นำดอกมะลิ สมุนไพรช่วยลดความดันโลหิต บำรุงหัวใจ ฯลฯ มาฝาก
" ฆาตกรเงียบ " หรือ "เพชรฆาตเงียบ" ฉายาของโรคความดันโลหิตสูง
ได้ยินได้อ่านดูแล้วน่ากลัว ใครเป็น หรือเป็นอยู่แล้วในร่างกายแต่ไม่ทราบเพราะไม่เคยตรวจเคยวัดความดันด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตเลย และเสียชีวิตลงหรือเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต คงเพราะความดันขึ้นสูงแล้วป่วยหนักกระทันหัน ถึงได้ฉายาว่า" ฆาตกรเงียบ"
แล้วจริงหรือไม่ที่เป็นแล้วเป็นตลอดชีวิต ต้องกินยาตลอดไป ก็มีหลายๆคนที่เป็นเกิดความสงสัยและไม่เชื่อหมอสักเท่าไหร่ บางคนกินสมุนไพรที่หมอแผนไทยจัดให้แล้วหาย ไม่ต้องกินยาลดความดันสูงที่คุณหมอแผนปัจจุบันจัดให้ ก็มีเช่นกัน
แต่เจ้าโรคความดันโลหิตสูงนี้ไม่ธรรมดาเท่าที่ทราบมา ตรงที่ว่า ใครเป็นแล้วควบคุมความดันโลหิตไม่ได้บ่อยๆ ขึ้นๆลงๆอยู่ในร่างกายโดยที่ไม่ทราบว่าความดันผิดปกตินั้น จะมีอวัยวะหนึ่งที่เปลี่ยนไปคือ "หัวใจ" หัวใจ 1 เดียว มี 4 ห้องที่ทำงานไม่มีเวลาหยุดเลยนั้น เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะหลอดเลือดหัวใจทำงานหนักกว่าปกติจากสาเหตุความดันโลหิตขึ้นๆลงๆบ่อยๆ นั้นทำให้เจ้าหัวใจเท่ากำปั้นของตัวเองนั้น เกิดเป็น "โรคหัวใจโต" เพิ่มขึ้นมาอีกโรคซึ่งมีอีกหลายโรคที่ตามมาได้อีกก่อนที่หัวใจจะโตก็ได้เช่นกัน
ดังนั้นการเป็นโรคอะไรก็แล้วแต่ หากทราบเร็วก็มีผลดีในการปฏิบัติตัว เปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน เช่น ในการควบคุม การออกกำลังกาย การกินอาหาร ฯลฯ ก็ต้องระวังและเหมาะสมก็ทำให้ชีวิตมีความสุขได้ และอยู่ต่อไปเพื่อครอบครัวและคนที่เรารัก หรือรักเราได้อีกนาน
ดอกมะลิ
เป็นดอกไม้หอมที่เรารู้จักกันดีทุกคน เรามารู้จักให้เพิ่มขึ้นอีกและนำมาให้เกิดประโยชน์กับร่างกายของเราได้ ดังนี้
มะลิ ชื่ออื่นๆ ข้าวแตก ,เตียมูน, มะลิขี้ไก่ ,มะลิซ้อน, มะลิป้อม
สรรพคุณ
ราก แก้ร้อนใน แก้ปวด แก้นอนไม่หลับ ขับเสมหะ
ต้น แก้ไข้ ขับเสมหะ แก้คัน
ใบ รักษาแผลสด แก้ท้องอืด แก้ท้องเสีย แก้ไข้
ดอก แก้ฝี แก้ไข้ แก้เสมหะ แก้บิด แก้หวัดคัดจมูก เข้ายาหอม ชูกำลัง
วิธีใช้
นำดอก/ใบ 1 กำมือ ต้มดื่ม เช้า - เย็น
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ลดความดันโลหิตสูง ต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย
รายงานผลการทดลอง
ลดความดันโลหิตสูงได้ผลจริง
Dhar. ML. และคณะ (1973) ประเทศอินเดีย
Mokkhasmit M. และคณะ(1971) ประเทศไทย
ขอบคุณ มะลิลดความดันโลหิตสูง จากหนังสือสมุนไพรลดความดันโลหิตสูง รวบรวมเรียบเรียงโดย เภสัชกรหญิงจุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก
มะลิ
ชื่ออื่นๆ มะลิลา ,ข้าวแตก(ฉาน-แม่ฮ่องสอน), เตียมูน(ละว้า), มะลิป้อม(เหนือ), มะลิขี้ไก่(เชียงใหม่) ,บักหลีฮวย ,เซี่ยวหน่ำเคี้ยง(จีน), Arabian Jasnine ,Kampopot,Jasnine
ใบสด รสเย็นฝาด ตำกับกากมะพร้าวกับกัลาพอกหรือทา แก้แผลผุพอง แก้แผลเรื้อรัง แก้พิษฝีดาษ ใชยอด ๓ ยอด ตำพอกหรือทาลบรอยแผลเป็น
ดอก รสหอมเย็นขม บำรุงหัวใจ ดับพิษร้อน ทำให้จิตใจชุ่มชื้น บำรุงครรภ์ แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เจ็บตา
เถา รสขื่นเย็น แก้คุดทะราด ขับเสมหะและโลหิต
ราก รสเย็นเมา ใช้เล็กน้อย หรือต้มดื่มแก้ปวด แก้ปวดศีรษะ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้หลอดลมอักเสบ ใช้มาก(ประมาณ ๑-๒ ข้อนิ้วมือ ) ทำให้สลบ ตำพอกหรือทาแก้เคล็ดขัดยอกจากการกระทบกระแทกต่างๆ
ขอบคุณ สรรพคุณดอกมะลิจากหนังสือเภสัชกรรมไทยฯโดย วุฒิ วุฒิธรรมเวช
มะลิ หลายๆบ้านคงปลูกไว้เป็นไม้หอม ดอกมะลิจะเริ่มบานและหอม ตั้งแต่ตอนค่ำ นำมาใช้ประโยชน์ได้มากมายหลายอย่าง เช่น ดมหอมชิ่นใจ ใช้เข้ายาแผนไทย น้ำลอยดอกมะลิ นำน้ำมาประกอบอาหารโดยเฉพาะขนมไทยๆเราได้หลายอย่าง ลอยน้ำฝนหรือน้ำดื่มสะอาด ดื่มชื่นใจ ฯลฯ เก็บดอกมะลิมาใช้ให้เกิดประโยชน์บ้างนะคะ ไม่ควรปล่อยแห้งร่วงหล่นบนพิ้นทิ้งไร้ประโยชน์ทั้งๆที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก มีมากเราก็ผึ่งให้แห้งเก็บไว้ผสมกับใบชาชงดื่มหรือ มะลิอย่างเดียวชงชาได้ทั้งแบบสดและแห้ง ช่วยบำรุงหัวใจ ชูกำลัง ลดความดันโลหิตสูง ฯลฯ
ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี