ต้มซี่โครงหมูใบชะมวง


1,525 ผู้ชม


 

คนไกลบ้านอย่างเรา  นาน ๆ จะเจอ ใบชะมวง เสียที  อดไม่ได้ที่จะซื้อมา  "ต้มซี่โครงหมู" จำได้สมัยเด็ก ๆ ใบชะมวงเป้นส่วนประกอบของอาหารหลาย ๆ อย่าง   แกงกะทิปลาย่าง  ก็อร่อย แต่ที่เป็นเมนูเด็ดของร้านอาหารแถบภาคใต้  เห็นจะเป็น ใบชะมวงต้มกระดูกอ่อน  หรือ  กับซี่โครงหมู

    

 

วิธีทำไม่ยาก  เลือกใบชะมวงอ่อนแก่ปานกลาง อาจจะฉีกใบเป็นสองซีก เพื่อให้รสชาติของใบชะมวงออกรสมากยิ่งขึ้น รสชาติของชะมวงจะออกเปรี้ยวอมฝาดนิด  ๆ อร่อย ค่ะ หลังจากต้มซี่โครงหมูจนสุกดีแล้ว ก็ใส่ใบชะมวง ต้มต่อไปจนหมูเปื่อย  ชิมรสตามใจชอบ  หากยังไม่เปรี้ยวหรือรสชาติของใบชะมวงยังน้อยอยู่ ก็สามารถเพิ่มใบชะมวงได้เรื่อย ๆ 

 


                                                          ใบชะมวง  แก้ มะเร็ง

                  

                                รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์

คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ. เผยผลวิจัย พบสารชนิดใหม่ใน “ใบชะมวง” ออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง ระบุนับเป็นการค้นพบครั้งแรกของโลก พร้อมตั้งชื่อว่า ‘ชะมวงโอน’ ระบุสามารถใช้เป็นสารต้นแบบที่นำไปพัฒนาโครงสร้างสู่ยาต้านมะเร็งในอนาคต
 
 รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์ ผู้อำนวยการสถานวิจัยยาสมุนไพรและเทคโนโลยีชีวภาพทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) (Assoc. Prof. Dr. Pharkphoom Panichayupakaranant, Director of Research in Pharmaceutical Biotechnology, Faculty of Pharmacy, Prince of Songkla University) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับ นายอภิรักษ์ สกุลปักษ์ (Mr.Apilak Sakulpak) นักศึกษาทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ ทำการศึกษาวิจัยคุณสมบัติมีฤทธิ์ต้านมะเร็งและต้านแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหารจาก ‘ใบชะมวง’ ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก หลังจากใช้เวลาศึกษาค้นคว้านานกว่า 2 ปี ซึ่งผลงานดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Food Chemistry ซึ่งเป็นวารสารที่ได้รับความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการอย่างกว้างขวาง
 
 สำหรับการศึกษาวิจัยดังกล่าว ได้เก็บรวบรวมผักพื้นบ้านจำนวน 22 ชนิดมาทำการสกัดและทดสอบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Helicobacter pylori ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในทางเดินอาหารหรือไม่ โดยพบว่า ชะมวงเป็นพืชที่ออกฤทธิ์ดีที่สุด จึงนำมาแยกสารที่ต้องการ จนสามารถได้สารซึ่งมีฤทธิ์ในระดับดีมาก เป็นสารที่มีค่าความเข้มข้นต่ำที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ หรือ MIC ประมาณ 7.8 ไมโครกรัมต่อมิลลิเมตร ซึ่งถือเป็นสารตัวใหม่ที่ยังไม่มีใครค้นพบมาก่อน โดยตั้งชื่อว่า ‘ชะมวงโอน’ (Chamuangone) เพื่อแสดงให้เห็นว่า เป็นการค้นพบที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ที่มา  https://www.gotoknow.org/posts/534199

อัพเดทล่าสุด