและน้ำตาลให้เป็นพลังงานได้ตามปกติ น้ำตาลจึงสะสมเพิ่มขึ้นในร่างกายและร่างกายต้องหลั่งอินซูลินเพิ่ม ตามระดับน้ำตาล เพื่อพยายามแก้ไขภาวะการที่ไม่สามารถใช้น้ำตาลให้เป็นพลังงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อต่อมผลิตอินซูลินจนผลิตเพิ่ม ไม่ไหวแล้ว อาการของโรคเบาหวานจึงแสดงออกมา
โรคเบาหวานประเภทที่สองเป็นประเภทที่พบบ่อยกว่าประเภทแรก ปัจจัยภายนอกบางอย่างที่ขัดขวางหรือลดประสิทธิภาพของอินซูลินในการใช้น้ำตาลให้เป็นพลังงานได้แก่ การกินอาหารที่อุดมสมบูรณ์มากเกินพอ สภาพการทำงานของคนในกรุงเทพที่เป็นแบบนั่งอยู่ในสำนักงาน และขาดการออกกำลังกาย การมีความเครียดด้านจิตใจเพิ่มขึ้นจากเรื่องต่างๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ที่ผู้นั้นไม่สามารถแก้ไขได้ การที่ผู้ป่วยได้รับยาที่ต้านฤทธิ์ของอินซูลิน เป็นต้น ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ล้วนส่งเสริมให้เป็นโรคเบาหวานประเภทที่สองได้ง่ายขึ้น อาการนำ ๓ อย่างที่พบบ่อย ของ ผู้ที่เป็น โรค เบาหวานได้แก่ ปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำบ่อย แต่ ผอมลง หรือ น้ำหนักลด ผู้ป่วยยัง กินอาหารได้ หรือกินเก่งขึ้น บางรายอ้วนขึ้นก่อนแล้วค่อยผอมลง แต่ผู้ป่วยจะรู้สึกผิดปกติและมาหาแพทย์ตอนน้ำหนักลด นอกจากนี้ จะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายขึ้น การที่ถ่ายปัสสาวะบ่อยเพราะร่างกายใช้น้ำตาลในร่างกายไม่ได้ดี จึงมีน้ำตาลท่วมท้นในกระแสเลือดและน้ำตาลที่ท่วมท้นจะถูกขับออกมาในปัสสาวะ น้ำตาลที่ถูกขับออกมาในปัสสาวะจะดึงน้ำตามออกมาในปัสสาวะด้วย จึงเป็นการเพิ่มปริมาณปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อย ใส และมีปริมาณมาก ซึ่งแตกต่างจากโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะบ่อยแต่มีจำนวนน้อย และปัสสาวะขุ่น บางครั้งจึง มีมดมาตอมน้ำตาลในปัสสาวะ คนปกติจะไม่มีน้ำตาลออกมาในปัสสาวะเลย การสูญเสียปริมาณ น้ำปัสสาวะมากทำให้หิวน้ำบ่อยและต้องดื่มน้ำชดเชยบ่อยขึ้น น้ำหนักลดเพราะร่างกายใช้น้ำตาลเป็นพลังงานไม่ได้และ น้ำตาลสูญเปล่า เพราะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ร่างกายจึงต้องไปดึงไขมันและโปรตีนในร่างกายมาเผาผลาญเป็นพลังงานแทน ร่างกายจึงผอมลง การถ่ายปัสสาวะบ่อยและมีปริมาณมาก ทำให้มีการสูญเสียเกลือแร่ออกนอกร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียง่ายขึ้น ถ้าผู้ป่วยไม่รักษาจะเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่รุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้
ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เรื้อรังและเกิดขึ้นช้าๆ ได้แก่ ความผิดปกติใน การทำงานของระบบประสาทโดยเฉพาะการรับรู้ความรู้สึก และหลอดเลือดแดง ผู้ป่วยเบาหวานจะมีเท้าชา รับรู้ความรู้สึกเจ็บและการสัมผัสลดลง โดยเฉพาะที่ปลายมือปลายเท้า ส่วนผิวในของหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก จะเสื่อมเร็วขึ้น ทำให้หลอดเลือดแดงขนาดเล็กตีบหรือตันง่ายขึ้น ระบบการแข็งตัวของเลือดจะทำให้เลือดแข็งตัวง่ายขึ้นด้วย ปัจจัยทั้งสอง จะส่งเสริมให้หลอดเลือดแดงตีบหรือตันง่ายขึ้น เลือดจึงไปเลี้ยงที่อวัยวะต่างๆ ลดลงและบางครั้งมีการอุดตันของหลอดเลือดแบบฉับพลันได้ จึงเกิดโรคที่เป็นจากผลจากอวัยวะขาดเลือดฉับพลันซึ่งได้แก่เนื้อตายในอวัยวะนั้น ถ้าเกิดที่หลอดเลือดแดงที่ไปหล่อเลี้ยง สมอง หัวใจ ไต ผลร้ายก็คือ ทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคอัมพาตของแขนขาหรืออัมพาตครึ่งซีกหรือหมดสติ หรือเกิดอาการแน่นหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจวายฉับพลัน ไตพิการเรื้อรัง เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้จะค่อยๆ เกิดขึ้นและมีผลให้เกิดผลร้ายซ้ำเติมตามมาอีก ที่สำคัญคือ แผลเบาหวาน และติดเชื้อ ต้อกระจก และอวัยวะปลายทางขาดเลือด เป็นต้น
แผลเบาหวาน เป็นภาวะซ้ำเติมที่รู้จักกันดีทั้งในหมู่แพทย์ พยาบาลและผู้ป่วย แต่การดูแลรักษาแผลเบาหวานมักจะไม่ถูกต้องตั้งแต่แรกหรือให้การรักษาช้าเกินไป ผลร้ายที่ตามมาคือ ต้องตัดนิ้วหรือตัดเท้าหรือตัดขาส่วนล่างระดับหน้าแข้งลงไป หรือตัดขาทิ้งตั้งแต่ขาท่อนบนลงมา ผลร้ายเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นอีกในยุคปัจจุบัน เพราะเรามียาและวิธีรักษาที่ดีมากที่จะรักษาโรคให้หายขาดตั้งแต่เริ่มต้น ผู้ป่วยเบาหวานต้องดูเท้าตนเองทุกวันว่า มีแผลเกิดขึ้นหรือไม่ ดูให้เห็นชัดๆ ว่า ไม่มีแผลเพราะผู้ป่วยอาจจะมีต้อกระจกรวมอยู่ด้วย ทำให้เห็นไม่ชัด ถ้ารอให้เกิดความรู้สึกเจ็บที่แผลหรือมีไข้ก่อนแล้วค่อยไปหาแพทย์ ก็จะช้าไป ถ้ามีแผลเกิดขึ้นจากการมองเห็นด้วยสายตา ต้องหมั่นทำแผลให้สะอาดและให้แพทย์มาร่วมดูแลแผลด้วยตั้งแต่ต้น ผู้ป่วยหลายรายเชื่อเรื่องการพอกแผลด้วยสมุนไพรที่บอกต่อๆ กันมา ขอแนะนำให้พบแพทย์ก่อนด้วย ไม่ควรใช้สมุนไพรรักษาตามลำพังโดยไม่มีใครช่วยติดตามและประเมินผล โดยส่วนตัวไม่แนะนำให้ใช้สมุนไพรรักษาแผลเบาหวานเพราะเห็นมาหลายรายแล้วว่า ไม่ได้ผล ทำให้พลาดโอกาสที่จะหายจากโรคโดยเร็ว บางครั้งเห็นมีแผลขนาดเล็กที่เท้าแต่มีไข้ขึ้น แสดงว่า แผลได้เซาะลึกเข้าใต้ชั้นผิวหนังและลามแผ่ออกไปใต้ชั้นผิวหนังแล้ว
การรักษาแผลเบาหวานต้องใช้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมโดยเฉพาะแผลที่มีกลิ่นเหม็นเน่า แผลเหล่านี้จะลุกลามได้ง่ายเพราะเลือดมาเลี้ยงน้อย ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ต่อสู้กับเชื้อโรคตรงบริเวณที่มีแผลไม่ไหว จึงขอแนะนำให้ดูแลแผลเบาหวานโดยให้แพทย์ร่วมดูแลรักษาตั้งแต่ต้น การป้องกันการเกิดแผลที่เท้าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด หมั่นสวมรองเท้าหัวปิดที่ไม่คับ ให้เลือกรองเท้าที่นุ่มและสวมใส่สบาย เวลาอาบน้ำควรนวดถูเท้าเบาๆ ให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น หรือแช่เท้าในน้ำอุ่นเล็กน้อย ต้องระวังอย่าใช้น้ำร้อนจัดเพราะผู้ป่วยอาจจะรู้สึกร้อนเพียงเล็กน้อยที่เท้า แต่เท้าบวมพองไปแล้ว พอนวดเท้าและทำความสะอาดเท้าเสร็จ ให้ซับน้ำที่เท้าให้แห้ง เนื่องจากการติดเชื้อที่แผลเบาหวานเป็นเชื้อโรคที่มากับอุจจาระ จึงอาจจะเป็นไปได้ว่า แผลเบาหวานได้รับเชื้อดังกล่าวจากน้ำในห้องน้ำหรือห้องส้วมที่ปนเปื้อนอุจจาระ ส้วมหรือห้องน้ำของผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องแห้งและสะอาด ถ้ามีแผลและต้องเข้าห้องน้ำหรืออาบน้ำ ต้องห่อเท้าด้วยถุงพลาสติกให้มิดชิดขณะอาบน้ำหรือเข้าห้องน้ำ และถอดถุงพลาสติกออกทันทีที่ออกจากห้องน้ำ
ยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวานมีทั้งยากินและยาฉีด ยากินจะใช้ไม่ได้ผลในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานประเภทที่หนึ่ง เพราะ ไม่มีต่อมหรือมีต่อมไม่เพียงพอที่จะผลิตอินซูลินและ ยากินต้องอาศัยการออกฤทธิ์กระตุ้นต่อมให้สร้างอินซูลินเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานประเภทที่หนึ่งจึงต้องฉีดยาอินซูลินชดเชยตลอดชีพ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานประเภทที่สองใช้ยากินได้ถ้าโรคไม่รุนแรงจนเกินไป ถ้าโรครุนแรงจนถึงระดับหนึ่ง การใช้ยากินอย่างเดียวจะไม่ได้ผลเช่นกัน จึงต้องใช้ยาฉีดร่วมด้วยในกรณีนี้
โดยทั่วไปผู้ป่วยต้องลดการกินอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลหรือถึงกับพยายามหลีกเลี่ยง ถ้ายังควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ การรักษาต้องติดตามการตรวจระดับน้ำตาลเป็นระยะๆ ว่า การรักษาได้ผลหรือไม่ หรือได้ผลน้อยไปหรือมากไป? แต่ในช่วงแรกที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักลดลงมาก ยังไม่ต้องควบคุมอาหารมากนัก ก็ได้ปล่อยให้ผู้ป่วยกินอาหาร และได้ยาจนน้ำหนักตัวอยู่ ในเกณฑ์ที่เหมาะสมก่อน แล้วค่อยจำกัดอาหารต่อไป การควบคุมอาหารจึงต้องควบคุมให้อยู่ในสมดุล
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นวิธีการรักษาเบาหวานที่สำคัญมากด้วย ไม่ควรออกกำลังกายหักโหมและทันทีเพราะจะทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อบาดเจ็บได้ การออกกำลังกายที่เหมาะสมคือ การค่อยๆ ออกกำลังกายจนมีเหงื่อเล็กน้อย ระยะเวลาที่ออกกำลังกายอยู่ระหว่าง ๒๐ - ๓๐ นาที ให้ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๒ - ๓ ครั้ง ถ้าสามารถออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันได้ จะยิ่งดีมากและผู้นั้นจะออกกำลังกายได้นานขึ้นโดยไม่เหนื่อยง่าย ปริมาณงานของการออกกำลังกายแต่ละวันจะต้องมีขนาดอย่างน้อยเท่ากับการเดินเร็วนาน ๓๐ นาทีต่อวัน สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินอยู่แล้วหรือมีปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อมหรือเจ็บที่เท้า การออกกำลังกายในสระน้ำจะช่วยให้มีการออกกำลังกายโดยไม่ทำให้ขาหรือเข่ามีปัญหามากขึ้น ควร ออกกำลังกายโดยเล่นกีฬาบางอย่าง หรือ เดินเร็วๆ หรือวิ่งเหยาะๆ เป็นต้น
การรักษาและการออกกำลังกายที่ได้สมดุล จะทำให้ผู้นั้นมีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยของคนปกติทั่วไปตามค่าดัชนีมวลกาย ทำให้ ผู้ป่วยรู้สึกแข็งแรงดีกระฉับกระเฉงเหมือนเดิม นำหนักตัวที่เหมาะสมสามารถทราบได้ด้วยตนเองอยู่แล้วไม่ต้องให้ใครมาบอกก็รู้อยู่แก่ใจ ถ้าต้องการข้อมูลในเชิงวิทยาศาสตร์ที่เป็นตัวเลข เราสามารถคำนวณได้โดยเอาน้ำหนักเป็นกิโลกรัมเป็นตัวตั้ง แล้วหารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตรที่ยกกำลังสองแล้วสูตรคำนวณคือ น้ำหนัก(กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูงยกกำลังสอง (เมตร) เช่น หนัก ๗๐ กิโลกรัมและสูง ๑.๘๐ เมตร จะได้ดัชนีมวลกายเท่ากับ ๗๐ หารด้วย (๑.๘๐) ๒ ได้เท่ากับ ๗๐ หารด้วย ๓.๒๔ เท่ากับ ๒๑.๖ จำง่ายๆ ว่า ค่าปกติอยู่ระหว่าง ๒๐-๒๕ ถ้า อยู่ระหว่าง ๒๖-๓๐ ให้เริ่มระวังว่า น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอีก ต้องเริ่มควบคุมน้ำหนัก ถ้าได้ค่าเกิน ๓๐ ต้องหามาตรการควบคุมน้ำหนักให้ได้
การกินแต่อาหารกลุ่ม fast food ประจำ การนั่งเล่นเกมอยู่หน้าโทรทัศน์เป็นประจำ ล้วนแต่เป็นการบ่อนทำลายสุขภาพของตนเอง การควบคุมน้ำหนัก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี และการออกกำลังกาย ถือว่า เป็นเรื่องที่เราทุกคนสามารถทำได้ในทุกระยะของชีวิตคนเป็นเบาหวานตั้งแต่เกิดมา และสามารถทำได้ในประชากรทั่วไปไม่ว่าจะป่วยหรือไม่เคยป่วยเป็นโรคใดก็ตาม
การปฏิบัติตนในด้านอื่นๆ ของผู้ที่เป็นเบาหวานอีกข้อคือ ผู้ป่วยต้องกินยาต้านเบาหวานหรือฉีดยาให้สม่ำเสมอ ส่วนการกินยาสมุนไพรต่างๆ น่าจะช่วยให้สภาพจิตใจดีขึ้นได้ถ้ามีผู้นั้นมีความเชื่อในสรรพคุณของสมุนไพร เพียงแต่ ผู้เขียนสามารถรับรองได้ว่า การกินแต่ยาแผนปัจจุบันอย่างเดียวก็สามารถคุมโรคเบาหวานได้แน่นอนอยู่แล้ว ผู้ที่กินสมุนไพรร่วมด้วยโดยที่เชื่อว่า สมุนไพรดังกล่าวไม่มีพิษหรือผลร้ายใดๆ เลยนั้น ผู้กินก็ต้องประเมินผลการกินสมุนไพรเหมือนกับการกินยาแผนปัจจุบันด้วยเหมือนกัน
ผู้ที่เป็นเบาหวานต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอื่นๆ ได้ง่ายขึ้นหรือทำให้การรักษาเบาหวานยากขึ้น เช่น ต้องงดสูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุราจนเมามายหรือดื่มเป็นประจำที่มากเกินไป อยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์และถ่ายเท หลีกเลี่ยงการสัมผัสโรคติดเชื้อบางอย่าง เช่น วัณโรค ไม่เกาตามผิวหนังอย่างรุนแรงเมื่อรู้สึกคันโดยเฉพาะตามรักแร้หรือในที่อับชื้น ไม่ขยี้หนังตารุนแรงเมื่อรู้สึกคันตา ต้องล้างมือเมื่อสัมผัสสิ่งสกปรกหรือเมื่อจะแตะต้องผิวหนังของตนเองโดยเฉพาะในบริเวณที่อับชื้น ต้องล้างมือตนเองให้สะอาดเมื่อจะทำแผลของตนเอง เป็นต้น
ขณะที่รักษาโรคเบาหวาน หากมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นโดยที่ไม่เคยมีมาก่อน ต้องรีบหาสาเหตุและให้การแก้ไข เช่น ถ้ามีอาการ เหงื่อแตก หมดแรงจะเป็นลม โดยไม่มีอาการแน่นหน้าอกหรือถ่ายอุจจาระดำ มักเกิดจาก น้ำตาลต่ำในเลือด ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานจึงต้องมีเม็ดลูกกวาดหรือก้อนน้ำตาลเตรียมไว้อม เพื่อแก้ไขอาการดังกล่าว การอมลูกกวาดหรือก้อนน้ำตาลหรือดื่มน้ำหวานแล้วฟื้นคืนสติภายในเวลา ๕ นาที จะ ยืนยันว่า อาการดังกล่าว มีสาเหตุจากน้ำตาลในเลือดต่ำจริง หากเกิดภาวะนี้ ต้องหาสาเหตุและแก้ไขอีกเช่นกัน ถ้ามีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้นตามลำดับ ต้องระวังว่า เกิดจากการรักษาเบาหวานที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ได้รักษาอย่างสม่ำเสมอ ต้องไปพบแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุและแก้ไขอีกเช่นกัน
โดยสรุป โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบบ่อย การรักษาไม่ยุ่งยาก และผู้ป่วยสามารถมีชีวิตอย่างเป็นปกติสุขได้ แต่ผู้ป่วยต้องเข้าใจโรคและร่วมมือกับแพทย์ในการรักษาอย่างต่อเนื่อง การมีพฤติกรรมที่เหมาะสม การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การควบคุมน้ำหนักโดยการรับประทานอาหารให้ถูกต้อง เป็นการส่งเสริมสุขภาพของผู้นั้นและทำให้เจ็บป่วยจากโรคอื่นน้อยลง การรักษาจึงจะได้ผลดีและส่งผลให้ร่างกายคงอยู่ในสภาพที่แข็งแรงและใช้งานได้นานเท่าคนปกติได้
หน้าที่ 3 - เบาหวาน ... น่ารู้
เบาหวาน พบได้ประมาณ 3.5 เปอร์เซ็นต์ของคนทั่วไป พบได้ในคนทุกวัย แต่จะพบมากในคนอายุ มากกว่า 40 ปีขึ้นไป และคนที่อยู่ในเมือง มีโอกาสเป็นโรคนี้ มากกว่าชาวชนบท คนอ้วนและหญิงที่มีลูกดก มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น
ประเภทของเบาหวาน เบาหวานสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ที่มีอาการ สาเหตุ ความรุนแรง และการรักษาต่างกัน ได้แก่
1. เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (Insulin-dependent diabetes mellitus/ IDDM)
Type I Diabetes
เป็นชนิดที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงและอันตรายสูง มักพบในเด็กและคนอายุต่ำกว่า 25 ปี แต่ก็อาจพบในคนสูงอายุได้บ้าง ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้ จะสร้างอินซูลินไม่ได้เลย หรือได้น้อยมาก เชื่อว่าร่างกายมีการสร้างแอนติบอดีขึ้น ต่อต้านทำลายตับอ่อนของตัวเอง จนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ดังที่เรียกว่า "โรค ภูมิแพ้ต่อตัวเอง" หรือ "ออโตอิมมูน (autoimmune)" ทั้งนี้ เป็นผลมาจาก ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ร่วมกับการติดเชื้อ หรือการได้รับสารพิษจากภายนอก ผู้ป่วยจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลิน เข้าทดแทนในร่างกายทุกวัน จึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ มิเช่นนั้น ร่างกายจะเผาผลาญไขมัน จนทำให้ผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นรุนแรง จะมีการคั่งของ สารคีโตน (ketones) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจาก การเผาผลาญไขมัน สารนี้จะเป็นพิษ ต่อระบบประสาท ทำให้ผู้ป่วยหมดสติถึงตายได้รวดเร็ว เรียกว่า "ภาวะคั่งสารคีโตน หรือ คีโตซิส (Ketosis)"
2. เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (Non-insulin-dependent diabetes mellitus/
NIDDM) Type II Diabetes
เป็น เบาหวาน ชนิดที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมักจะมีความรุน แรงน้อย มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี
ขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็ก หรือวัยหนุ่มสาวได้บ้าง ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้ ยังสามารถสร้างอินซูลิน แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้มีน้ำตาลที่เหลือใช้ กลายเป็นเบาหวานได้ ผู้ป่วยชนิดนี้ ยังอาจแบ่งเป็นพวกที่อ้วนมากๆ กับพวกที่ไม่อ้วน (รูปร่างปกติ หรือผอม) สาเหตุอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ อ้วนเกินไป มีลูกดก จากการใช้ยา หรือพบร่วมกับโรคอื่นๆ ผู้ป่วยมักไม่เกิดภาวะคีโตซิส เช่นที่เกิดกับ ชนิดพึ่งอินซูลิน การควบคุมอาหาร หรือการใช้ยาเบาหวานชนิดกิน ก็มักจะได้ผลในการควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ หรือบางครั้งถ้าระดับน้ำตาลสูงมากๆ ก็อาจต้องใช้อินซูลิน ฉีดเป็นครั้งคราว แต่ไม่ต้องใช้อินซูลินตลอดไป จึงถือว่าไม่ต้องพึ่ง อินซูลิน
สาเหตุ
โรคนี้เกิดจากตับอ่อน สร้างฮอร์โมนอินซูลิน (lnsulin) ได้น้อยหรือไม่ได้เลย ฮอร์โมนชนิดนี้ มีหน้าที่คอยช่วยให้ร่างกาย เผาผลาญน้ำตาลให้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่พอ หรือมีพอแต่ใช้ไม่ได้ น้ำตาลก็ไม่ถูกนำไปใช้ จึงเกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือด และอวัยวะต่างๆ เมื่อน้ำตาลคั่งในเลือดมากๆ ก็จะถูกไตกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน หรือมีมดขึ้นได้ จึงเรียกว่า เบาหวาน ผู้ป่วยมักจะมีอาการ ปัสสาวะบ่อยและมาก เนื่องจากน้ำตาลที่ออกมาทางไต จะดึงเอาน้ำออกมาด้วย จึงทำให้มีปัสสาวะมากกว่าปกติ เมื่อถ่ายปัสสาวะมาก ก็ทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ต้องคอยดื่มน้ำบ่อยๆ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถนำ น้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงาน จึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อ และไขมันแทน ทำให้ร่างกายผ่ายผอม ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ อ่อนเปลี้ย เพลียแรง นอกจากนี้ การมีน้ำตาลคั่งอยู่ในอวัยวะต่างๆ ทำให้อวัยวะต่างๆ เกิดความผิดปกติ และนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนมากมาย โรคนี้มักมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ กล่าวคือ มักมีพ่อแม่ หรือญาติพี่น้อง เป็นโรคนี้ด้วย
นอกจากนี้ ยังอาจมีสาเหตุอย่างอื่น เช่น อ้วนเกินไป (หรือกินหวานมากๆ จนอ้วน ก็อาจเป็นเบาหวานได้) มีลูกดก หรือเกิดจากการใช้ยา เช่น สเตอรอยด์, ยาขับ ปัสสาวะ, ยาเม็ดคุมกำเนิด หรืออาจพบร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง, มะเร็งของตับอ่อน, ตับแข็งระยะสุดท้าย, โรคฟีโอโครโมไซโตมา (Pheochromocytoma) ซึ่งเป็นเนื้องอกของต่อมหมวกไตชนิดหนึ่ง, โรคคุชชิง เป็นต้น
หน้าที่ 4 - รู้ทัน เบาหวาน
ตามจริงโรคเบาหวาน เป็นโรคที่คุ้นหูกันพอควร โรคนี้พบบ่อยขึ้นเรื่อยๆ อาจจะเป็นเพราะผู้คนสนใจสุขภาพกันมากขึ้น หมั่นตรวจสุขภาพ และเทคโนโลยีทางการตรวจเบาหวานดีขึ้นมาก แต่ถึงอย่างไร แม้เราจะมีแพทย์ผู้เชี่ยยวชาญมากมาย หรือเทคโนโลยีทันสมัยปานใด ปัจจุบันเราก็ยังพบ โรคแทรกซ้อนจากเบาหวานได้บ่อยอยู่ เช่น ไตวาย ตาบอด แผลติดเชื้อ ทำให้ต้องตัดขาพิการไป ซึ้งยังไม่รวมอย่างอื่นๆ เช่น อัมพาต หัวใจตีบ
จะว่าไปแล้ว เบาหวานก็คล้ายๆ กับโรคอีกหลายโรค มักจะพูดถึงว่าเป็นเพื่อนกัน มักมาด้วยกัน คือ ความดันโลหิตสูง, ไขมันสูง, เก๊าท์ และถ้าเป็นพร้อมๆ กัน ทำให้การดำเนินโรค การรักษา มีภาวะแทรกซ้อนเร็วขึ้น รุนแรงขึ้น โรคที่กล่าวมาส่วนใหญ่ ไม่มีอาการระยะเริ่มแรก เมื่อโรคเป็นมากแล้ว ถึงค่อยแสดงอาการ บางครั้ง เมื่อเราไม่ค่อยสนใจสุขภาพเท่าที่ควร ก็จะทำให้วินิจฉัยและรักษาล่าช้า จนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต จริงๆ แล้ว ก็ไม่อยากให้ตกใจ หรือตื่นกลัว, กังวลมากเกินไป เกี่ยวกับโรคที่เป็น เพราะเมื่อเป็นแล้วต้องทำใจ และยอมรับ เพราะของมันเป็นกันได้ (สังขารไม่เที่ยง) ซึ่งถ้าเราปฏิบัติตัวดี เหมาะสม ก็จะมาสารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข เช่นคนที่ไม่เป็นโรคทั่วไป
ปัจจุบัน วิถีชีวิตคน (ไทย) เปลี่ยนไปมาก ทั้งในด้านสังคม ซึ่งนับวันจะมีความเครียดสูง, ทำงานแข่งกับเวลา หรือแข่งกันทุกๆ อย่าง ขาดกาออกกำลังกาย และพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม คือกินมากไปและไม่มีคุณภาพ ไม่รวมถึงสารพิษ ที่เต็มใจบริโภคกันเข้าไปอีก เช่น บุหรี่และแอลกอฮอล์ จึงก่อให้เกิดการเกินพอดี เนื่องจากกินมามากและสะสมานาน ขาดการออกกำลังกาย
พออายุเลย 40 ปีไปแล้ว ชีวิตก็เหมือนดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงพอดี จากนั้นก็เริ่มบ่ายคล้อยลงเรื่อยๆ อาหาร พลังงาน จะเริ่มต้องการน้อยลง ดังนั้น ถ้าเรากินเท่าเดิมก็ยังเกินเลยนะ ดังนั้น ควรบริโภคให้น้อยลงบ้าง และเน้นคุณภาพ เรื่องกินนี้เรื่องใหญ่ พอเกินจนล้น ก็เกิดโรคเบาหวาน ไขมันสูง เก๊าท์ น้ำหนักมากเกินไป กลายเป็นโรคความดันโลหิตสูง หัวใจ ไขข้อ ตามมาอีกพรวน
โรคเบาหวาน ดังที่ทราบกัน เป็นโรคที่มีความผิดปกติ เกี่ยวกับขบวนการเคมีของร่างกาย (Metabolism) ทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ จนทำให้เกิดอาการขึ้น คือ น้ำตาลที่สูงมากกว่าปกตินั้น เมื่อกรองผ่านไปที่ไต ไตไม่สามารถดูดน้ำตาลกลับได้หมด จึงทำให้ความเข้มข้นของน้ำตาล ในท่อไตมากกว่าปกติ ทำให้น้ำ (จากเลือด) ไหลย้อน จากเนื้อไตเข้าไปยังท่อไต ซึ่งมีความเข้มข้นสูง แล้วก็ปัสสาวะออกมา ทำให้ปริมาณน้ำปัสสาวะที่ออกมา มากกว่าปกติ อาการเริ่มแรกที่เห็น คือ ปัสสาวะบ่อยและมาก โดยเฉพาะตอนกลางคืน อาจจะมากกว่า 3 4 ครั้ง ขึ้นกับความรุนแรงของโรค พอปัสสาวะมาก ก็ทำให้ร่างกายขาดน้ำ จึงทำให้คนที่เป็นเบาหวาน ต้องกินน้ำมากๆ เพื่อแก้กระหาย และทดแทนน้ำที่เสียไป และเนื่องจากร่างกายได้รับน้ำตาล จากการกินเข้าไปแล้ว เอาไปใช้ไม่ได้ จึงทำให้น้ำหนัก ลดค่อนข้างรวดเร็ว และหิวบ่อย เพราะกินแล้ว มันรั่วหายหมดไปทางปัสสาวะ ดังนั้น อาการเริ่มแรกทั้งหมดของเบาหวาน จึงเป็นปัสสาวะบ่อยมาก ดื่มน้ำมาก กินเก่ง หิวบ่อย น้ำหนักลด
ถ้าจะเอาให้ลึกลงไปเล็กน้อย เกี่ยวกับกลไกการเกิดน้ำตาลสูง ตามปกติน้ำตาล (แป้ง) เป็นแหล่งพลังงานของเราเป็นอันดับแรก ต่อไปก็ไขมัน, โปรตีน ตามลำดับ เมื่อเรากินแป้งเข้าไปโดยธรรมชาติ เช่น ข้าว ขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว น้ำตาล เผือก มัน การที่จะเอาน้ำตาลไปเผาผลาญ ให้เกิดพลังงานต้องใช้อินซูลิน ที่สร้างโดยตับอ่อน ความผิดปกติที่พบมี 2 อย่าง คือ ขาดอินซูลิน เพราะตับอ่อนไม่สร้าง หรือว่ามีอินซูลินผิดปกติ แต่เนื้อเยื่อ หรือเซลล์ของร่างกายไม่ตอบสนอง คือ ดื้อ อินซูลินนั่นเอง โรคเบาหวาน ที่พบในคนอายุน้อย (ส่วนใหญ่น้อยกว่า 30 ปี) จะเป็นพวกขาดอินซูลิน ส่วนพวกที่พบในผู้ใหญ่ หรือคนสูงอายุ (โรคเฉพาะคนอ้วน) จะเป็นพวกดื้ออินซูลิน นอกจากอาการที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีอาการอื่นๆ ที่เกิดจากเซลล์ในร่างกายขาดน้ำ เช่น อ่อนเพลีย วิงเวียน มึนงง ตามัว คอแห้ง หรือแม้แต่สมรรถภาพทางเพศเสื่อม
การที่คนโบราณเรียก โรคเบาหวาน คงจะมาจากสมมติฐานที่ว่า ปัสสาวะ ซึ่งอาจจะเกิดจากประสบการณ์ การลองชิมปัสสาวะ หรือสังเกตเห็นมาตอม แต่อาการมดตอมปัสสาวะ ก็ไม่แน่เหมือนกัน เพราะปัสสาวะมีสารประกอบอื่นๆ อีกที่มดชอบ ดังนั้น คงต้องพิจารณาอาการอื่นๆ ด้วย
หน้าที่ 5 - เบาหวาน (เมื่อน้ำตาลเป็นพิษ)
โรคเบาหวานคืออะไร มีสาเหตุจากอะไร
อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน มีหน้าที่ควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ โรคเบาหวาน เกิดจากร่างกายขาดอินซูลิน หรือบางที่ไม่ขาด แต่อินซูลินที่มีอยู่ ใช้ไม่ได้ผลเต็มที่ ทำให้ร่างกายใช้น้ำตาลไม่ได้ตามปกติ ยังผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น นานๆ เข้าทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งเป็นเหตุให้พิการหรือเสียชีวิต
โดยปกติ เมื่อเรากินอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลเข้าไป อาหารเหล่านี้ จะถูกย่อยกลายเป็นโมเลกุลของน้ำตาลเล็กๆ แล้วจึงถูกดูดซึมจากลำไส้ เข้าสู่กระแสเลือดนำส่งเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงาน การใช้น้ำตาลให้เกิดพลังงานนี้ ต้องอาศัยอินซูลิน เมื่อขาดอินซูลิน น้ำตาลในเลือดจึงสูงกว่าปกติ น้ำตาลในเลือดนั้นมีหลายชนิด สำหรับน้ำตาลในโรคเบาหวาน เราจะหมายถึงน้ำตาลกลูโคสเท่านั้น
โรคเบาหวานที่พบบ่อยมี 2 ชนิด คือ
ชนิดที่ 1 ต้องพึ่งอินซูลิน มักพบในคนอายุน้อย เด็กและวัยรุ่น ในผู้ใหญ่พบได้บ้าง ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลินทุกวัน ถ้าขาดยา อาจเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงถึงตายได้ เกิดจากเซลล์สร้างอินซูลินในตับอ่อนถูกทำลาย ด้วยสาเหตุที่ยังไม่ทราบแน่นอน ทำให้สร้างอินซูลินได้น้อย หรือไม่ได้เลย
ชนิดที่ 2 ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน เพราะตับอ่อนยังผลิตอินซูลินได้ ในจำนวนที่อาจปกติ น้อยลง หรือมากขึ้น แต่อินซูลินที่มีอยู่นั้น ไม่มีประสิทธิภาพดีเท่าที่ควร พบได้ในผู้ใหญ่ และคนอ้วน คนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นเบาหวานมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่ 2 นี้
สาเหตุของโรคเบาหวาน ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่า กรรมพันธุ์ ความอ้วน การตั้งครรภ์ ความเครียด เป็นผู้สูงอายุ รวมทั้งโรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด เช่น เนื้องอกในต่อมหมวกไต และต่อมใต้สมอง เป็นปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญของการเกิดโรคนี้
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน
อาการกระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะมากและบ่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด กินเก่งขึ้น ตาพร่ามัว เป็นอาการที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูง ถ้าสูงมากๆ อาจถึงกับซึมหรือหมดสติได้ ผู้ป่วยเบาหวานที่น้ำตาลในเลือดไม่สูงมาก อาจไม่แสดงอาการเลยก็ได้ ฉะนั้นการตรวจสุขภาพจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเช่น คนอ้วน หญิงมีครรภ์ ผู้หญิงที่คลอดบุตรมีน้ำหนักแรกคลอดเกิน 4 กิโลกรัม และผู้มีญาติพี่น้อง (โดยสายเลือด) เป็นเบาหวาน คนปกติจะมีน้ำตาลในเลือด อยู่ในช่วง 70 - 115 มิลลิกรัม ต่อ เดซิลิตร น้ำตาลในเลือดต้องสูงเกิน 180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จึงจะออกมาในปัสสาวะให้ตรวจพบได้ ดังนั้นการตรวจปัสสาวะอย่างเดียว เพื่อหาเบาหวานจึงไม่เพียงพอ ต้องใช้การตรวจเลือดดูระดับน้ำตาล
จะควบคุมเบาหวานได้อย่างไร รักษาให้หายได้ไหม
เบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ที่รักษาไม่หายขาดแต่ควบคุมได้ โดยการดูแลรักษาอย่างจริงจัง และต่อเนื่องตลอดชีวิต จุดประสงค์ของการรักษาเพื่อ
1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด เพื่อป้องกันหรือชะลอ การเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ
2. ให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่อย่างปกติ หรือใกล้เคียงปกติ สามารถประกอบภาระกิจต่างๆ ได้เหมือนคนทั่วไป
การรักษาเบาหวานให้ได้ผลดี จะต้องประกอบด้วย
การควบคุมอาหาร
การออกกำลังกาย
การให้ความรู้เกี่ยวกับเบาหวาน แก่ผู้ป่วย และญาติผู้ดูแล
การใช้ยาลดน้ำตาล (อาจไม่จำเป็นในบางราย)
การติดตามผลการรักษา
ผู้ป่วยเบาหวาน ควรติดตามดูผลการควบคุมน้ำตาลว่า ได้ผลดีเพียงใด โดยอาจใช้การตรวจน้ำตาลในเลือด การตรวจปริมาณฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1C เป็น Glycosylated hemoglobin) และ ฟรุคโตซามีน (Fructo samin เป็น Glycosylated protein) และการตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ
1. การตรวจน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดี อาจตรวจน้ำตาลในเลือดเดือนละครั้ง แต่ผู้ป่วยเบาหวานที่ยังควบคุมไม่ได้ หรือผู้ป่วยตั้งครรภ์ อาจจะต้องตรวจน้ำตาลในเลือดทุกวัน หรือวันละหลายครั้ง ผู้ป่วยอาจตรวจเองที่บ้านได้ โดยใช้เครื่องมือขนาดเล็กพกพาได้ ใช้เลือดที่เจาะจากปลายนิ้ว หยดลงบนแผ่นอาบน้ำยาเข้าเครื่องตรวจ อ่านออกมาเป็นตัวเลข เครื่องมือนี้มีหลายแบบ และผลิตจากหลายบริษัท ราคาก็ต่างๆ กัน การตรวจชนิดนี้สิ้นเปลืองพอสมควร
2. การตรวจ HbA1C และ Fructosamine ต้องตรวจในห้องปฏิบัติการเท่านั้น HbA1C เป็นน้ำตาลที่จับกับฮีโมโกลบิน ในเม็ดเลือดแดง Fructosamine เป็นน้ำตาลที่จับกับโปรตีนในเลือด ค่า HbA1C บอกถึงการควบคุมน้ำตาลในช่วง 4 - 6 สัปดาห์ ก่อนการตรวจ ส่วนค่า Fructosamine บอกถึงระดับน้ำตาลในช่วง 7 - 10 วัน ก่อนตรวจ
3. การตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ อาจใช้ยาเม็ดสำหรับตรวจ หรือใช้แผ่นทดสอบน้ำตาล ตรวจก่อนมื้ออาหาร และก่อนนอน วิธีนี้ใช้ไม่ได้ในคนที่ไตเสื่อม มีข้อเสียคือ บอกระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ และน้ำตาลในเลือดจะต้องสูงพอสมควร คือเกิน 180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จึงจะตรวจพบได้ ใช้บอกได้คร่าวๆ เท่านั้น
โรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน
โรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอย่างมาก ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และโรคแทรกซ้อนเรื้อรังต่างๆ
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอย่างมาก (ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 500 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิต) มักเกิดกับผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมาก และควบคุมน้ำตาลไม่ดี โดยเฉพาะในคนไข้ที่ต้องใช้อินซูลินแล้วขาดยา อาจเกิดในคนที่ไม่เคยรู้ตัวมาก่อนว่าเป็นเบาหวานก็ได้ จะมีอาการอ่อนเพลีย กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะมาก คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หายใจหอบ ซึม เลอะเลือน และหมดสติในที่สุด ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนในโรงพยาบาล มิฉะนั้นอาจเสียชีวิตได้
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ พบได้บ่อยและอาจรุนแรงจนเสียชีวิต เกิดกับผู้ป่วยที่รักษาด้วยยากิน หรือ ยาฉีดสาเหตุจากการใช้ยามากเกินไป หรือใช้ยาเท่าเดิมแต่อดอาหาร หรือออกกำลังกายมากเกินไป จะมีอาการ หิว หงุดหงิด ปวดศีรษะ ตาลาย ใจสั่น มือสั่น เหงื่อแตก ชาตามปาก อ่อนเพลีย หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม ตัวเย็น สับสน (ไม่จำเป็นต้องมีอาการครบหมดทุกอย่าง) ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอาจเป็นลมหมดสติหรือชักได้ ถ้าเป็นตอนกลางคืนขณะหลับจะฝันร้าย และปวดศีรษะในตอนเช้า อาการน้ำตาลต่ำนี้ อาจเป็นอยู่นานหลายวัน ขึ้นอยู่กับชนิดของยาที่ใช้
วิธีรักษา เมื่อเริ่มมีอาการ ให้ดื่มน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ 1/2 แก้ว หรือกินน้ำตาล อมลูกกวาด จากนั้นให้ปรึกษาแพทย์ที่รักษา เพราะอาจต้องปรับยาที่ใช้อยู่ประจำ ถ้าผู้ป่วยหมดสติให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที ป้องกันได้โดยการกินอาหารให้เป็นเวลา กินอาหารเพิ่มก่อนการออกกำลังกายที่หนักๆ หรือนานๆ กินของว่างหรือดื่มนมรองท้องไปก่อน ถ้าต้องเลื่อนเวลาอาหารออกไป
โรคแทรกซ้อนเรื้อรัง
พบในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานหลายปี และควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี น้ำตาลที่สูงอยู่นานๆ นี้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะระบบหลอดเลือด การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป เหมือนเป็นอันตรายแอบแฝง กว่าจะรู้ตัวเมื่อเกิดอาการก็สายเกินไป ยากจะรักษาให้กลับคืนเป็นปกติได้ โรคแทรกซ้อนเหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยต้องการพิการ หรือเสียชีวิต สิ้นเปลืองทั้งเวลา และค่ารักษาพยาบาลเป็นอันมาก
ผู้ป่วยเบาหวานทุกคน ควรได้ตระหนักถึงอันตรายแอบแฝงต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ การดูแลตนเองที่ดี และการปฏิบัติตัวถูกต้องเท่านั้น ที่จะช่วยป้องกันอันตรายเหล่านี้ได้
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
1. ควบคุมอาหารสม่ำเสมอ
2. ออกกำลังกาย ตามความเหมาะสมกับสภาวะร่างกาย
3. ใช้ยาสม่ำเสมอตามที่แพทย์แนะนำ
4. ศึกษาหาความรู้ เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และวิธีปฏิบัติตัว
5. พบแพทย์สม่ำเสมอตามนัด เพื่อวัดผลการควบคุมน้ำตาล และตรวจหาโรคแทรกซ้อน
6. ตรวจน้ำตาลในเลือด หรือในปัสสาวะบ่อยๆ โดยเฉพาะในรายที่ควบคุมน้ำตาลไม่ดี
7. พกน้ำตาล ทอฟฟี่ หรือลูกกวาดติดตัวเสมอ และใช้ทันทีเมื่อมีอาการน่าสงสัยว่าน้ำตาลต่ำ
8. หมั่นตรวจเท้าทุกวัน ห้ามสวมรองเท้าคับ
9. ปรึกษาแพทย์เมื่อ มีอาการเจ็บไข้ มีอาการน้ำตาลต่ำ มีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น มีบาดแผล หรือแผลที่เท้า และเมื่อตั้งครร
หน้าที่ 6 - สาระ่น่ารู้ - เบาหวาน
โรคเบาหวานคืออะไร
คำว่าโรคเบาหวาน เราได้มาจากคำว่า..Diabetes Mellitus (ไดอะบีติส เมลิตุส ) อันเป็นคำละติน มีรากศัพท์มาจาก ภาษากรีกและคำว่า..Diabetes.. หมายถึงนำพุ ส่วนคำว่า .. Mellitus.. แปลว่า น้ำผึ้ง ดังนั้นคำว่า Diabetes Mellitus.. จึงมีความหมายรวมว่า น้ำพุแห่งน้ำผึ้งสรุปความหมายรวมก็คือ โรคเบาหวาน คือ โรคซึ่งผู้ป่วยที่ขาดการดูแลรักษา มักถ่ายปัสสาวะบ่อย และมีปริมาณปัสสาวะมาก นอกจากนี้ น้ำปัสสาวะยังมีรสหวานจนมดตอมนั่นเอง
ความผิดปกติภายใน
น้ำปัสสาวะที่ถ่ายออกมามาก มีน้ำตาลเป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่น้ำตาลกลูโคส เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก ระบบเคมีในร่างกายเกิดการผิดปกติ อย่างไรก็ตาม แม้สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน จะมีอยู่หลายสาเหตุก็จริง แต่ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุ กลูโคสไปสะสมในกระแสเลือดมากเกินไป และขับออกทางปัสสาวะดังกล่าว
ภาวะเคมีในร่างกาย
โดยปกติปริมาณกลูโคสในร่างกาย จะได้รับการดูแลควบคุมเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นกลูโคส ที่เราได้รับจากอาหารประจำวัน จากของหวาน หรือจากแหล่งคาร์โบไฮเดรตอื่นๆ (อาทิ จากขนมปังหรือจากมันฝรั่ง) โดยตรง หรือโดยอ้อมจากสารอาหารอื่น เมื่อรางกายได้รับกลูโคส กลูโคสจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และกระจายไปทั่วร่างกาย ในส่วนที่จำเป็นต้องใช้พลังงาน แต่หากกลูโคสมีมากเกินความจำเป็น และร่างกายไม่นำไปใช้พลังงานในทันที กลูโคสส่วนเกินจะถูกแปรสภาพได้ 2 ลักษณะ คือ เป็นแป้งคาร์โบไฮเดรตในตับ หรือ เป็นไขมัน การที่ร่างกายจะแปรสภาพ น้ำตาลกลูโคสไปใช้เป็นพลังงาน หรือในการเก็บไว้ในร่างกาย จำเป็นต้องอาศัยอินซูลิน
อินซูลินคืออะไร
ตับอ่อน เป็นอวัยวะส่วนที่ อยู่ในช่องท้อง ตำแหน่งค่อนไปทางด้านหลัง มีหน้าที่ในการผลิตสารหลายชนิด ภายในตับอ่อน จะมีกลุ่มเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่เรียกว่า อิสเล็ต ออฟ แลงเกอร์ฮอร์น (Islet of langerhans) ซึ่งเนื่อเยื่อส่วนนี้ จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมปริมาณกลูโคสในเลือด เรียกฮอร์โมนชนิดนี้ว่า อินซูลิน (Insulin)
อินซูลินทำหน้าที่อะไรบ้าง
อินซูลิน เป็นสารที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ในการแปลงน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงาน รวมทั้งปริมาณของอินซูลิน จะเกี่ยวพันกับปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดอีกด้วย กล่าวคือ เมื่อปริมาณน้ำตาลกลูโคส ในกระแสเลือดมีระดับปกติ อินซูลินจะถูกขับออกมา เปิดล็อกให้กลูโคสผ่านเข้าสู่เนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ได้ และหากมีมากเกินความจำเป็น กลูโคสก็จะถูกขับออกภายในสองชั่วโมง อย่างไรก็ตาม หากอินซูลินถูกขับออกมา ไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรืออินซูลินไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ กลูโคสก็ไม่สามารถผ่านเข้าไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ได้ ทำให้มีกลูโคส ไปสะสมอยู่ในกระแสเลือด ทำให้เกิดโรคเบาหวานขึ้น
จะเกิดอะไรขึ้นหากอินซูลินทำหน้าที่บกพร่อง ระบบต่างๆ ของร่างกาย ที่ทำงานสอดประสารกัน จะได้รับผลกระทบ หากร่างกายขาดอินซูลิน หรืออินซูลิน ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
กลูโคสในกระแสเลือด ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวาน นั่นแสดงว่ากลูโคสในกระแสเลือด ไม่ถูกนำไปใช้เป็นพลังงาน และสะสมเกินระดับปกติ แหล่งพลังงานต่างๆ ในร่างกายจะถูกนำไปใช้ หากปรากฏว่าร่างกายขับอินซูลินออกมา ในปริมาณไม่เพียงพอ ร่างกายจะหันไปใช้พลังงานจากแป้ง และไขมัน ทำให้นำหนักตัวลดลง
กลูโคสในน้ำปัสสาวะ โดยปกติแล้วระบบไต จะดูดกลูโคสกลับเข้าสู่กระแสเลือด แต่หากกลูโคสในกระแสเลือด มีความเข้มข้นสูงเกินไป ไตก็ไม่สามารถดูดกลับได้หมด จึงทำให้มีกลูโคสในน้ำปัสสาวะ ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
มีอาการอะไรบ้าง อาการที่สังเกตเป็นได้ชัดมีดังนี้ คือ เมื่อระดับกลูโคสในเลือดสูง ร่างกายจะปัสสาวะมาก และเมื่อถ่ายปัสสาวะมาก ร่างกายจำเป็นต้องได้รับน้ำในปริมาณมาก ดังนั้น ผู้ป่วยจึงมักกระหายน้ำ และคอแห้ง โดยหากน้ำปัสสาวะมีกลูโคสมาก จำทำให้เกิดอาการระคายเคือง บริเวณอวัยวะเพศ อันเกิดจากการติดเชื้อรา ระดับกลูโคสในกระแสเลือดสูง อาจทำให้เลนซ์ตาเปลี่ยนรูปได้เล็กน้อย ทำให้เกิดอาการตาพร่าได้ชั่วคราว ปริมาณไขมันในร่างกายที่ถูกนำมาชดเชย จะทำให้น้ำหนักตัวลดลง
ผลกระทบระยะยาวของผู้ป่วยที่ไม่ใส่ใจดูแลรักษา
หากมีปริมาณกลูโคสในเลือดสูงอยู่นานเกินไป ก็อาจเป็นอันตรายต่อหลอดเลือดตามส่วนต่างๆ พร้อมกันทีเดียวหลายจุด แต่ที่มักมีผลกระทบบ่อยๆ ได้แก่ ตา ประสาท และไต ประเภทของโรคเบาหวาน โรคเบาหวาน แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทที่ 1 คือโรคเบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลิน และประเภทที่ 2 คือโรคเบาหวานที่ไม่ต้องพึ่งอินซุลิน
ประเภทที่ 1 โรคเบาหวานประเภทนี้เป็นได้กับคนทุกวัย แต่ส่วนมาก มักจะเป็นกับผู้ที่มีอายุไม่มากนัก สาเหตุของเบาหวานประเภทนี้ เกิดจากกลุ่มเซลล์เนื้อเยื่อในตับอ่อน ทำงานไม่ได้โดยสิ้นเชิง จึงต้องทำการรักษา โดยฉีดอินซูลินเข้าสู่ร่างกาย และสาเหตุของความบกพร่อง ในการผลิตอินซูลินไม่ได้เลยนั้น เป็นภาวะจากการติดเชื้อไวรัส
ประเภทที่ 2 โรคเบาหวานที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน ส่วนใหญ่มันเป็นกับคนในวัยผู้ใหญ่ ในกรณีนี้ เซลล์ในตับอ่อนยังสามารถทำงานได้ตามปกติ แต่มีปริมาณไม่เพียงพอ ประกอบกับเซลล์เนื้อเยื่อ ไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีดังเดิมเท่านั้น โรคเบาหวานในประเภทที่ 2 นี้ จะเป็นปัจจัยด้านพันธุกรรม จึงสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้
หน้าที่ 7 - ทำไมเป็นโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดขึ้นเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน และ/หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
มีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง) ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
เป็นโรคอ้วน (ดัชนีมวลกายมีค่าตั้งแต่ 27 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป)
ไม่ออกกำลังกาย
เชื้อชาติบางเชื้อชาติ เช่น แอฟริกัน-อเมริกัน
เคยตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ หรือเคยตรวจพบความทนต่อน้ำตาลบกพร่อง แต่ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จัดเป็นเบาหวาน
เป็นโรคความดันโลหิตสูง (ความดันโลหิตมีค่าตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป)
ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (เอช ดี แอล โคเลสเตอรอลมีค่าน้อยกว่า หรือเท่ากับ 35 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และ/หรือไตรกลีเซอไรด์มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
เป็นโรคที่รังไข่มีถุงน้ำหลายถุง (Polycystic ovarian syndrome)
หลักการรักษาโรคเบาหวาน
การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
1. การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
2. การออกกำลังกาย
การใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด
1. ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน
2. อินซูลิน
การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารที่มีทั้งชนิด และปริมาณที่เหมาะสม ตรงตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้รับสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และพลังงานที่สมดุลกับการใช้แรงงาน และยาที่แพทย์กำหนดให้ ซึ่งมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดรวมถึงน้ำหนักตัว ความดันโลหิต และระดับไขมันในเลือดที่มักพบว่ามีความผิดปกติ ร่วมกันกับความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนจึงควรให้ความสนใจ และพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกชนิด และปริมาณอาหารที่เหมาะสม ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนอาหารได้หลากหลายเพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซากจำเจ และให้มีความสุขในการรับประทานอาหารมากขึ้น โดยสลับเปลี่ยนหมุนเวียนในอาหารหมู่เดียวกัน ในปริมาณที่มีพลังงานเทียบเท่ากัน เช่น
1. อาหารหมู่ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์ พบว่าการรับประทานข้างต้ม 2 ทัพพี จะให้พลังงานเทียบเท่ากับข้าวสวย 1 ทัพพี หรือข้างเหนียวนึ่ง 3 ช้อนโต๊ะ
2. ีอาหารหมู่ผัก พบว่าการรับประทานผักสด 1 ถ้วยตวงจะให้พลังงานเทียบเท่ากับผักสุกครึ่งถ้วยตวง
3. อาหารหมู่ผลไม้ พบว่าการรับประทานกล้วยน้ำว้า 1 ผล จะให้พลังงานเทียบเท่ากับเงาะ 6 ผล ชมพู่ 4 ผล ทุเรียน 1 เม็ดกลาง มะม่วงครึ่งผล เป็นต้น
4. อาหารหมู่เนื้อสัตว์ ไข่ และนม พบว่าการรับประทานเนื้อหมู 2 ช้อนโต๊ะ จะให้พลังงานเทียบเท่ากับเนื้อไก่ 2 ช้อนโต๊ะ ไข่ 1 ฟอง ลูกชิ้น 5-6 ลูก เป็นต้น
5. หมวดไขมัน พบว่าการรับประทานน้ำมันหมู 1 ช้อนชา จะให้พลังงานเทียบเท่ากับเนยสด 1 ช้อนชา มายองเนส 1 ช้อนชา น้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ
หมายเหตุ
ควรเลือกอาหารที่มีใยอาหารสูง
ควรหลีกเลี่ยงผลไม้เชื่อม ผลไม้กวน ผลไม้ดอง ผลไม้บรรจุกระป๋อง ผลไม้สดที่มีเครื่องจิ้ม
ควรหลีกเลี่ยงนมที่มีการปรุงแต่งรสทุกชนิด และเครื่องดื่มประเภทโอวัลติน ไมโล และโกโก้ที่มีส่วนผสมของน้ำตาล
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไขมันสัตว์ กะทิ น้ำมันมะพร้าว
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินดีขึ้น เป็นผลให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ควบคุมน้ำหนักได้ดี ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ลดอัตราการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้ และยังช่วยลดความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังสามารถลดระดับไขมันเส้นเลือด โดยเฉพาะไตรกลีเซอไรด์ได้อีกด้วย
ความผิดปกติของไตในผู้ป่วยเบาหวาน
โรคไตเป็นสาเหตุความเจ็บป่วย และสาเหตุการตายที่สำคัญ ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบาหวานชนิดพึ่งอินสุลิน โดย 30-35 % ของผู้ป่วย จะเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งต้องทำการรักษาต่อด้วยวิธีไตเทียมหรือด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนไตที่เรียกเป็นทางการว่าการปลูกถ่ายไต
ผู้ป่วยเบาหวานที่มีความผิดปกติของไตในระยะแรกๆ จะไม่มีอาการแสดงใดๆ แต่จะตรวจพบโปรตีนไข่ขาวในปัสสาวะ เมื่อมีการเสื่อมของไตมากขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาอีก 4-7 ปี จะมีการเปลี่ยนแปลงจนไตเสียหน้าที่ มีการสะสมการคั่งของของเสียภายในร่างกาย ผู้ป่วยอาจมีอาการบวมร่วมด้วย หลังจากระยะนี้อีกประมาณ 1-2 ปี จะเกิดภาวะไตวายเรื้อรังขึ้น
สำหรับหลักทั่วไปในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต หรือไม่ให้ไตเสื่อมเร็วเกินไป สรุปได้ดังนี้
1. เมื่อทราบว่าเป็นเบาหวาน ต้องพยายามรักษาระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติ หรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด เพื่อทำให้ไตยังทำหน้าที่ได้ดีเหมือนเดิม
2. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย
3. ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ , เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอาหารโปรตีนสูง
5. ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
6. เมื่อจำเป็นต้องใช้ยา ควรหลีกเลี่ยงยาที่มีผลทำให้ไตเสื่อม
หน้าที่ 8 - เบาหวาน เรื่องไม่เบาที่เด็กและวัยรุ่นควรใส่ใจ
เคยไหมกินจุแต่กลับผอมลง ปวดปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย และมีภาวะขาดน้ำ?
ที่เป็นเช่นนี้ เพราะร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยปกติเวลาเรารับประทานอาหารเข้าไป สารอาหารจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาล และร่างกายจะนำน้ำตาลไปใช้ ให้เกิดพลังงาน โดยการนำเข้าไปในเซลล์ หรือหน่วยเล็กๆ ของร่างกาย เพื่อเอาไปเผาผลาญ สารเคมีหรือฮอร์โมน ที่ทำหน้าที่เอาน้ำตาลเข้าเซลล์ คือ ฮอร์โมนอินสูลิน (Insulin) ที่สร้างและหลั่งมาจากตับอ่อน ในผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป ร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ เนื่องจากร่างกายขาดอินซูลิน หรืออินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดี จึงเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และผลที่ตามมาคือ โรคเบาหวาน กล่าวคือ ผู้ป่วยจะปัสสาวะบ่อย มีน้ำตาลออกมาในปัสสาวะ และหากมีอาการรุนแรง ร่างกายจะสลายไขมัน มาใช้เป็นพลังงานแทนน้ำตาล สารที่ได้เรียกว่า กรดคีโตน ทำให้มีอาการหายใจหอบลึก
รู้มั้ย ? เบาหวานไม่ได้เป็นโรคที่เกิดกับผู้ใหญ่เท่านั้น เด็กและวัยรุ่นก็เป็นเบาหวานได้
ชนิดของเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น
จริงๆ แล้วมีชนิดย่อยหลายชนิด แต่ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ชนิดหลัก คือ
1. เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 DM)
เกิดจากการที่ร่างกาย มีปฏิกิริยาต่อต้านเซลล์ของตับอ่อน ที่ทำหน้าที่ผลิตอินสูลิน ทำให้ไม่สามารถผลิตอินสูลินได้ (ร่างกายขาดอินสูลิน) เด็กที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 นี้ มักมีอายุน้อยกว่า 10 ปี แต่ในวัยรุ่นก็พบได้เช่นกัน ผู้ป่วยมักจะมีอาการน้ำหนักลด ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ บางรายรุนแรงมีกรดคั่งในเลือด
สาเหตุที่ตับอ่อนถูกทำลาย ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่จากหลักฐานทางการแพทย์คาดว่า เกิดจากปัจจัยทางกรรมพันธุ์ การติดเชื้อบางอย่างเป็นตัวกระตุ้น รักษาโดยการฉีดฮอร์โมนอินสูลินเข้าผิวหนัง ขณะนี้ยังไม่มีการรักษาที่ทำให้หายขาด และยังไม่พบวิธีที่จะป้องกัน แพทย์และนักวิจัยกำลังพยายามหาวิธีป้องกัน ในเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กที่มีพี่น้องป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และวิธีการรักษาโดยการปลูกถ่ายเซลล์ตับอ่อน ซึ่งยังต้องติดตามผลการวิจัยต่อไป
2. เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 DM)
การเพิ่มจำนวนผู้ป่วยเด็ก ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ การเพิ่มของอุบัติการณ์โรคอ้วนในเด็ก ซึ่งมีสาเหตุจากการรับประทานอาหาร ที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป และขาดการออกกำลังกาย เด็กที่เสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 คือ เด็กอ้วนและกำลังเข้าสู่วัยรุ่น แต่ก็สามารถพบได้ ในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี เช่นกัน
เด็กอ้วนจะมีเซลล์ไขมันจำนวนมาก เซลล์ไขมันเหล่านี้จะปล่อยสารต่างๆ เช่น กรดไขมันออกมา ทำให้ร่างกายดื้อต่ออินสูลิน หรืออธิบายง่ายๆ ว่า อินสูลินที่มีอยู่ไม่สามารถออกฤทธิ์ นำน้ำตาลเข้าเซลล์ไปใช้ ให้เกิดพลังงานได้ตามปกติ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือเป็น โรคเบาหวาน นั่นเอง
โดยทั่วไป ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มักจะมีอาการน้อยมาก หรือไม่มีอาการใดๆ ส่วนใหญ่ อาการไม่รุนแรงเท่ากับ เบาหวานชนิดที่ 1 ทำให้อาจตรวจพบล่าช้า
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2
มีสมาชิกในครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
มีภาวะโภชนาการเกินหรือโรคอ้วน
คนเชื้อชาติเอเชีย
มีปื้นดำหนาๆ ที่คอ เรียกว่า อะแคนโทสิส (Acanthosis negrican)
การรักษาเบาหวานชนิดที่ 2
ผู้ป่วยต้องลดน้ำหนัก โดยการควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย ควบคู่ไปกับการให้ยาชนิดรับประทาน แต่ถ้ารักษาแล้วไม่ได้ผล อาจจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน
การป้องกันเบาหวาน
เบาหวานชนิดที่ 1 ขณะนี้ยังไม่มีวิธีป้องกัน
เบาหวานชนิดที่ 2 พยายามให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ลดอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ไก่ทอด นมเปรี้ยว น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง, ขนมถุงกรุบกรอบ และควรส่งเสริมให้เด็ก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที เป็นเวลา 3 วันต่อสัปดาห์ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กอ้วน
เมื่อใดควรมาพบแพทย์
1. ถ้ามีอาการผิดปกติที่น่าสงสัยว่าอาจเป็นเบาหวาน
ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ
กินจุ ผอมลง
ปัสสาวะมีมดตอม
เป็นแผลหายช้า
ติดเชื้อที่ผิวหนัง
2. ถ้าเด็กหรือวัยรุ่นอ้วน และมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นเบาหวาน
3. มีปื้นดำที่คอ
ผู้ปกครองควรหมั่นดูแลบุตรหลานว่า มีอาการ 1 ใน 3 ข้อนี้หรือไม่ ถ้าพบควรพาเด็กมาพบกุมารแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ
วิธีการตรวจหาเบาหวาน
ตรวจจากเลือด ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (อย่างน้อย 8 ชั่วโมง) มากกว่า หรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าเป็น เบาหวาน หรือถ้าระดับน้ำตาลหลังอาหาร หรือ หลังกินน้ำตาล (ตามแพทย์สั่ง) เป็นเวลา 2 ชม. มากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก็ถือว่าเป็นเบาหวานเช่นกัน
ลองสังเกตดูว่า บุตรหลานของท่านมีปัจจัยเสี่ยง หรืออาการที่เข้าได้กับเบาหวานหรือไม่ ถ้ามีควรมารับการตรวจวินิจฉัย จากกุมารแพทย์ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต ตา และหลอดเลือดในอนาคต
หน้าที่ 9 - รู้ลึก รู้จริง เรื่อง อินซูลิน
อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ตับอ่อนสร้างขึ้น และจำเป็นในการนำน้ำตาลในเลือด ไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย ที่ต้องการพลังงาน แต่ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน การสร้างเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือด ที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงจากอาหาร ไปใช้ให้เป็นพลังงานได้อย่างเต็มที่ เพราะขาดฮอร์โมนอินซูลิน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีโรคแทรกซ้อนง่าย เช่น โรคติดเชื้อ เป็นแผลหายยาก โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต และโรคตา
เมื่อไรถึงต้องใช้อินซูลิน
ผู้ป่วยเบาหวานที่ตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อนทางตับ ไต และรักษาโดยยาชนิดรับประทานไม่ได้ผล
ชนิดของอินซูลิน
1. อินซูลินวัว มาจากตับอ่อนของวัว
2. อินซูลินหมู มาจากตับอ่อนของหมู
3. อินซูลินหมูและวัว เป็นอินซูลินที่ได้จากส่วนผสมของตับอ่อนหมูและวัว
4. อินซูลินคน ได้จากกระบวนการชีวเคมีสังเคราะห์ หรือวิธีพันธุวิศวกรรมทางชีวสังเคราะห์ จึงสามารถทำให้เหมือนอินซูลินในร่างกายคนได้ (อินซูลินคน มีความบริสุทธิ์มากที่สุด และเกิดอาการแพ้ เนื่องจากภูมิต้านทานทางฤทธิ์ของยา น้อยกว่าอินซูลินชนิดอื่น)
ลักษณะของอินซูลิน
อินซูลินใส จะเหมือนน้ำบริสุทธิ์ ไม่มีสี เป็นยาที่ให้ผลรวดเร็ว หลังฉีดประมาณ 30 นาที มีช่วงเวลาออกฤทธิ์เพียง 6 ชั่วโมง (โดยประมาณ)
อินซูลินขุ่น จะมีตะกอนเล็กๆ แขวนลอยอยู่ ออกฤทธิ์นานประมาณ 16 20 ชั่วโมง
ทำไมต้องใช้อินซูลินโดยวิธีฉีด
หากผู้ป่วยได้รับอินซูลิน โดยการรับประทาน ตัวยาจะถูกทำลาย โดยน้ำย่อยในระบบทางเดินอาหาร จึงต้องใช้วิธีฉีดเข้าร่างกายโดยตรง ซึ่งปัจจุบัน ปากกาฉีดอินซูลิน ได้มีการพัฒนา ให้ใช้สะดวก เกิดความเจ็บปวดขณะฉีดน้อยลง มีความแม่นยำสูง ผู้ป่วยไม่กลัวการฉีดอินซูลินอีกต่อไป
วิธีฉีด ปกติจะฉีดใต้ผิวหนัง แต่ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำ จากแพทย์อย่างเคร่งครัด
การเตรียมยา
ตรวจดูลักษณะยา ถ้าเป็นชนิดน้ำใส ต้องไม่หนืด ไม่มีสี ถ้าเป็นชนิดน้ำขุ่นแขวนตะกอน ให้คลึงขวดยาบนฝ่ามือทั้งสองข้างเบาๆ เพื่อให้ยาผสมกันทั่วทั้งขวด ห้ามเขย่าขวดอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดฟอง
ถ้าผู้ป่วยใช้อินซูลิน น้ำขุ่นและน้ำใสในเวลาเดียวกัน ให้ดูดยาชนิดน้ำใสก่อนเสมอ เพราะสามารถสังเกตได้ หากอินซูลินน้ำใสมีลักษณะเปลี่ยนไป เมื่อดูดยาสองชนิดผสมในเข็มเดียวกัน ควรฉีดทันทีหรือภายใน 15 นาที เพราะหากทิ้งไว้นาน จะทำให้การออกฤทธิ์ของยาเปลี่ยนไป
ฉีดอินซูลินตรงไหนดี
ฉีดได้ทั้งบริเวณ หน้าท้อง หน้าขาทั้ง 2 ข้าง สะโพก ต้นแขนทั้ง 2 ข้าง ที่สำคัญ ต้องใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาด และเมื่อดึงเข็มออก ให้ใช้สำลีกดเบาๆ ห้ามนวดตรงที่ฉีด ในการฉีดครั้งต่อไป ควรฉีดห่างจากจุดเดิม 1 นิ้ว และควรฉีดบริเวณเดียวกัน ให้ทั่วก่อนไปฉีดบริเวณอื่น
ห้ามฉีดซ้ำที่เดิมมากกว่า 1 ครั้ง / 1 - 2 เดือน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานง่ายต่อการติดเชื้อ ควรรักษาอนามัยส่วนตัวให้สะอาด โดยเฉพาะฟันและเท้า ถ้ามีบาดแผล รอยข่วน หรือแผลเปื่อย ยิ่งต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ
อาการข้างเคียงและข้อควรปฏิบัติ
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นผลจากการให้อินซูลินมากเกินไป รับประทานอาหารน้อยเกินไป ผิดเวลา หรือช่วงระหว่างมื้อนานเกินไป ออกกำลังกาย หรือทำงานมากกว่าปกติ จะมีอาการปวดหัว เหงื่อออก ใจสั่น กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย ชาในปากหรือริมฝีปาก เดินเซ หงุดหงิด มองภาพไม่ชัด ถ้ามีอาการเหล่านี้ให้ดื่มน้ำผลไม้ หรือรับประทานของที่มีน้ำตาลผสม (ห้ามใช้น้ำตาลเทียม) และพบแพทย์ทันที
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นผลจากการได้รับอินซูลินไม่เพียงพอ หรือรับประทานมากเกินไป จะปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ หิว ปวดหัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ มึนงง ถ้าเป็นลม ให้นำส่งโรงพยาบาลทันที
ข้อควรระวังในการใช้
ก่อนใช้อินซูลินควรบอกแพทย์ หากเคยมีประวัติแพ้อินซูลินที่ทำจากหมูหรือวัว กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร รวมทั้งผู้เป็นโรคต่อมไทรอยด์ โรคตับ โรคไตและโรคติดเชื้อ นอกจากนี้ หากกำลังใช้ยาอื่นอยู่ ต้องแจ้งแพทย์และเภสัชกร ห้ามรับประทานยาแก้หวัด หรือยาภูมิแพ้ที่มีน้ำตาล และแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
ผู้ป่วยเบาหวาน ควรมีบัตรประจำตัวระบุชื่อนามสกุล ชื่อแพทย์ประจำตัว เบอร์โทรศัพท์ ชื่อชนิดและขนาดของอินซูลินที่ใช้ พกติดตัวเสมอ
เคล็ดลับเก็บรักษา
ตามปกติเก็บอินซูลินที่อุณหภูมิ 2 8 องศาเซลเซียส เก็บได้นานเท่ากับอายุยาข้างขวด แต่สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง (ประมาณ 25 องศาเซลเซียส) ได้นานประมาณ 1 เดือน อินซูลินที่เก็บในอุณหภูมิสูง เช่น กลางแดดจัด หรือที่อุณหภูมิต่ำมากๆ เช่น ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น ไม่ควรใช้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากยาเสื่อมคุณภาพ
ผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากการรับอินซูลินตามแพทย์สั่งแล้ว ควรหมั่นออกกำลังกาย ควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด และอย่าลืมทำจิตใจให้สบาย เพียงเท่านี้สุขภาพของท่าน ก็จะดีวันดีคืนขึ้นได้
หน้าที่ 10 - ผู้เป็นเบาหวานควรตรวจอะไร นอกจากระดับน้ำตาลในเลือด
การตรวจฮีโมโกลบิน เอวันซี ( HbAlc) เป็นฮีโมโกลบินที่มีกลูโคสไปจับอยู่ ปกติจะมีค่าประมาณ 4.3-5.8 % ของฮีโมโกลบินทั้งหมด ค่าจะสูงขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษาที่ดี เนื่องจากมีกลูโคสจำนวนมากได้จับกับฮีโมโกลบิน สามารถตรวจได้โดยไม่ต้องอดอาหาร ค่าที่ได้ขึ้นกับความสูงของกลูโคสในเลือดในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา
การตรวจ Micro Albumin ในปัสสาวะ คือ การตรวจการทำงานของไต Micro Albumin เป็นโปรตีน ซึ่งในคนปกติจะทำหน้าที่กรองโปรตีนเก็บไว้ แต่ในผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดอาการแทรกซ้อนที่ไตจะไม่สามารถกรองโปรตีนไว้ได้หมด หากพบโปรตีนในปัสสาวะจึงบอกถึงความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของไต และถ้าได้รับการดูแลที่ไม่ดีพอก็จะทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังต่อไปได้ หากได้รับการดูแลที่ดีจากแพทย์ จะสามารถสกัดกั้นการเกิดไตวายเรื้อรังชนิดถาวรได้
ABI ย่อมาจาก Ankle Brachial Index คือการตรวจวัดความดันโลหิตเปรียบเทียบกันระหว่างแขน และข้อเท้า เพื่อตรวจดูภาวะโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของโรคเบาหวาน เกิดเนื่องจากการควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลจึงไปจับตัวกันทำให้ผนังหลอดเลือดผิดปกติไป รวมทั้งภาวะความดันโลหิตสูง และการสูบบุหรี่ อาการที่เป็นการเตือนว่าท่านอาจจะเป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ได้แก่
รู้สึกเย็น หรือมีอาการซีดผิดปกติที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง
มีอาการชาผิดปกติที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง
เมื่อเดินอย่างต่อเนื่องประมาณ 1-2 ป้ายรถเมล์ จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อที่ขามากจนต้องหยุดพักสักระยะ จึงจะสามารถเดินต่อไปได้
ปวดขาเวลาเดินเร็ว ๆ หรือเดินขึ้นทางลาดชัน หรือแม้แต่เดินทางราบ
มีแผลเรื้อรังที่บริเวณเท้า
ผิวหนังที่บริเวณขาข้างใดข้างหนึ่งบางผิดปกติ และอาจมีขนร่วงด้วย
ปวดปลายนิ้วเท้าในเวลากลางคืน บางครั้งปวดจนต้องตื่นนอน ค่าปกติต้องไม่ต่ำกว่า 0.9 ถ้าต่ำกว่า 0.9 แสดงว่ามีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบตันที่ปลายแขน ขาได้ รวมทั้งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเพิ่มขึ้นด้วย
หน้าที่ 11 - เบาหวานกับไขมันในเลือด
โรคเบาหวาน คือ โรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลจากการที่ร่างกายสร้างฮอร์โมนอินสุลินลดลง หรือร่างกายตอบสนองต่อฤทธิ์ของฮอร์โมนอินสุลินลดลง ฮอร์โมนอินสุลิน นอกจากจะมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ยังมีผลต่อการเผาผลาญไขมันในร่างกายด้วย โดยมีฤทธิ์ยับยั้งการสลายไขมันในร่างกาย ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงพบความผิดปกติของไขมันในเลือดได้บ่อยกว่าคนทั่วไป กล่าวคือ ผู้ป่วยเบาหวานมักจะพบความผิดปกติของระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงขึ้น และระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลที่ลดลง ส่วนระดับแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลมักจะไม่แตกต่างจากคนที่ไม่เป็นเบาหวาน ไขมันในเลือดที่ผิดปกติในผู้ป่วยเบาหวานนอกจากจะเกิดจากโรคเบาหวานเองแล้ว ยังอาจเกิดจากยาต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมด้วย เช่น ยาลดความดันโลหิตสูงบางชนิด นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวานเอง ได้แก่ โรคแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน หรือโรคเบาหวานลงไต ซึ่งจะมีผลทำให้ระดับแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น หรืออาจจะเกิดจากโรคไทรอยด์ที่ทำงานผิดปกติ เป็นต้น
ไขมันในเลือดผิดปกติมีผลอย่างไรต่อผู้ป่วยเบาหวาน
ไขมันที่ผิดปกติจะทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่เกิดการตีบตัน ซึ่งพบได้ทั้งในผู้ป่วยที่เป็นและไม่เป็นเบาหวาน แต่ผู้ป่วยเบาหวานจะมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมากกว่า และเกิดได้ในคนที่อายุน้อยกว่า นอกจากนี้ยังพบว่าระดับไขมันที่ผิดปกติยังสัมพันธ์กับการเกิดพยาธิสภาพของหลอดเลือดฝอย และมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานอีกด้วย
ผลต่อหลอดเลือดแดงใหญ่
ทำให้หลอดเลือดแดงตีบตัน เป็นผลให้อวัยวะสำคัญต่าง ๆ ของร่างกายมีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ เช่น ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน จะทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเป็นผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หรือเสียชีวิตโดยเฉียบพลันได้
ถ้าเกิดที่หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองตีบตัน จะทำให้เกิดโรคอัมพาต โดยจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง หรือชาครึ่งซีก นอกจากนี้ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงขาตีบตัน ก็จะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณต้นขา หรือน่องเวลาเดินไกล ๆ และถ้าหลอดเลือดตีบมาก ๆ อาจจะทำให้เกิดแผลที่เท้าได้ และเป็นสาเหตุให้แผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานหายได้ยาก และช้ากว่าปกติ
ผลต่อหลอดเลือดแดงฝอย
ระดับไขมันในเลือดที่สูง จะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคแทรกซ้อน ที่หลอดเลือดฝอยของตา และไตในผู้ป่วยเบาหวาน หรือที่เรียกกันว่า เบาหวานขึ้นตาและลงไต เป็นผลให้การมองเห็นของสายตาลดลง และการทำงานของไตเสื่อม หรือไตวาย
ผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด
ไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่สูงจะมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานสูงขึ้นได้ ซึ่งอธิบายได้จากกรดไขมันอิสระที่สูง กรดไขมันอิสระที่สูง จากภาวะที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงจะมีผลยับยั้งขบวนการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคสในเซล และยังทำให้มีการสร้างแลปล่อยน้ำตาลกลูโคสจากตับเพิ่มขึ้น และในทางกลับกันภาวะน้ำตาลในเลือดที่สูง ซึ่งเป็นผลจากการที่ร่างกายมีฮอร์โมนอินสุลินไม่เพียงพอ หรือการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนอินสุลินลดลง ก็จะมีผลทำให้ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้นได้ ซึ่งเป็นผลจากการที่ตับสร้างไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยเบาหวานควรจะมีระดับไขมันในเลือดเท่าไร
ระดับไขมันในเลือดเหมาะสมในผู้ป่วยเบาหวาน คือ
แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล น้อยกว่า 100 มก./ดล.
เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล มากกว่า 45 มก./ดล.
ไตรกลีเซอไรด์ น้อยกว่า 150 มก./ดล.
การรักษาไขมันในเลือดผิดปกติในผู้ป่วยเบาหวานทำได้อย่างไรบ้าง
การรักษาประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 อย่าง คือ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยา
การควบคุมอาหาร มีหลักดังต่อไปนี้ คือ
รับประทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อที่จะให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่อ้วน หรือไม่ผอมเกินไป
รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ ได้แก่ แป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และใยอาหาร
หลีกเลี่ยง หรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และอาหารที่มีปริมาณโคเลสเตอรอลสูง ไขมันอิ่มตัวจะพบในไขมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว และกะทิ สำหรับโคเลสเตอรอลนั้นจะพบในเนื้อสัตว์ เครื่องใน ไข่แดง และนมเนยต่าง ๆ
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ และสม่ำเสมอ นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดระดับแอล ดี แอล โคเลสเตอรอล และทำให้เอช ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงขึ้นด้วย
การใช้ยา
ถ้าควบคุมอาหาร และออกกำลังกายแล้วไม่สามารถลดระดับไขมันในเลือดถึงระดับที่ต้องการแล้ว จำเป็นต้องพิจารณาการใช้ยาลดระดับไขมันในเลือดร่วมด้วย ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับไขมันแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงอย่างเดียว หรือมีไขมันแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงร่วมกับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงควรพิจารณาใช้ยาในกลุ่ม statin เป็นยากลุ่มแรกในผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงอย่างเดียว ยาที่เหมาะสมคือยาในกลุ่ม fibrate
ยาลดระดับไขมันในเลือด ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันพบว่ามีผลข้างเคียงน้อย และมีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน และโรคหัวใจขาดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานได้
หน้าที่ 12 - เบาหวานกับโรคหัวใจ
โรคเบาหวาน : เมื่อเอ่ยถึงโรคขาดเลือดแล้ว หลายๆ ท่านคงคิดถึงแต่ไขมันโคเลสเตอรอล แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไขมันยังร้ายน้อยกว่าโรคเบาหวาน ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงไม่จำเป็นต้องเป็นโรคหัวใจขาดเลือดทุกราย แต่หากเป็นเบาหวานแล้วรับรองได้ว่า หากไม่ดูแลให้ดีหรือแม้แต่ดูแลอย่างดีแล้ว ก็ยังมีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือดในอัตราที่สูงมาก เบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงที่น่ากลัวอย่างหนึ่งสำหรับโรคหัวใจขาดเลือดเลยทีเดียว
โรคเบาหวาน เป็นความผิดปกติอันเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในร่างกายไปใช้ได้อย่างเต็มที่
สาเหตุเนื่องมาจากขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือไม่ขาดฮอร์โมน แต่ร่างกายไม่ตอบสนอบต่อฮอร์โมนตัวนี้ ผลที่ตามมาก็คือระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงกว่าปกติ ปัจจุบัน หากระดับน้ำตาลในเลือดที่เจาะหลังงดอาหาร 6 ชั่วโมงยัง สูงกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เราก็เรียกว่าเป็น โรคเบาหวานได้แล้ว ระดับน้ำตาลที่สูงนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ที่สำคัญคือเป็นตัวเร่งให้เกิดการเสื่อมของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ทั้งหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงสมอง หัวใจ ตา ไต แขน ขา รวมทั้งหลอดเลือดแดงเล็กๆ ที่เลี้ยงหลายประสาทอีกด้วย ทำให้เกิดการตีบตันของหลอดเลือดแดงเหล่านี้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า โรคเบาหวาน เป็นปัจจัยเสี่ยงทำสำคัญต่อโรคทางสมอง อัมพาต โรคระบบประสาท โรคหัวใจ โรคไต โรคตา แม้กระทั่งโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือ ED ด้วย
ผู้ป่วยเบาหวานอาจเป็นโรคหัวใจได้ 2 ลักษณะ คือ เมื่อหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงหัวใจเสื่อมจากเบาหวานร่วมกับการที่มีไขมันในเลือดสูง ก็จะทำให้เกิดการตีบของหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดและหากอุดตันก็จะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายตามมา นอกจากนี้ ยังพบว่าในผู้ป่วยเบาหวานบางรายกล้ามเนื้อหัวใจทำทำงานน้อยกว่าปกติและบีบตัวน้อยกว่าปกติมาก แต่หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจไม่ได้ตีบตัน กลุ่มนี้เชื่อว่าเกิดจากหลอดเลือดฝอยเล็กๆ ที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติจากเบาหวาน
เบาหวานเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นอย่างมาก เพราะเบาหวานทำให้เกิดความเสื่อมของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย การควบคุมปัจจัยเสี่ยงในผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องทำอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตในผู้ป่วยเบาหวาน
สาเหตุการตายที่สำคัญในผู้ป่วยเบาหวาน คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสาเหตุสำคัญที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน ในขณะที่ผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลินมีสาเหตุการตายจากภาวะไตวาย และโรคหลอดเลือดหัวใจสูงสุดใกล้เคียงกัน นอกจากนั้น ผู้ป่วยเบาหวานยังมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน โรคหัวใจล้มเหลว และโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบตันสูงกว่าประชาการทั่วไปหลายเท่าตัว
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากตลอดเวลา เพื่อหวังว่าจะช่วยชะลอการเสื่อมของ
หลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย
การดูระดับน้ำตาล ไมได้อาศัยเพียงการเจาะเลือดก่อนอาหารเช้าเท่านั้น แต่ควรจะต้องดูละเอียดไปจนถึงระดับน้ำตาล
หลังอาหารและค่าน้ำตาลเฉลี่ยในรอบ 3 เดือน โดยดูจากน้ำตาลที่เกาะบนเม็ดเลือดแดงด้วย
หากมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ สำหรับโรคหัวใจก็ต้องควบคุมเป็นอย่างดีด้วย เช่น งดบุหรี่ ควบคุมความดันโลหิตให้ปกติ
(น้อยกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท) ควบคุมไขมันโคเลสเตอรอลให้น้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ
แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลให้น้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เป็นต้น ซึ่งหมายความว่าจำเป็นต้องใช้
ยาลดไขมันในเลือดร่วมด้วย
ลดน้ำหนักและออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ วิธีการลดน้ำหนักจะช่วยให้ร่างกายไวต่อฮอร์โมนอินซูลิน
จำเป็นต้องตรวจปัสสาวะดูการทำงานของไต ตรวจตาโดยจักษุแพทย์ ตรวจอัลตราซาวน์ดูนิ่วในถุงน้ำดีด้วย
เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นปัญหาในอนาคต
เมื่อมีอายุมากขึ้น ควรทำการตรวจสมรรถภาพหัวใจอย่างละเอียด คือ อัลตราซาวน์หัวใจและการเดินสายพาน
เนื่องจากบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยไม่แสดงอาการจนเป็นมากแล้ว
อย่าลังเลหากแพทย์แนะนำให้ท่านรักษาด้วยการฉีดฮอร์โมนอินซูลินหรือรับประทานยาลดความดันโลหิต
ยาลดไขมันในเลือด เพราะจะเป็นผลดีต่อท่านในระยะยาว คือในอีก 5 10 ปีข้างหน้า หากท่านเกิดปัญหาแทรกซ้อนต่างๆ
จากเบาหวานขึ้นแล้ว เช่น ไตวาย หัวใจขาดเลือด อัมพาต ตามองไม่เห็น สิ่งเหล่านี้หากเกิดขึ้นแล้วก็ไม่สามารถแก้ไข
ให้กลับมาดีเหมือนเดิมได้
ควรหลีกเลี่ยงน้ำตาล น้ำอัดลม ขนมหวาน ผลไม้หวานจัด เช่น เงาะ ลิ้นจี่ ลำไย องุ่น ควรใช้น้ำตาลเทียมแทนน้ำตาลปกติ
หน้าที่ 13 - โรคเบาหวานส่งผลต่อหลอดเลือดหัวใจ
เบาหวาน คือ อะไร
โรคเบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่ไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ตามปกติ ทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น และถูกขับออกมาทางปัสสาวะ เนื่องจากร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน จะทำให้หลอดเลือดเสื่อมและตีบตัน
อัตราเสี่ยงจากโรคเบาหวานต่อหลอดเลือดหัวใจ
คนที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานเป็นระยะเวลานานๆ จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจสูงกว่าในขณะที่ยังมีอายุน้อยๆ และมีความรุนแรงของโรคมากกว่าคนปกติทั่วไป ดังนั้นคนที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ต้องควบคุมให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงปกติ ซึ่งสามารถช่วยชะลอความเสื่อมของหลอดเลือดได้
รู้ได้อย่่างไร ว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ จากเบาหวาน
อาการเจ็บหน้าอก ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่เป็นโรคเบาหวานร่วมด้วยนั้น มักไม่ชัดเจน เพราะมักมีปัญหาปลายประสาทรับความรู้สึกเสื่อมสภาพ การวินิจฉัยโรคจึงทำได้ยากกว่าปกติ แต่อาจจะสังเกตได้จากอาการแน่น หรืออึดอัดบริเวณกลางหน้าอกข้างซ้าย หรือลิ้นปี่คล้ายอาการจุกเสียด ปวดร้าวที่ท้องแขนด้านใน หน้ามืด วิงเวียน เหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น จะเป็นลม หรือหมดสติ อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบพบแพทย์
การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (70-100) หรือใกล้เคียงมากที่สุด โดยการปฏิบัติตัว ดังนี้
อาหารรับประทานให้พอดี เว้นระยะห่างของอาหารแต่ละมื้อให้นาน งดเว้นอาหารประเภทหวานๆ หลีกเลี่ยงผลไม้หวานๆ อาหารประเภทแป้งและไขมัน รวมทั้งไขมันจากกะทิ
ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในระดับเกณฑ์มาตรฐาน
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง (เป็นเวลา 15-30 นาที/วัน)
งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
รักษาความสะอาดของเท้า ไม่สวมรองเท้าที่คับจนเกินไป ถ้ามีแผลที่เท้าต้องรีบรักษาทันที
ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์
มีลูกอมหรือน้ำตาลติดตัวไว้เสมอ
ควรมีบัตรหรือสัญลักษณ์ที่แสดงว่าเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานติดตัวตลอด
หน้าที่ 14 - โคเลสเตอรอล ในผู้ป่วย โรคเบาหวาน
ไขมันในเลือดคืออะไร
ไขมันในเลือด มีอยู่หลายชนิดที่สำคัญ ได้แก่ โคเลสเตอรอล (Cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) โคเลสเตอรอลในร่างกาย มาจากสองทางด้วยกัน คือ มาจากอาหาร อาหารที่มาจากพืช จะไม่มีโคเลสเตอรอล แต่อาหารที่มาจากสัตว์ จะมีโคเลสเตอรอลมากน้อยแตกต่างกันไป อาหารที่มีโคเลสเตอรอลมาก ได้แก่ พวกเครื่องในต่างๆ ไข่แดง และสัตว์มีกระดอง
นอกจากนี้ ร่างกายยังสามารถสร้างโคเลสเตอรอลขึ้นเองได้ อวัยวะที่ทำหน้าที่ สร้างโคเลสเตอรอลที่สำคัญ คือ ตับและลำไส้ ไตรกลีเซอไรด์ในร่างกาย ก็มาจากอาหารที่รับประทาน และจากการสร้างขึ้นเองในร่างกายเช่นเดียวกัน อาหารที่ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นมาก นอกจากอาหารมันๆ แล้วยังเกิดจากอาหารที่มีน้ำตาล และแป้งปริมาณมากๆ นอกจากนี้ สุรายังเป็นตัวกระตุ้น ให้ตับสร้างไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นด้วย
โคเลสเตอรอลในเลือดมีกี่ชนิด
เมื่อท่านไปรับการตรวจเลือด เพื่อดูระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ค่าโคเลสเตอรอลที่ตรวจวัดได้ จะเป็นผลรวมของโคเลสเตอรอลที่ได้มาจากแอล ดี แอล โคเลสเตอรอล, เอช ดี แอล โคเลสเตอรอลและ วี แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล (คือ ค่าไตรกลีเซอไรด์ หารด้วย 5)
ในคนที่มีระดับไขมันในเลือดปกติ ร้อยละ 70 ของโคเลสเตอรอลที่วัดได้ มาจาก แอล ดี แอล และร้อยละ 17 มาจาก เอช ดี แอล ดังนั้น ส่วนใหญ่ของผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลสูง จะเกิดจากการที่มี แอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงมาก ก็สามารถทำให้ ระดับโคเลสเตอรอลรวมสูงได้เช่นกัน
ดังนั้นค่าที่ได้สามารถนำมาคำนวนหา
แอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง เป็นไขมันที่เป็นต้นเหตุ และเป็นตัวการที่สำคัญที่สุด ของโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ระดับแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลในเลือดสูง มีความสัมพันธ์กับการเกิด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน และหลอดเลือดสมองตีบตัน
ส่วน เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล เป็นไขมันที่มีหน้าที่ป้องกัน และต่อต้านการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง ระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลที่ต่ำ จะเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
นอกจากนี้ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่สูง ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหลอดเลือดแดงแข็งเช่นเดียวกัน
โรคเบาหวานมีผลต่อระดับไขมันในเลือดอย่างไรบ้าง
โรคเบาหวาน คือ โรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลจากการที่ร่างกาย สร้างฮอร์โมนอินสุลินลดลง หรือร่างกายตอบสนอง ต่อฤทธิ์ของฮอร์โมนอินสุลินลดลง ฮอร์โมนอินสุลินนอกจากจะมีผลต่อ ระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ยังมีผลต่อ การเผาผลาญไขมันในร่างกายด้วย โดยมีฤทธิ์ยับยั้งการสลายไขมันในร่างกาย ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวาน จึงพบความผิดปกติของไขมันในเลือด ได้บ่อยกว่าคนทั่วไป กล่าวคือ ผู้ป่วยเบาหวาน มักจะพบความผิดปกติ ของระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงขึ้น และระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลที่ลดลง ส่วนระดับแอล ดี แอล โคเลสเตอรอล มักจะไม่แตกต่างจาก คนที่ไม่เป็นเบาหวาน
ไขมันในเลือดที่ผิดปกติ ในผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากจะเกิดจากโรคเบาหวานเองแล้ว ยังอาจเกิดจากยาต่างๆ ที่ใช้ร่วมด้วย เช่น ยาลดความดันโลหิตสูงบางชนิด นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวานเอง ได้แก่ โรคแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน หรือโรคเบาหวานลงไต ซึ่งจะมีผลทำให้ระดับแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น หรืออาจจะเกิดจากโรคไทรอยด์ ที่ทำงานผิดปกติเป็นต้น
ไขมันในเลือดผิดปกติมีผลอย่างไรต่อผู้ป่วยเบาหวาน
ไขมันที่ผิดปกติ จะทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่เกิดการตีบตัน ซึ่งพบได้ทั้งในผู้ป่วยที่เป็น และไม่เป็นเบาหวาน แต่ผู้ป่วยเบาหวาน จะมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมากกว่าและ เกิดได้ในคนที่อายุน้อยกว่า
นอกจากนี้ ยังพบว่าระดับไขมันที่ผิดปกติ ยังสัมพันธ์กับการเกิด พยาธิสภาพของหลอดเลือดฝอย และมีผลต่อการควบคุม ระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานอีกด้วย
ผลต่อหลอดเลือดแดงใหญ่
ทำให้หลอดเลือดแดงตีบตัน เป็นผลให้อวัยวะสำคัญต่างๆ ของร่างกายมีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ เช่น ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน จะทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เป็นผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หรือ เสียชีวิตโดยเฉียบพลันได้
ถ้าเกิดที่หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองตีบตัน จะทำให้เกิดโรคอัมพาต โดยจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง หรือ ชาครึ่งซีก นอกจากนี้ ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงขาตีบตัน ก็จะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณต้นขา หรือ น่องเวลาเดินไกลๆ และถ้าหลอดเลือดตีบมากๆ อาจจะทำให้เกิดแผลที่เท้าได้ และเป็นสาเหตุให้แผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน หายได้ยากและช้ากว่าปกติ
ผลต่อหลอดเลือดแดงฝอย
ระดับไขมันในเลือดที่สูง จะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคแทรกซ้อน ที่หลอดเลือดฝอยของตา และไตในผู้ป่วยเบาหวาน หรือที่เรียกกันว่า เบาหวานขึ้นตาและลงไต เป็นผลให้การมองเห็นของสายตาลดลง และการทำงานของไตเสื่อม หรือไตวาย
ผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดที่สูง จะมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานสูงขึ้นได้ ซึ่งอธิบายได้จากกรดไขมันอิสระที่สูง กรดไขมันอิสระที่สูง จากภาวะที่มีไตรกลีเซอไรด์สูง จะมีผลยับยั้งขบวนการเผาผลาญ น้ำตาลกลูโคสในเซลล์และ ยังทำให้มีการสร้าง และปล่อยน้ำตาลกลูโคสจากตับเพิ่มขึ้น และในทางกลับกัน ภาวะน้ำตาลในเลือดที่สูง ซึ่งเป็นผลจากการที่ร่างกาย มีฮอร์โมนอินสุลินไม่เพียงพอ หรือการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนอินสุลินลดลง ตับจึงสร้างไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น และมีผลทำให้ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้นได้
ผู้ป่วยเบาหวานควรจะมีระดับไขมันในเลือดเท่าไร
ระดับไขมันในเลือดเหมาะสมในผู้ป่วยเบาหวานคือ
แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล น้อยกว่า 100 มก./ดล.
เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล มากกว่า 45 มก./ดล.
ไตรกลีเซอไรด์ น้อยกว่า 150 มก./ดล.
การรักษาไขมันในเลือดผิดปกติในผู้ป่วยเบาหวานทำได้อย่างไรบ้าง
การรักษาประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 อย่าง คือ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกายและ การใช้ยา
การควบคุมอาหาร มีหลักดังต่อไปนี้
1. รับประทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อที่จะทำให้น้ำหนักตัว อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่อ้วน หรือผอมเกินไป
2. รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ ได้แก่ แป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่และ ใยอาหาร
3. หลีกเลี่ยง หรือ ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และอาหารที่มีปริมาณโคเลสเตอรอลสูง ไขมันอิ่มตัวจะพบในไขมันสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าวและ กะทิ สำหรับโคเลสเตอรอลนั้นจะพบใน เนื้อสัตว์ เครื่องใน ไข่แดง และนมเนยต่างๆ
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายอย่างพอเหมาะและ สม่ำเสมอ นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดระดับแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลและ ทำให้ เอช ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงขึ้นด้วย
การใช้ยา
ถ้าควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายแล้ว ไม่สามารถลดระดับไขมันในเลือด ถึงระดับที่ต้องการแล้ว จำเป็นต้องพิจารณา การใช้ยาลดระดับไขมันในเลือดร่วมด้วย
ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับไขมัน แอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงอย่างเดียว หรือมีไขมันแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง ร่วมกับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง ควรพิจารณาใช้ยาในกลุ่ม statin เป็นยากลุ่มแรก ในผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงอย่างเดียว ยาที่เหมาะสมคือ ยาในกลุ่ม fibrate
ยาลดระดับไขมันในเลือด ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันพบว่ามีผลข้างเคียงน้อย และมีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ ยังพบว่าสามารถลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน และโรคหัวใจขาดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานได้
หน้าที่ 15 - ความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวาน
โรความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวานเป็นภาวะที่พบได้บ่อย
การสำรวจจากประชากรผู้ใหญ่ในประเทศไทย ทั้งที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และภาคต่างๆ 4 ภาค เมื่อปี 2543 พบว่าคนไทยที่อายุมากกว่า 35 ปี เป็นโรคเบาหวานมาถึง 9.6 % หรือ 2.4 ล้านคน และเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากถึง 20 % หรือ 5.1 ล้านคน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มักจะมีความดันโลหิตสูงกว่าคนที่ไม่เป็นเบาหวาน และในทางกลับกันผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ก็มีโอกาสที่จะเป็นเบาหวานมากกว่า คนที่มีความความดันโลหิตปกติ เนื่องจากทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในประชากร และมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ดังนั้น จึงมีโอกาสที่จะพบผู้ป่วยที่เป็นทั้งโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานได้บ่อยเช่นเดียวกัน
อันตรายของโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวานและความสำคัญของการลดความดันโลหิต
เป้าหมายที่สำคัญที่สุด ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง คือ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งล้วนแต่สร้างความทุกข์ทรมาน ต่อทั้งตัวผู้ป่วยเองและญาติ เช่น ภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองตีบหรือแตก ทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์หรืออัมพาต และยังก่อให้เกิดค่าใช้จ่าย ของการรักษาที่สูงมาก เช่น การฟอกเลือดในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เป็นต้น ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จัดเป็นโรคเรื้อรังที่ รักษาได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่หายขาด ผู้ป่วยควรจะได้รับการรักษา และติดตามไปตลอดชีวิต เนื่องจากความรุนแรงของโรค อาจจะไม่คงที่ ทำให้แพทย์อาจต้องปรับเปลี่ยนการรักษาเป็นระยะ ให้เหมาะกับสภาพของผู้ป่วยในแต่ละช่วงเวลา ทั้งภาวะความดันโลหิตสูง และระดับน้ำตาลในเลือดสูง ก็จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดในที่สุด ดังนั้น ผู้ป่วยที่เป็นทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จึงมีโอกาสที่จะเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ มากกว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเพียงอย่างเดียว และการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวาน จะช่วยลดอัตราการเกิดและการเสียชีวิต จากโรคหัวใจและหลอดเลือดลง ได้มากกว่าการลดความดันโลหิต ในผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน หรือกล่าวง่ายๆ ก็คือ การรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย จะได้ประโยชน์มากกว่าในผู้ป่วย ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้เป็นเบาหวาน การศึกษาวิจัยในผู้ป่วยเบาหวาน ที่เป็นความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ก็พบว่าการควบคุมความดันโลหิตทำได้ง่ายกว่า และช่วยป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน ได้ดีกว่าการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่มีความสำคัญ
เป้าหมายของการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยเบาหวาน
ระดับความดันโลหิตเป้าหมาย ในผู้ป่วยเบาหวานคือ ความดันโลหิตค่าบนต่ำกว่า 130 และความดันโลหิตค่าล่างต่ำกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งต่ำกว่าผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน ซึ่งระดับความดันโลหิตเป้าหมาย เท่ากับความดันโลหิตค่าบนต่ำกว่า 140 และความดันโลหิตค่าล่างต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท การที่ระดับความดันโลหิตเป้าหมาย ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ต่ำกว่าผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวาน ก็เนื่องจาก ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่เป็นเบาหวานร่วมด้วยนั้น มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคไตวายเรื้อรังดังที่กล่าวแล้ว และจากการศึกษาวิจัยในทางการแพทย์พบว่า การลดความดันโลหิตลงสู่ระดับต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท ก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ป่วย มากกว่าลดความดันโลหิตลงต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท เหมือนในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้เป็นเบาหวานร่วมด้วย
นอกเหนือจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งที่สำคัญ ได้แก่ การสูบบุหรี่ และภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ดังนั้น การจะป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจ ให้ได้ผลดี ก็ต้องควบคุมระดับน้ำตาล และไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ หรือใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด และหยุดสูบบุหรี่ ควบคู่ไปกับการลดความดันโลหิตด้วย
สถานการณ์การรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวาน
การรักษาโรคความดันโลหิตสูง ยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขทั่วโลก กล่าวคือ ผู้ป่วยบางรายไม่ทราบว่า ตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติใดๆ และผู้ป่วยที่ทราบว่าตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง ก็มีเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่ได้รับการรักษา และมีเพียงร้อยละ 20 30 ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาเท่านั้น ที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท และยิ่งเป้าหมายของการควบคุมความดันโลหิต ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย ต่ำกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน คือต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท ดังที่กล่าวไปแล้วนั้น การลดความดันโลหิตลงให้ถึงเป้าหมาย จึงยิ่งเป็นปัญหามากในผู้ป่วยเบาหวาน จากการสำรวจเรื่องผลการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในผู้ป่วยเบาหวานในประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย รวม 7 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วยในปี พ.ศ. 2545 พบว่า มีเพียง 11% ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย ที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ตามเป้าหมาย ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่า การรักษาโรคความดันโลหิตสูง ยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุข ที่สำคัญอย่างยิ่งปัญหาหนึ่งของประเทศไทย
สิ่งที่ผู้ป่วยจะสามารถช่วยแพทย์ ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงให้ได้ผลดี ก็คล้ายคลึงกับการรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยทั่วไปซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่ การงดอาหารเค็ม การเลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด การลดน้ำหนักอย่างจริงจัง ในผู้ป่วยที่น้ำหนักเกินหรืออ้วน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการหยุดดื่มสุราหรือจำกัดปริมาณการดื่ม ซึ่งรายละเอียดสามารถหาอ่านได้ ในเอกสารเรื่อง มารู้จักโรคความดันโลหิตสูงกันเถอะ ของสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย
2. การใช้ยาลดความดันโลหิต แพทย์มักจะต้องใช้ยาลดความดันโลหิตหลายชนิดร่วมกัน ส่วนใหญ่มากกว่า 2 ชนิด ในการช่วยลดความดันโลหิตลงให้ถึงเป้าหมาย การใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน จะช่วยเสริมฤทธิ์ลดความดันโลหิตซึ่งกันและกัน ผู้ป่วยควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ พบแพทย์ตามนัด และแจ้งให้แพทย์ทราบ หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นหลังรับประทานยา ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะความรุนแรงของทั้งโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานนั้นเปลี่ยนแปลงได้ แพทย์จึงต้องติดตามระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ ยังต้องติดตามระดับไขมันในเลือด และประเมินสมรรถภาพการทำงานของไตเป็นระยะ เพราะปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อการเกิด โรคแทรกซ้อนในอนาคตของผู้ป่วยทั้งสิ้น และยาลดความดันโลหิตแต่ละชนิด นอกจากจะมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ซึ่งเหมือนกันแล้ว ยังมีผลช่วยชะลอ การเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ได้ แตกต่างกันด้วย เช่น ยาลดความดันโลหิตบางชนิด สามารถช่วยชะลอการเสื่อมของไต ในผู้ป่วยเบาหวานได้ดีกว่า ยาลดความดันโลหิตชนิดอื่นๆ ดังนั้น แพทย์จึงต้องพิจารณาเลือกใช้ ยาลดความดันโลหิต ให้เหมาะกับสภาพของผู้ป่วยแต่ละราย และอาจจะต้องปรับเปลี่ยนการรักษา เมื่อสภาพของผู้ป่วยเปลี่ยนไป หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เพิ่มเติม
ข้อควรระวังที่แตกต่างไปจากผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน
1. แพทย์มีแนวโน้มที่จะจ่ายยาแอสไพริน ให้แก่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน แอสไพรินเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้าน การเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด จึงมีผลป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ในหลอดเลือดแดง ถ้าท่านได้รับยานี้อยู่ และจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดถอนฟัน หรือการกระทำใดๆ ที่อาจทำให้เลือดออกได้ ควรแจ้งให้แพทย์ที่ทำการรักษาทราบด้วย และหยุดยาแอสไพริน ก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกมากผิดปกติ จากการยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด
2. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายที่เป็นมานาน หรือเป็นผู้สูงอายุ มีแนวโน้มที่ความดันโลหิต อาจลดลงได้มากกว่าปกติ เมื่อผู้ป่วยเปลี่ยนท่าทาง เช่น จากท่านอนเป็นลุกขึ้นยืน ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ หน้ามืดหรืออาจรุนแรงถึงขั้นเป็นลมได้ ถ้าท่านมีอาการดังกล่าว ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ และระมัดระวังเมื่อจะเปลี่ยนท่าทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังได้รับยาลดความดันโลหิตใหม่ๆ หรือหลังจากการปรับเปลี่ยนชนิด หรือขนาดของยาลดความดันโลหิต
3. ระดับไขมันในเลือดเป้าหมาย ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย ต่ำกว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั่วไป คือ แอลดีแอล-โคเลสเตอรอลต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงสูง ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
สรุป ข้อควรทราบและข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย
1. ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน สามารถรักษาและควบคุมได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่หายขาด
2. เป้าหมายในการลดความดันโลหิต คือ ความดันโลหิตค่าบนต่ำกว่า 130 และค่าล่างต่ำกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท
3. ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะได้รับยาลดความดันโลหิตหลายชนิดร่วมกัน เพื่อลดความดันโลหิตให้ถึงเป้าหมาย
4. ไม่ควรซื้อยารับประทานเองโดยไม่พบแพทย์ แม้จะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ก็ตาม
5. ควรหยุดสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด
ความผิดปกติของไตในผู้ป่วยเบาหวาน
โรคไตเป็นสาเหตุความเจ็บป่วย และสาเหตุการตายที่สำคัญ ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบาหวานชนิดพึ่งอินสุลิน โดย 30-35 % ของผู้ป่วย จะเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งต้องทำการรักษาต่อด้วยวิธีไตเทียมหรือด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนไตที่เรียกเป็นทางการว่าการปลูกถ่ายไต
ผู้ป่วยเบาหวานที่มีความผิดปกติของไตในระยะแรกๆ จะไม่มีอาการแสดงใดๆ แต่จะตรวจพบโปรตีนไข่ขาวในปัสสาวะ เมื่อมีการเสื่อมของไตมากขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาอีก 4-7 ปี จะมีการเปลี่ยนแปลงจนไตเสียหน้าที่ มีการสะสมการคั่งของของเสียภายในร่างกาย ผู้ป่วยอาจมีอาการบวมร่วมด้วย หลังจากระยะนี้อีกประมาณ 1-2 ปี จะเกิดภาวะไตวายเรื้อรังขึ้น
สำหรับหลักทั่วไปในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต หรือไม่ให้ไตเสื่อมเร็วเกินไป สรุปได้ดังนี้
1. เมื่อทราบว่าเป็นเบาหวาน ต้องพยายามรักษาระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติ หรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด เพื่อทำให้ไตยังทำหน้าที่ได้ดีเหมือนเดิม
2. ี ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย
3.
ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
4.
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ , เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอาหารโปรตีนสูง
5.
ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
6. เมื่อจำเป็นต้องใช้ยา ควรหลีกเลี่ยงยาที่มีผลทำให้ไตเสื่อม
หน้าที่ 16 - โรคไตจากเบาหวาน
ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานหลายปี จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะหลอดเลือดทั่วร่างกายจะแข็งและหนา ทำให้เลือดไป เลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง ถ้าควบคุมเบาหวานไม่ดี ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จะเกิดเร็วกว่าปกติ โดยเฉลี่ยโรคไตมักจะเกิดตามหลังโรคเบาหวานมากกว่า 10 ปี ขึ้นไป ถ้าเริ่มมีอาการบวมตามแขน ขา ใบหน้า และลำตัว เป็นการบ่งชี้ว่าเริ่มมีความผิดปกติทางไต การตรวจพบโรคไตระยะเริ่มแรกในผู้ป่วยเบาหวาน คือความดันโลหิตสูง ไข่ขาวหรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ เมื่อไตเริ่มเสื่อมลง จะต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจหน้าที่ไต โดยค่ายูเรียไนโตรเจน (BUN) และคริเอตินิน (Creatinine) จะสูงกว่าคนปกติ
ภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน
1. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
2. อาการบวม
3. ไตอักเสบจากการติดเชื้อ
4. ไตวายฉับพลัน
5. ไตวายเรื้อรัง
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไตในผู้ป่วยเบาหวาน
โรคไตพบประมาณ 30 35 % ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไต ได้แก่
เพศชาย
พันธุกรรม
ระดับน้ำตาลสูง
ความดันโลหิตสูง
โปรตีนรั่วในปัสสาวะ
การสูบบุหรี่
ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไตจากเบาหวาน
มีอาการซีด
บวม
ความดันโลหิตสูง
อาการคันตามตัว
เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
ระยะสุดท้ายจะอ่อนเพลีย คลื่นใส้ อาเจียน
อย่างไรก็ดี การเกิดโรคไตจากเบาหวาน มักมีสิ่งตรวจพบเพิ่มเติม จากผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจากสาเหตุอื่น ซึ่งก็คือ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวาน ได้แก่
อาการชาตามปลายมือ เท้า
เจ็บหน้าอก
ตามัว
แขนขาอ่อนแรง
แผลเรื้อรังตามผิวหนังและปลายเท้า
การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันโรคไต
1. ตรวจปัสสาวะ เพื่อหาโปรตีนทุกปี
2. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เท่ากับ หรือใกล้เคียงปกติเท่าที่สามารถทำได้
3. รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในเกณท์ปกติ
4. หลีกเลี่ยงการใช้ยา หรือสารที่เป็นอันตรายต่อไต เช่น ยาต้านการอักเสบระงับปวด สารทึบรังสี
5. สำรวจ และให้การรักษาโรค หรือภาวะอื่นที่ทำให้ไตเสื่อมสมรรถภาพ เช่น การติดเชื้อทางปัสสาวะ
การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน และเป็นโรคไต
1. ตรวจปัสสาวะและเลือด เพื่อดูหน้าที่ไตเป็นระยะๆ
2. กินยาตามแพทย์สั่งติดต่อกัน และพบแพทย์ตามนัด
3. งดบุหรี่ และแอลกอฮอล์ ซึ่งมีผลต่อหลอดเลือด
4. ถ้าต้องรับประทานยาแก้ปวด หรือยาอื่นๆ ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ และเภสัชกร
5. เมื่อมีอาการบวม ควรงดอาหารเค็ม รสจัด หมักดอง และอาหารกระป๋อง
6. ควบคุมความดันโลหิตให้ปกติ หรือใกล้เคียงมากที่สุด กินยาสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเองเพราะคิดว่าสบายดีแล้ว
7. ระวังอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง
8. รับประทานผักและปลามากขึ้น
9. ควรตรวจอวัยวะอื่นๆ ด้วย เช่น ตา หัวใจ ปอด
10. สำรวจผิวหนัง และเท้าให้สะอาด ไม่มีแผลเรื้อรัง
11. ระหว่างการรักษาด้วยเครื่องไตเทียม ควรรับประทานเนื้อสัตว์ และอาหารเค็มให้น้อยที่สุด
12. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัด
ตัวอย่างอาหารไขมันสูงที่ควรระวัง
1. อาหารโคเลสเตอรอลสูง
อาหารทะเล
เนื้อ หมู ติดมัน
กุ้ง
หอย
ทุเรียน
เนย
2. อาหารไตรกลีเซอร์ไรด์สูง
อาหารจำพวกแป้ง
ของหวาน
ผลไม้รสหวาน
เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
เบาหวาน กับ ไตวาย
เบาหวาน เป็นภาวะผิดปกติของร่างกาย ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และมีน้ำตาลรั่วออกมาในปัสสาวะ
เบาหวาน ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนกับอวัยวะต่างๆ ได้มากมาย เช่น หัวใจ ตา ระบบประสาท ไต เป็นต้น
โรคแทรกซ้อนของเบาหวานที่เกิดกับ ไต และทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ระบบประสาทกระเพาะปัสสาวะเสื่อม (Neurogenic bladder) ทำให้มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือมีอาการปัสสาวะไม่ออกก็ได้ และภาวะไตวายระยะเริ่มต้น รวมทั้งไตวายในที่สุด
เป็นเบาหวานนานเท่าไร จึงจะมีไตวาย
จากการศึกษาพบว่า โดยเฉลี่ยหลังจากเป็นเบาหวานมา ประมาณ 10 ปี จะพบอาการแทรกซ้อนทางไต คือ เริ่มมีไตเสื่อมได้ประมาณ 30-35% (ในบางรายจะเกิดก่อน 10 ปี และบางรายเกิดหลัง 10 ปี) หลังจากเริ่มมีภาวะไตวาย ในระยะเริ่มต้น พบว่าอีกประมาณ 4-7 ปี จะกลายเป็นไตวายในระยะสุดท้าย ถ้าไม่ได้รับการดูแลและรักษาอย่างเหมาะสม
จะทราบได้อย่างไรว่ามีโรคแทรกซ้อนทางไตแล้ว
เนื่องจากในระยะแรก ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติอะไร ดังนั้น จะทราบได้จากการตรวจปัสสาวะ ซึ่งจะพบว่าเริ่มมีไข่ขาว ออกมาในปัสสาวะมากกว่าปกติเล็กน้อย (Microalbuminuria) และจะมีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามความรุนแรงของภาวะไตวาย แต่ถ้าเป็นระยะหลังที่มีไตวายมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการบวม โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า และหลังเท้า มีไข่ขาวในปัสสาวะมาก และมีค่าของเสียในเลือดสูง ระวังไม่ควรรอให้ถึงระยะนี้ เพราะไม่สามารถแก้ไขได้ ผู้ป่วยจะเกิดไตวาย ระยะสุดท้ายในอีกไม่กี่ปี
ระดับน้ำตาลในเลือดมีผลต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนหรือไม่
ระดับน้ำตาลในเลือด มีผลต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน ยิ่งน้ำตาลในเลือดสูงมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้มาก และเกิดเร็วขึ้น
ความผิดปกติอื่นจะช่วยส่งเสริมภาวะแทรกซ้อนทางไตหรือไม่
ความดันโลหิตสูง และภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยช่วยสนับสนุน ให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน ให้เกิดอาการเร็วขึ้น และรุนแรงขึ้น
ในปัจจุบัน เบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย ดังนั้น การควบคุมอาหาร การดูแลรักษา และการตรวจเช็คอวัยวะต่างๆ รวมทั้งไต จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะเป็นวิธีป้องกัน หรือช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยให้น้อยที่สุด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
ถ้าเป็นแล้วจะรักษาได้หรือไม่
ถ้าเป็นในระยะแรก ที่มีไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะเพียงเล็กน้อย สามารถรักษาได้ แต่ถ้าเป็นระยะหลัง ที่มีไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะมาก หรือมีไตวายแล้ว ไม่สามารถรักษาได้ ได้แต่ช่วยรักษา ให้เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย ให้ช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
หน้าที่ 17 - เบาหวาน ทำให้ไตวาย
เบาหวาน เป็นภาวะผิดปกติของร่างกาย ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และมีน้ำตาลรั่วออกมาในปัสสาวะ
เบาหวานทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนกับอวัยวะต่างๆ ได้มากมาย เช่น หัวใจ ตา ระบบประสาท ไต เป็นต้น
โรคแทรกซ้อนของเบาหวานที่เกิดกับไต และทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ระบบประสาทกระเพาะปัสสาวะเสื่อม ( Neurogenic bladder) ทำให้มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือมีอาการปัสสาวะไม่ออกก็ได้ และภาวะไตวายระยะเริ่มต้น รวมทั้งไตวายในที่สุด
เป็นเบาหวานนานเท่าไร จึงจะมีไตวาย
จากการศึกษาพบว่า โดยเฉลี่ยหลังจากเป็นเบาหวานมาประมาณ 10 ปี จะพบอาการแทรกซ้อนทางไต คือ เริ่มมีไตเสื่อมได้ประมาณ 30-35% ( ในบางรายจะเกิดก่อน 10 ปี และบางรายเกิดหลัง 10 ปี) หลังจากเริ่มมีภาวะไตวายในระยะเริ่มต้น พบว่าอีกประมาณ 4-7 ปี จะกลายเป็นไตวายในระยะสุดท้าย ถ้าไม่ได้รับการดูแลและรักษาอย่างเหมาะสม
จะทราบได้อย่างไรว่ามีโรคแทรกซ้อนทางไตแล้ว
เนื่องจากในระยะแรก ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติอะไร ดังนั้นจะทราบได้จากการตรวจปัสสาวะ ซึ่งจะพบว่าเริ่มมีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะมากกว่าปกติเล็กน้อย ( Microalbuminuria) และจะมีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามความรุนแรงของภาวะไตวาย แต่ถ้าเป็นระยะหลังที่มีไตวายมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการบวมโดยเฉพาะบริเวณใบหน้าและหลังเท้า มีไข่ขาวในปัสสาวะมาก และมีค่าของเสียในเลือดสูง ระวังไม่ควรรอให้ถึงระยะนี้ เพราะไม่สามารถแก้ไขได้ ผู้ป่วยจะเกิดไตวาย ระยะสุดท้ายในอีกไม่กี่ปี
ระดับน้ำตาลในเลือดมีผลต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนหรือไม่ ระดับน้ำตาลในเลือดมีผลต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน ยิ่งน้ำตาลในเลือดสูงมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากและเกิดเร็วขึ้น
ความผิดปกติอื่นจะช่วยส่งเสริมภาวะแทรกซ้อนทางไตหรือไม่ ความดันโลหิตสูงและภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน ให้เกิดอาการเร็วขึ้นและรุนแรงขึ้น
ในปัจจุบันเบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย ดังนั้นการควบคุมอาหาร การดูแลรักษา และการตรวจเช็คอวัยวะต่างๆ รวมทั้งไต จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะเป็นวิธีป้องกัน หรือช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยให้น้อยที่สุด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
ถ้าเป็นแล้วจะรักษาได้หรือไม่ ถ้าเป็นในระยะแรกที่มีไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะเพียงเล็กน้อย สามารถรักษาได้ แต่ถ้าเป็นระยะหลังที่มีไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะมาก หรือมีไตวายแล้ว ไม่สามารถรักษาได้ ได้แต่ช่วยรักษาให้เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้ายให้ช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
ไตมีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ
ขับถ่ายของเสียอันเกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน (มีมากในเนื้อสัตว์ และอาหารจำพวกถั่ว) ซึ่งของเสียประเภทนี้ ได้แก่ ยูเรีย ครีเอตินีน กรดยูริค และสารประกอบไนโตรเจนอื่น ๆ หากของเสียประเภทนี้คั่งอยู่ในร่างกายมาก ๆ จะเกิดอาการต่าง ๆ ซึ่งทางการแพทยืเรียกภาวะดังกล่าวว่า ยูรีเมีย
ควบคุมปริมาณน้ำ และเกลือแร่ น้ำและแร่ส่วนที่เกินควรจำเป็นจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ เกลือแร่ดังกล่าว เช่น โซเดียม โปตัสเซียม แคลเซียมฟอสฟอรัส เป็นต้น
ผลิตและควบคุมการทำงานของฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณของแคลเซียม ฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้น หากไตมีความบกพร่องมาก ๆ ผู้ป่วยอาจมีโรคโลหิตจาง หรือกระดูกผุ เป็นต้น
อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ที่ทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
หากไตมีความบกพร่องในหน้าที่ 3 ประการที่กล่าวมา การขจัดของเสียจำพวกโปรตีน น้ำ และเกลือแร่จะขาดความสมดุล ซึ่งในผู้ป่วยบางรายก็จะมีอาการบ่งชี้ แต่บางรายก็ไม่แสดงอาการ ด้วยเหตุนี้การตรวจเลือด และปัสสาวะจึงมีความสำคัญมาก
1. อาหารโปรตีนต่ำ 40 กรัมโปรตีนต่อวัน ร่วมกับเสริมกรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด หรืออาหารโปรตีนสูง 60-75 กรัมโปรตีนต่อวัน
2. พยายามใช้ไข่ขาว และปลาเป็นแหล่งอาหารโปรตีน
3. หลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์
4. หลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ และกะทิ
5. งดอาหารเค็ม จำกัดน้ำ
6. งดผลไม้ ยกเว้นเช้าวันฟอกเลือด
7. งดอาหารที่มีฟอสเฟตสูง เช่น เมล็ดพืช นมสด เนย ไข่แดง
8. รับประทานวิตามินบีรวม , ซี และกรดโฟลิก รับประทาน
อาหารวิตามินดีชนิด 1-alpha hydrocylated form ตามแพทย์สั่ง หลีกเลี่ยงวิตามินเอ
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
โรคไตวายเรื้อรังมีหลายระยะ ระยะเริ่มแรกอาการจะน้อยมาก แต่เมื่อเป็นจนถึงระยะปานกลาง และระยะรุนแรง อาการจะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการจะเพิ่มพูนจนไปถึงไตวายระยะสุดท้ายอย่างรวดเร็ว ซึ่งการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายนั้น นอกจากผู้ป่วยจะได้รับความทุกข์ทรมานแล้ว ยังเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ดังนั้นจึงควรชะลอการดำเนินของโรคไตวายเรื้อรังด้วยการควบคุมอาหาร
อาหารจำกัดโซเดียม
ใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการบวม ถ่ายปัสสาวะน้อย หัวใจวาย น้ำท่วมปอด หรือมีความดันโลหิตสูง เมื่อสั่งให้ "กินอาหารจำกัดโซเดียม" หมายความว่าจะต้องงดอาหารที่มีโซเดียมมาก
อาหารที่มีโซเดียมมาก ได้แก่ อาหารที่มีรสเค็ม เพราะมีโซเดียมคลอไรด์ ( เกลือ) มาก เช่น
เกลือป่น เกลือเม็ด
น้ำปลา น้ำบูดู ซอสหอย ซอสเนื้อ ซอสถั่ว ซีอิ๊ว
ซอสที่มีรสอื่นนำ มีรสเค็มแผง เช่น ซอสพริก (มีรสเปรี้ยว และเผ็ดนำ ความจริงมีรสเค็มด้วย) ซอสมะเขือเทศ ซอสรสเปรี้ยว ๆ เป็นต้น
อาหารดองเค็ม เช่น เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง กะปิ ผักดองเค็ม ผลไม้ดองเค็ม
อาหารดองเปรี้ยว เช่น หลาเจ่า แหนม ไส้กรอกอีสาน หัวหอมดอง หน่อไม้ดอง ผัดกาดเขียวดองเปรียว ผักดองสามรส กระเทียมดองสามรส เป็นต้น
อาหารที่มีรสหวาน และเค็มจัด เช่น ปลาหวาน กุ้งหวาน หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง ผลไม้แช่อิ่ม เป็นต้น
อาหารจำกัดโปแตสเซียม
การจัดอาหารให้มีโปแตสเซียมน้อย กระทำได้ยากกว่าการจัดให้มีโซเดียมน้อย เพราะธาติโปแตสเซียมมีในอาหารทั่วไปทั้งสัตว์ และพืชต่างจากโซเดียม ซึ่งมีมากแต่ในสัตว์ (เช่น เนื้อ นม ไข่) อาหารที่มีโปแตสเซียมมาก คือ
- พวกเนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เครื่องในสัตว์ ไข่ และนม
- พวกผัก ได้แก่ หัวผักกาดสีแสด ผักชี ผักที่มีใบสีเขียวเข้ม ถั่วดำ และถั่วปากอ้า มีมากเป็นพิเศษ
- พวกผลไม้ ได้แก่ กล้วย ส้ม และน้ำส้มคั้น แตงโม แตงหอม มะละกอ ลูกท้อ
- ผลไม้แห้งทุกชนิด เช่น ลูกเกด ลูกพรุน
- เบ็ดเตล็ด กากน้ำตาล ช็อกโกแล็ต มะพร้าวขูด
ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยต้องกินอาหารจำกัดโปแตสเซียม จึงต้องจำกัดอาหารทั้งพวกเนื้อสัตว์ พวกผัก และผลไม้ประเภทที่มีโปแตสเซียมสูงๆ
อาหารจำกัดโปรตีน มีประโยชน์อย่างไร
อาหารจำกัดโปรตีนจะช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของไต และช่วยลดระดับของเสียที่คั่งอยู่ในร่างกายผู้ป่วย ทำให้อาการบางอย่างของโรคไตวายลดลง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มีแผลในปาก เป็นต้น
อาหารที่มีโปรตีนสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ (ทั้งเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อปลา) เครื่องในสัตว์ ไข่ นม และถั่ว
คำว่า "จำกัด" ในที่นี้หมายถึง ให้รับประทานแต่น้อย แต่ไม่ได้ห้ามรับประทานโดยเด็ดขาด คือให้รับประทานได้วันละ 20-25 กรัม นั่นคือ เนื้อสัตว์ประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ หรือหมูย่างประมาณ 4 ไม้
การจำกัดโปรตีนไม่ให้เกิน 20-25 กรัมต่อวัน ต้องใช้ควบคู่กับการรับประทาน คู่เหมือนของกรดอะมิโนจำเป็น ( KETOANALOGUE OF ESSENTIAL AMINO ACID, KA) หรือกรดอะมิโนจำเป็น ( ESSENTIAL AMINO ACID) เสริมในปริมาณที่แพทย์แนะนำ ห้ามผู้ป่วยนำไปใช้เองโดยไม่มีการรับประทาน EAA หรือ KA เสริม
เงื่อนไขในการจำกัดอาหารโปรตีน
ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังในระยะเริ่มแรก ถึงระยะรุนแรง ( คือผู้ป่วยที่มีค่าความเข้มข้นของครีเอตินีนในเซรุ่มประมาณ 2-8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) เท่านั้น ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไตวาย ( HEMODIALYSIS) หรือวิธีล้างไตทางช่องท้อง (PERITONEAL DIALYSIS)
การจำกัดปริมาณน้ำ
หากผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังขั้นรุนแรง จะต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่มในแต่ละวันให้เหมาะสม ตามวิธีการคำนวณง่าย ๆ คือ
ปริมาณน้ำดื่มแต่ละวัน = ปริมาณปัสสาวะของเมื่อวาน + 500 มิลลิลิตร
อาการเริ่มแรกที่บ่งชี้ว่าอาจเป็นโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ อาการบวมที่หน้าหรือเท้า ปัสสาวะเป็นสีคล้ำ สีน้ำล้างเนื้อ หรือเป็นเลือด ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในเวลากลางคืนถ่ายปัสสาวะมากกว่า 3 ครั้ง ปวดบริเวณหลัง ชายโครง ปวดหรือเวียนศีรษะ เมื่อมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์
การรักษาโรคไตนั้นนอกจากจะรักษาด้วยยาแล้ว การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย และเรื่องอาหารเป็นสิ่งสำคัญมาก ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากโรคไตส่วนใหญ่ใช้เวลารักษานาน ผู้ป่วยจึงไม่ควรเพิ่ม ลด หยุดยา หรือไปซื้อยารับประทานเอง เพราะอาจเป็นอันตรายได้
ที่มา https://vcharkarn.com/varticle/36847