ไอติมเพื่อสุขภาพทุเรียนกวนกับมังคุดนึ่ง (ไม่มีส่วนผสมอื่น )


1,866 ผู้ชม


ไอติมทุเรียนกับมังคุดไม่มีส่วนผสมอย่างอื่น

ช่วงนี้มีความสุขกับมังคุดค่ะ รับโทรศัพท์สอนทำมังคุดต้มและนึ่งเพื่อสุขภาพอาหารเป็นยา บอกกันทางโทรศัพท์ทั่วทิศของไทย และทดลองทำเพิ่มอีกที่บ้านได้อาหารมาอีก 2 อย่าง แต่ผู้ที่กลัวความหวานอาจจะคัดค้านหรือเห็นแล้วก็อยากชิมก็ได้นะคะ สงสัยไหมค่ะว่าทำไมถึงใช้หัวข้อ ไอติมเพื่อสุขภาพ ทุเรียนก็หวานมากมาทำไอติมแล้ว อันตรายต่อสุขภาพหรือเปล่า เพราะไอศกรีมหรือไอติมที่เรียกกันติดปากตั้งแต่เราเด็กๆกันนั้น ส่วนผสม มีทั้ง นม เนย ไข่ แป้ง น้ำตาล กะทิ ฯ แต่ที่นำมาฝากและชวนทำไม่มีส่วนผสมตามที่กล่าวเลย ลองมาดูกันนะคะว่าทำอย่างไร 

ไอติมทุเรียนกวนกับมังคุดนึ่ง

วิธีทำ

1.ทุเรียนงอมที่หยิบกินเป็นพูไม่ได้หรือไม่ชอบ นำเมล็ดออกกวนในกระทะให้สุกเหนียวเล็กน้อย

2. มังคุดล้างผิวให้สะอาดนำไปนึ่งหรือต้มให้สุก ไฟอ่อนๆพอแค่น้ำเดือดปุดๆ ครึ่งชั่วโมง 

  แล้ววางลูกตั้งขั้วขึ้น พอเย็นแล้วผ่านำเนื้อและน้ำในลูกออกให้หมดใส่ถ้วยไว้

3. นำเนื้อมังคุดและน้ำสีแดงในลูกใส่โถปั่น ตามด้วยทุเรียนกวนสุก 

   ประมาณน้ำหนักเท่าๆกันปั่นให้ละเอียดเนียนไปด้วยกัน

4. เนื้อทุเรียนและมังคุดจะเนียน ตักเทใส่ภาชนะที่แช่ช่องแข็งได้ให้หมดโถ เกลี่ยหน้าให้เรียบ

5. นำแช่ช่องแข็ง พอแข็งหยิบออกมาให้คลายเย็นสักนิด ก็ตักด้วยช้อนหรือที่ตักไอศกรีม หอมหวานเย็นชิมได้เลย

สรรพคุณทุเรียนและมังคุดตามตำราโบราณ

สรรพคุณ เนื้อทุเรียน ทำให้เกิดความร้อน แก้โรคผิวหนัง ทำให้ผิวแห้ง ขับพยาธิ

สรรพคุณ เนื้อมังคุด  บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย แก้ร้อนในเนื่องจากกินทุเรียน  

คำอธิบายจากอาจารย์สุวัฒน์ ทรัพยะประภา มังคุดต้มหรือนึ่ง

Suwath Sapyaprapa " ในเนื้อเปลือกผลมังคุดมีสารแซนโทนมากกว่า 40 ชนิด สาร แอลฟา-แมงโกสติน เป็นผลึกสีเหลืองอยู่ภายในเนื้อเปลือก ก็เป็นสารแซนโทนตัวหนึ่งในกลุ่มสารแซนโทนที่มีอยู่ทั้งหมด ซึ่งละลายได้ในน้ำร้อน ยังมีสารแซนโทนตัวอื่นๆอีก ที่อยู่ในรูปของไกลโคไซด์ ละลายได้ในน้ำ นอกจากกลุ่มสารแซนโทนแล้ว ในเนื้อเปลือกผลมังคุดยังมีกลุ่มสารแอนโทไซยานิ และ กลุ่มสารแทนนิน แยกเป็นคอนเด้นซ์แทนนิน ไฮโดรไลซาเบิ้ลแทนนิน ซึ่งเป็นสารพวกโพลีฟีนอล เมื่อรวมกันเข้าแล้วจึงมีคุณสมบัติร่วมกันอย่างที่นำไปใช้กันอยู่ 

การต้ม หรือ การนึ่ง เป็นการป้องกันสารเหล่านี้ถูกออกซิไซด์ทำให้ประโยชน์ของสารเหล่านี้เสียไป เคียวด้วยไฟอ่อนก็เพื่อให้สารต่างๆที่มีอยู่ในเนื้อเปลือกดังกล่าวซึมออกมา การสกัดสารแบบนี้อาจจะได้สารที่เป็นประโยชน์ไม่มากนักอย่างที่เขาว่า แต่ก็เพียงพอต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ ซึ่งชาวบ้านทำตามได้ง่าย ก็เรามันนักวิจัยเท้าเปล่านะครับ วิจัยแบบลูกทุ่ง เกิดประโยชน์ได้ เท่านี้ก็พอใจแล้ว ส่วนนักวิจัยตัวจริงจะวิจัยต่อยอดให้ลึกกว่านี้ ก็ไม่มีใครห้ามนะครับ การนำเอาผลมังคุดต้มสุกไปสกัดแบบน้ำหมักเอนไซม์ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่จะได้สารต่างๆที่มีอยู่ในเปลือกผลมังคุด ซึ่งสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานขึ้น แต่กว่าจะใช้ได้ก็ต้องรอนานเหมือนกัน ถ้าด่วนๆก็ต้มแล้วใช้เลย ดังนั้นจึงควรผสมผสานวิธีการนำสารในเปลือกผลมังคุด มาใช้ประโยชน์ให้ได้มากขึ้น นักวิจัยอาสา ควรทดลองทำดูแล้วรายงานผล ก็จะช่วยกันพัฒนาการดูแลสุขภาพแบบพึ่งพาตนเอง เพื่อคนไทยมีสุขภาพดีกันถ้วนหน้าต่อไปครับ "

และ จากคำถามเปลือกมังคุดมีสารพิษหรือไม่

 " ผลมังคุด เป็นผลไม้ ที่อาจกล่าวได้ว่าปลอดภัยจากสารพิษชนิดหนึ่งทีเดียว เพราะการทำลายจากแมลงศัตรู อยู่ในช่วงแรกๆของการผลิต หนอนชอนใบทำลายใบอ่อน เพลี้ยไฟ ทำลายยอดอ่อน ดอกและผลอ่อน นับแต่ออกดอกติดผลจนเก็บเกี่ยวได้ ใช้เวลา 11-12 สัปดาห์ ทิ้งระยะกว่าจะเก็บเกี่ยวนานมากพอที่สารพิษที่ใช้ในช่วงต้นๆ สลายต้วไปจนหมดสิ้น อีกประการหนึ่งเปลือกผลมังคุดหนามาก สารพิษที่ใช้ป้องกันกำจัดแมลงไม่ซึมเข้าไปในผล ปัจจุบันใช้น้ำมันสะเดาทดแทนสารพิษ นอกจากได้ผลมังคุดปลอดสารพิษแล้ว จริงๆหลักใหญ่ ก็เพื่อตัวชาวสวนเองปลอดภัยจากสารพิษ ไม่ว่าจะใช้สารพิษหรือไม่ ผลมังคุดปกติก็ปลอดภัยจากสารพิษอยู่แล้ว ดังได้กล่าวไว้แล้วตอนต้น ดังนั้นก่อนนำไปต้มหรือนึ่ง จะล้างน้ำเพื่อความสบายใจ ก็ทำได้นะครับ "

( ขอบคุณคำอธิบายมังคุด จากอาจารย์สุวัฒน์ ทรัพยะประภา )

ไอติมหวานหอมที่ไม่ผสมอะไรเลยเป็นผลไม้ล้วนๆทั้ง 2 ชนิด ที่เป็นผลไม้คู่กันแก้กันเพื่อสุขภาพที่ดีเป็นที่ทราบกันว่า กินทุเรียนแล้วต้องตามด้วยมังคุด แล้วจะไม่ร้อนใน แล้วได้สารอาหารจากน้ำในลูกมังคุดและเมล็ดใหญ่ของมังคุดเพิ่มเข้าไปอีก จัดให้เป็นไอติมเพื่อ
ที่มา   https://www.gotoknow.org/posts/542399

อัพเดทล่าสุด