รู้ไหมว่า อดแล้วก็อวบได้ 5 สิ่งที่ทำอ้วนแบบคาดไม่ถึง


978 ผู้ชม


ถ้าจะบอกว่า“อ้วน”เพราะกินมากไป และไม่ออกกำลังกายคงไม่ใช่เรื่องประหลาด แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ร่างกายเรามีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นอย่างคาดไม่ถึง         ถ้าจะบอกว่า“อ้วน”เพราะกินมากไป และไม่ออกกำลังกายคงไม่ใช่เรื่องประหลาด แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ร่างกายเรามีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นอย่างคาดไม่ถึง 
1. เป็นหวัด
เด็กที่ได้รับ “อดีโนไวรัส-36” (Adenovirus-36) ซึ่งปกติทำให้เกิดอาการไข้หวัด แต่ไวรัสชนิดนี้จะทำให้เซลล์ไขมันเพิ่มจำนวนอย่างทวีคูณ และเป็นที่มาของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น งานวิจัยในวารสารกุมารเวชาศาสตร์ “พีดีแอทริคซ์” (Pediatrics) ได้เผยผลการศึกษาในเด็ก 124 คน พบว่า เด็ก 80% ที่ได้รับไวรัสชนิดนี้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 23 กิโลกรัม
2. เปิดแอร์
เมื่อเราอยู่ในสภาวะอุณหภูมิที่สบาย ร่างกายก็ไม่จำเป็นต้องทำงานปรับตัวให้อุ่นขึ้นหรือเย็นลง จากบทความในวารสารอินเทอร์เนชันแนล เจอรนัล ออฟ โอเบซิตี (International Journal of Obesity) เขียนถึงการลงไปสำรวจในแถบตอนใต้ของสหรัฐฯ ซึ่งมีประชากรอยู่ในภาวะโรคอ้วนมากที่สุดในประเทศ 
พบว่า จำนวนบ้านที่มีเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นจาก 37% ของประชากรทั้งหมด เป็น 70% ในช่วงปี 1978-1997 นั่นสอดคล้องว่าประชากรส่วนใหญ่ไม่ต้องใช้พลังงานเพื่อสร้างกิจกรรมปรับร่างกายให้อยู่ในภาวะสบายตัว
3. นอนไม่พอ 
ผู้ที่นอนหลับไม่พออยู่บ่อยๆ มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคอ้วน จากผลงานวิจัยในวารสารอาร์ไคฟว์ซ ออฟ ดีซีส อิน ชายด์ฮูด (Archives of Disease in Childhood) พบว่า 
เมื่อร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ จะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะการควบคุมระดับน้ำตาล (glucose intolerance) ที่จะมีประสิทธิภาพลดลง ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้อาการนำไปสู่โรคเบาหวาน
อีกทั้งในวารสารคริติคอล รีวิวส์ อิน ฟูด ไซแอนซ์ แอนด์ นูทรีชัน (Critical Reviews in Food Science and Nutrition) ยังระบุไว้ว่า การอดหลับอดนอนจะเร่งให้หิวและเกิดความเหนื่อยล้า ลดประสิทธิภาพการทำกิจกรรมของร่างกาย เมื่อร่างกายใช้พลังงานน้อยลง ก็จะนำไปสู่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
4.เปิดไฟตอนดึก
เชื่อหรือไม่ว่า การเปิดไฟทิ้งไว้ในยามกลางคืน อาจทำให้รอบเอวคุณเพิ่มขึ้น งานนี้มีผลวิจัยยืนยันจากวารสารโปรซีดิง ออฟ เนชันแนล อคาเดมี ออฟ ไซแอนซ์ (Proceedings of the National Academy of Sciences)
ผลการศึกษาชี้ชัด เมื่อหนูที่ต้องอยู่ในกรงที่มีแสงไฟอ่อนๆ ตอนกลางคืน 8 สัปดาห์ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 50% เมื่อเทียบกับหนูที่ได้อยู่ในความมืดสนิด และที่สำคัญหนูทั้ง 2 ทีมต่างก็ได้รับอาหารเท่ากัน และมีกิจกรรมขยับตัวเหมือนๆ กัน
ส่วนในมนุษย์ ยิ่งเมื่อเปิดไฟยามดึก นั่นหมายความว่า ส่วนใหญ่มีกิจกรรมการกินมื้อดึกควบคู่ไปด้วยนั่นเอง
5. สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
“มลพิษ” อาจมีผลกระทบต่อระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายเรา จากงานวิจัยในวารสารคริติคอล รีวิวส์ฯ
สารเคมีที่ปนเปื้อนมากับมลพิษเข้าไปรบกวนต่อมไร้ท่อ โดยเฉพาะ “สารไบฟีนอล เอ” (bisphenol A) ที่พบในพลาสติก เมื่อเข้าไปอยู่ในร่างกายเรา จะรบกวนการส่งสัญญาณการทำงานของฮอร์โมน 
ขณะเดียวกันสารจากยาปราบศัตรูพืช ก็มีผลกระทบต่อการสังเคราะห์ฮอร์โมน และระบบเผาผลาญ เหล่านี้มีผลโดยตรงต่อปริมาณน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

อัพเดทล่าสุด