สิ่งควรรู้เกี่ยวกับ การเลือกครีมกันแดด ครีมกันแดดทาหน้า Physical กับ Chemical ต่างกันแค่การทำงาน ใน ความเป็นจริงแล้ว ครีมกันแดดทาหน้า แบบเคมีคอล (Chemical) และ ฟิสิคอล (Physical) ล้วนเป็นสารเคมี จะแตกต่างกันก็เพียงลักษณะการทำงานเท่านั้น เพราะ แบบเคมีคอล จะดูดซับรังสียูวีแทนผิว ในขณะที่แบบฟิสิคอลจะสะท้อนรังสีร้ายออกไปไม่ให้ระคายผิว ด้วยสารกลุ่มไททาเนียม ไดออกไซด์ (Titanium Dioxide) ซิงค์ ออกไซด์ (Zinc Oxide) เม็กโซริลเอสเอ็กซ์ (Mexoryl SX) ที่มักทิ้งความขาวไว้เมื่อทา ค่า SPF มันบอกอะไรได้บ้าง มาทบท วนความจำกันอีกครั้งว่า ค่าเอสพีเอฟ (SPF/Sun Protection Factor) เป็นค่าบอกว่าจะอยู่กลางแดดนานแค่ไหนโดยไม่ทำให้ผิวไหม้หรือแสบร้อน เช่น ภายใน 30 นาที ผิวคุณจะเริ่มแดง การใช้ SPF 15 จะช่วยยืดเวลาออกไป 15 เท่า นั่นคือ 450 นาที โดยไม่ทำให้ผิวเราไหม้ แต่ค่าเอสพีเอฟมันก็แค่เป็นเพียงการบอกค่าการปกป้องผิวจากยูวีบี ซึ่งไม่ได้เกี่ยวอะไรกับยูวีเอเลยซึ่งเมื่อโดนผิวแล้วเราจะไม่รู้สึก ทั้งที่เป็นตัวก่อมะเร็ง ฝ้าและรอยเหี่ยวย่น ต่างๆ นาๆ มากมาย แล้วค่า SPF ควรใช้สักเท่าไหร่ดี SPF2 ป้องกันรังสียูวีบีได้ 50% SPF 10 ปกป้องได้ 85% SPF 15 ปกป้องได้ 95% และ SPF 30-50 ปกป้องได้ 97% จะเห็นได้ว่า แม้ค่า SPF สูงถึง 50 ก็ยังมีข้อจำกัดในการป้องกันรังสียูวีบี และความแตกต่างในประสิทธิภาพของ SPF 30 กับ 50 ก็มีน้อยมาก อาจไม่คุ้มกับเงินที่ต้องจ่ายเพิ่ม บวกกับผิวยังต้องรับศึกกับสารเคมีปริมาณสูง โดยได้รับประสิทธิภาพเพิ่มเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนผสมครีมกันแดดทาหน้าที่ควรรู้จัก Avobenzone หรือ Parsol 1789 เป็นส่วนผสมที่ใช้กันทั่วโลกในครีมกันแดด วิทยาลัยการแพทย์ผิวหนังแห่ง อเมริกาและ FDA สหรัฐ ให้การรับรองว่าปกป้องผิวจากรังสียูวีเอได้ดี และไม่ได้สลายตัวเร็วอย่างที่เคยถูกโจมตี เพราะจากการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ปี 1996 พบว่า อาโว-เบนโซน หรือพาร์โซล 1789 จะลดพลังลง 25% หลังใช้ไปนานถึง 72 ชั่วโมง แต่มีการรายงานจากวารสาร Photodermatology ว่า มีการใช้สารบางตัวที่ชื่อคล้ายกัน แต่ป้องกันยูวีเอได้ไม่ได้เท่า เช่น เบนโซโฟน (Benzophone) ออกซี่เบนโซน (Oxybenzone) พาบ้า (PABA หรือ Paraaminobenzoic Acid) เป็นกรดโฟลิกในตระกูลวิตามินบี เมื่อก่อนเป็นที่นิยมผสมในครีมกันแดดเพื่อป้องกันรังสียูวี แต่ปัจจุบันไม่ค่อยใช้ได้ เพราะมีรายงานว่าทำให้ระคายผิวหรือถึงกับแพ้ในบางคน จึงอาจมีการระบุว่า PABA-Free ร่วมด้วย แล้วอะไรคือ PA+ / PA++ / PA+++ ใน ครีมกันแดดรุ่นใหม่จะมีส่วนผสมที่ช่วยป้องกันรังสียูวีเอ ซึ่งใช้มาตรวัดระดับการปกป้องเป็น PA (Protection Grade of UVA) ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดหน่วยบอกระดับการซึมซับยูวีเออย่างละเอียดแบบ SPF ดังนั้น ค่า PA จึงบอกได้คร่าวๆว่ าครีมกันแดดนี้กั้นรังสียูวีเอได้มากแค่ไหนด้วยเครื่องหมาย + ซึ่งมีอยู่ 3 ระดับ PA+ / PA++ / PA+++ ซึ่งจริงๆ แล้ว PA+ ก็เพียงพอในการทำกิจกรรมเกือบทุกประเภท แต่ถ้าต้องอยู่กลางแดดนานให้เลือก PA++ หรือสูงกว่าได้ตามความเหมาะสม Water Resistant ไม่ใช่ Waterproof อะไรคือ ครีมกันแดด ที่สามารถกันน้ำได้ ต้องบอก ก่อนเลยว่าไม่มี ครีมกันแดด ตัวใดที่กันน้ำ (Waterproof) ได้จริงดั่งฉลากที่แปะไว้ คุณจึงต้องทาซ้ำถ้าเหงื่อออก หรือหลังเล่นน้ำ ส่วนครีมกันแดดสูตร Water Resistant จะใช้ส่วนผสมจากพลาสติกสร้างแผ่นฟิล์มเคลือบกันแดดให้ติดแน่น แม้จะเปียกน้ำ ดังนั้นเมื่อทาครีมนี้แล้วลงน้ำนาน 40 นาที ค่า SPF ยังคงที่ ส่วนสูตร Very Water Resistant จะทนน้ำได้นาน 80 นาที แต่ไม่แนะนำให้ใช้สูตรนี้เป็นประจำ เพราะทำให้ผิวรู้สึกเหนียวใต้เมกอัพ จึงควรเลือกใช้ครีมกันแดดสูตรธรรมดาก็พอค่ะ |