เราทุกคนต่างคิดว่าเราแลดูอ่อนวัยกว่าที่เป็นจริง ต่อไปนี้ คือ ความจริงเกี่ยวกับอายุผิว และวิธีการที่จะทำให้เราแน่ใจว่าผิวของเราไม่ได้ร่วงโรยไปตามวัย
อายุผิว : ข้อเท็จจริง
อายุมากขึ้น คือสัจธรรมแห่งชีวิต เราทุกคนต้องมีอายุมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่อายุเท่านั้นที่สร้างความรำคาญให้เรา แต่สัญญาณแห่งวัยที่เห็นได้ชัดต่างหากที่ทำให้เรารู้สึกแก่ สุขภาพผิว ไม่ว่าจะบนใบหน้า หรือบนผิวกาย มีบทบาทสำคัญทำให้เรารู้สึกว่าเราแก่เพียงไร และเป็นเหมือนเครื่องบ่งบอกอายุของเราที่สามัญที่สุดให้คนอื่นทราบ เพราะผิวเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดจึงได้รับอิทธิพลจากสภาพความเป็นอยู่ได้มากที่สุัด
โครงสร้างของผิว
หนังกำพร้า หรือผิวชั้นนอก ประกอบด้วยเซลล์สร้างเม็ดสี
หนังแท้ หรือผิวชั้นใน ประกอบด้วยเลือด น้ำเหลือง เส้นประสาท ต่อมเหงื่อ และต่อมไขมัน หนังแท้จะถูกสร้างขึ้นจากคอลลาเจน 95% (เพื่อความแข็งแรง) และอีลาสติน 3% (เืพื่อความยืดหยุ่น) ซึ่งจะทำหน้าที่ร่วมกันช่วยพยุงหนังกำพร้า
สุดท้าย คือชั้นของเนื้อเยื่อไขมันที่อยู่ใต้ผิว และเป็นโครงสร้างของผิว
ดังนั้น เมื่อพูดถึง "ผิวแห่งวัย" เราหมายถึงอะไร
ความบางและริ้วรอย ความบางของผิวเกิดขึ้นจากอัตราการผลิตเซลล์ของชั้นหนังกำพร้าที่ช้าลง และบางทีหนังแืท้อาจจะบางกว่าด้วยซ้ำ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผิวทั้ง 2 ชั้น ส่งผลให้ผิวย่นและมีริ้วรอย
การหย่อนคล้อย เกิดขึ้นในผิวที่มีอายุมากขึ้นเนื่องจากมีการผลิตอีลาสตินและคอลลาเจนน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้ผิวไม่สามารถต้านทานแรงโน้มถ่วง เป็นเหตุให้ผิวห้อยและหย่อนคล้อย
- จุดด่างดำแห่งวัย
เซลล์สีผิวที่อยู่ในชั้นหนังกำพร้ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในบางที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหลังมือซึ่งโดนแดด และรวมตัวกันก่อให้เกิดสิ่งที่เราเรียกว่าจุดด่างดำแห่งวัย
- ความแห้ง
ผิวที่มีอายุมากขึ้นจะมีต่อมเหงื่อและต่อมไขมันน้อยลง ซึ่งทำให้ผิวมีสภาพแห้ง เกิดความหยาบและอาการคัน
ขณะที่ผลกระทบเหล่านี้เกิดขึ้นได้กับทุกคน ยีนส์เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่มีอิทธพลต่อความเร็วและขอบเขตในการเกิดริ้วรอยแห่งวัย แ่ต่สิ่งที่มีอิทธิพลอย่างเด่นชัดที่สุดสำหรับริ้วรอยแห่งวัย คือ ปัจจัยทางด้านชีวิตความเป็นอยู่
นอกจากนี้ ยังมีศัตรูของผิวที่เป็นสาเหตุเช่นกัน
ศัตรูของผิว อันดับที่ 1: แสงแดด
รังสียูวีจากแสงแดด (โดยเฉพาะ รังสียูวีเอ) ทำลายคอลลาเจนและอีลาสตินบนผิว รังสียูวียังทำหน้าที่เหมือนตัวเร่งในการผลิตเม็ดสี ส่งผลให้เกิดจุดด่างดำจากแสงแดดและจุดด่างดำแห่งวัย แพทย์ผิวหนังแนะนำว่า 90% ของปัญหาเกี่ยวข้องกับวัยเป็นผลมาจากการตากแดดมากเกินไป หากไม่ดูกันที่จำนวนเปอร์เซ็นต์ จะพบว่าถ้าคุณต้องการหลักฐานด้านผลกระทบของแสงแดด แค่เพียงเปรียบเทียบผิวหน้าของคุณกับส่วนอื่นของร่างกายที่ไม่โดนแดด
ศัตรูของผิว อันดับที่ 2: การสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่ก่อให้เกิดผลในด้านลบกับผิวหลายประการ เนื่องจากสารนิโคตินจากบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดตีบและขวางกั้นเลือดจากการไหลเวียนไปสู่หลอดเลือดในชั้นบนของผิว นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ยังทำลายคอลลาเจนที่มีหน้าที่รักษาความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของผิว อีกทั้ง ยังทำให้ระบบการรักษาบาดแผลช้าลง ผิวของผู้ที่สูบบุหรี่จะมีริ้วรอยมากกว่าและจะมีสีซีดออกเทาอ่อนๆ เนื่องมาจากระบบการไหลเวียนของเลือดไม่ดี
ศัตรูของผิว อันดับที่ 3: มลภาวะ & สิ่งแวดล้อม
การอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลภาวะ หมายถึง ผิวของเราจะฉาบด้วยสิ่งสกปรกซึ่งอุดตันรูขุมขน การอยู่ในห้องแอร์ก็สามารถสร้างปัญหาได้ โดยจะทำให้ผิวแห้งและขาดน้ำ
ศัตรูของผิว อันดับที่ 4: ความเครียด & การอดหลับอดนอน
เีราต่างทรมานกับความเครียดในบางครั้ง และผิวก็เป็นอวัยวะแรกที่แสดงสัญญาณภายนอกของความเครียดภายใน ผิวจะแห้ง มีจุดด่างดำ และมีน้ำมันมาก การนอนอย่างเพียงพอก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะขณะที่เราหลับ ร่างกายและผิวของเราจะซ่อมแซม และช่วยให้กลับมากระชุ่มกระชวยอีกครั้ง
ชะลอสัญญานแห่งวัย
มีเครื่องสำอางค์มากมายที่พร้อมจะช่วยให้ผิวคุณแลดูอ่อนเยาว์ อย่างไรก็ตามก่อนที่คุณจะเสียเงิน คุณควรจะปฏิบัติตนตามข้อแนะนำดังต่อไปนี้ด้วยการเผชิญหน้ากับศัตรูของผิวและลดสัญญาณแห่งวัย
ปกป้องผิวเมื่อออกแดด สวมหมวก และแว่นกันแดด ทาครีมกันแดด เอสพีเอฟ 15
หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่มีคนสูบบุหรี่ หรือมีควันบุหรี่
ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อให้ร่างกายและผิวพรรณชุ่มชื้น น้ำจำเป็นต่อการส่งสารอาหารไปทั่งร่างกาย ซ่อมแซมเซลล์ ล้างและลดพิษ
ทานอาหารที่มีประโยชน์ เืพื่อให้ทั้งผิวพรรณและร่างกายมีสุขภาพดี วิตามินแต่ละตัวต่างมีประโยชน์ต่อผิว เช่น วิตามินเอ ช่วยสร้างเซลล์ใหม่ และวิตามินซี ช่วยสร้างคอลลาเจนใหม่
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยแค่เพียงเดินจะช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และส่งอ็อกซิเจนไปยังผิวของคุณ
สุดท้าย อย่าลืมบำรุงให้ผิวหน้าและผิวกายชุ่มชื่นด้วยการทามอสเจอไรเซอร์อย่างสม่ำเสมอ
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1628&sub_id=85&ref_main_id=1
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1628&sub_id=85&ref_main_id=1