ฟักทอง ชื่ออื่นๆ หมักอึ(เลย,อีสาน) น้ำเต้า(ใต้) ฟักเขียว,
มะฟักแก้ว(เหนือ),มะน้ำแก้ว(แพร่),หมักคี้ส่า,เหลืองเคส่า( กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ฟักทองเชื่อม
ฟักทองมีหลายพันธุ์ นำมาเชื่อมได้ทุกพันธุ์
ถ้าฟักทองแก่จัดเปลือกจะแข็งมาก จะปอกเปลือกออกหรือไม่แล้วแต่ผู้ทำ
(เมล็ดกับเยื้อกลางผล นำไปทำน้ำฟักทองหรือเคี่ยวกับหัวกะทิเพื่อให้ได้น้ำมันฯ)
ฟักทองแก่ หั่นชิ้นใหญ่ (ลูกที่ทำนี้ยังไม่แก่มาก)
แช่น้ำปูนใสหรือน้ำปูนขาว ประมาณ 15- 20 นาที เพื่อเวลาเชื่อมฟักทองจะไม่เละ หากชอบกรอบนอกนุ่มใน ก็แช้ให้นานขึ้น
แล้วล้างน้ำ
นำฟักทองขึ้นใส่หม้อ เติมน้ำให้ท่วมฟักทอง ใส่น้ำตาลทรายแดง
ฟักทอง 3 ส่วน ต่อ น้ำตาล 1 ส่วน หรือประมาณตามชอบ ว่าหวานมากหวานน้อย
เคี่ยวไฟอ่อนๆ น้ำ+น้ำตาลจะงวดลงเรื่อยๆระหว่างที่เคี่ยว เขย่าหม้อเป็นระยะๆเพื่อไม่ให้ติดก้นหม้อ หากทำมากใช้ตะหลิวหรือไม้พายค่อยๆคน จนน้ำตาลเหนียวเป็นยางมะตูม ก็ปิดไฟ
ฟักทองเชื่อมจานนี้ เป็นฟักทองยังไม่แก่ ทำแบบหวานไม่มาก ผิวหน้าชิ้นฟักทองจึงไม่เรียบ หากใช้ฟักทองแก่จัด แช่น้ำปูนใสนาน ผิวหน้าจะเรียบสวย ถ้าชอบหวานมากเป็นเกล็ดน้ำตาล ต้องใส่น้ำตาลให้มากขึ้น ราดด้วยน้ำกะทิที่เติมเกลือนิดๆ ก็จะอร่อยมากขึ้นอีก