ลดอ้วนลดพุง


902 ผู้ชม


ลดอ้วนลดพุงอีกหนึ่งวิธีแนะนำ ลดอ้วนลดพุง และการศึกษาถึงความอันตรายต่อไขมันที่ถูกสะสมอย่างมากให้พุง ฉะนั้นเราจึงควรศึกษาและหาวิิธีที่จะ ลดไขมันโดยด่วน แต่ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่า ลดอ้วนลดพุง นั้นเกิดจากสาเหตุอะไรและเรามีวิธีที่จะรับมือกับมันอย่างไรดี...          ลดอ้วนลดพุงอีกหนึ่งวิธีแนะนำ ลดอ้วนลดพุง และการศึกษาถึงความอันตรายต่อไขมันที่ถูกสะสมอย่างมากให้พุง ฉะนั้นเราจึงควรศึกษาและหาวิิธีที่จะ ลดไขมันโดยด่วน แต่ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่า ลดอ้วนลดพุง นั้นเกิดจากสาเหตุอะไรและเรามีวิธีที่จะรับมือกับมันอย่างไรดี... 

 ลดอ้วนลดพุง คือ

การลดไขมันบริเวณหน้าท้องซึ่งก็ถือเป็นการลดความอ้วนอีกอย่างหนึ่ง เพราะเวลาที่ อ้วนลงพุง นั้น มันไม่ใช่แค่ความอ้วนแบบธรรมดาแต่มันเป็นภาวะความอ้วนที่มีไขมันไปสะสมบริเวณช่วงเอวหรือบริเวณช่องท้องมากจนเกินไปและก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายหลาย ๆ ระบบด้วยกัน ในทางการแพทย์จะเรียกโรคนี้ว่า Metabolic syndrome ซึ่งถือเป็นความผิดปกติที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด และแถมยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกด้วย ดังนั้นภาวะโรคอ้วนลงพุงนั้นจึงนับได้ว่าเป็นโรคที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของเราได้


ไขมันที่พุงอันตรายกว่าไขมันส่วนอื่นของร่างกายอย่างนั้นหรือ?

โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นไขมันตรงส่วนใดหากมีมากเกินไปก็ถือว่าไม่ดีทั้งนั้น แต่ไขมันที่สะสมในช่องท้องหรือบริเวณพุงจะสลายตัวเป็นกรดไขมันอิสระส่งผลให้ ในกระแสเลือดมีกรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลเสียต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย โดยกรดไขมันชนิดนี้จะไปยับยั้งกระบวนการเผาผลาญของกลูโคสที่กล้ามเนื้อทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินความดันโลหิตสูงและอาจส่งผลให้หลอดเลือดแดงแข็งตีบและอุดตันได้
พบว่าในคนอ้วนลงพุงจะมีระดับฮอร์โมน Adiponectin ในกระแสเลือดลดลง ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่พบในเซลล์ไขมันเท่านั้น ระดับ Adiponectin ในเลือดที่ต่ำจะสัมพันธ์กับภาวะดื้อต่ออินซูลินและเป็นตัวทำนายการเกิดโรคเบาหวานและโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อีกด้วย
นอกจากนี้เชื่อว่าความอ้วนและภาวะดื้อต่ออินซูลินยังเป็นสาเหตุสำคัญของการสะสมไขมันในเนื้อตับ เพราะกรดไขมันอิสระที่ออกมาจากไขมันบริเวณพุงจะเข้าสู่ตับโดยตรงได้มากกว่าไขมันบริเวณสะโพก ซึ่งกรดไขมันที่สะสมภายในตับหากเกิดในช่วงที่ร่างกายมีอนุมูลอิสระมากจนเกินที่สารต้านอนุมูลอิสระสามารถรับมือไหวจะส่งผลให้เกิดการอักเสบของตับตามมาอีกด้วย ดังนั้นคนที่อ้วนลงพุงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคตับมากกว่าคนที่มีไขมันสะสมที่สะโพก

คุณมีพุงโตเกินไปรึเปล่า?
รอบเอวเป็นตัวบ่งชี้ภาวะอ้วนที่ง่ายและชัดเจนโดยไม่ต้องใช้การคำนวณสำหรับคนเอเชียในปัจจุบันการวินิจฉัยว่าใครจัดอยู่ในกลุ่มโรคอ้วนลงพุงบ้างจะใช้เกณฑ์ดังนี้


- เส้นรอบเอวของผู้ชายตั้งแต่ 36 นิ้วขึ้นไป และสำหรับผู้หญิงตั้งแต่ 32 นิ้วขึ้นไป
- มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดมากกว่า 150 มก./ดล.
- มีระดับ HDL คอเลสเตอรอล น้อยกว่า 40 มก./ดล.ในผู้ชาย หรือน้อยกว่า 50 มก./ดล.ในผู้หญิง
- ความดันโลหิตมากกว่า 130/85 มม.ปรอท หรือรับประทานยาลดความดันโลหิตอยู่
- ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารมากกว่า 100 มก./ดล.
พบว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเพียง 3 ข้อจากเกณฑ์ข้างต้นจะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2 เท่า และผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 4 ข้อจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มเป็น 3 เท่า และเกิดโรคเบาหวานเพิ่มถึง 24 เท่า
นอกจากนี้ยังพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงสำคัญอื่น ๆ อีกที่ส่งผลให้เกิด Metabolic syndrome อาทิ ยิ่งอายุมากก็มีโอกาสเป็นสูงขึ้น พบว่าคนผิวดำจะมีโอกาสพบโรคมากกว่า คนอ้วนมีความเสี่ยงมากกว่าคนผอม ผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานจะมีโอกาสเป็นโรคนี้สูง นอกจากนั้นยังมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคอื่น ๆ ได้ง่าย เช่น ความดันโลหิตเป็นต้น
ลดพุง...ลดโรค
การรักษา Metabolic syndrome หรือ โรคอ้วนลงพุง นั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ การปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตเป็นอันดับแรก เช่น การลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ควบคุมอาหารที่รับประทานบริโภคผักและผลไม้ให้มากขึ้น ลดการดื่มสุรา ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เมื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล ไขมัน หรือความดันโลหิตได้ อาจจำเป็นต้องมีการใช้ยาในการควบคุมร่วมด้วย เป้าหมายในการใช้ยาก็เพื่อลดระดับไขมัน Triglyceride เพิ่มระดับไขมัน HDL (ทำหน้าที่เก็บกวาดคอเลสเตอรอลจากหลอดเลือดไปขจัดที่ตับนับว่าเป็นไขมันชนิดดี) และลดระดับไขมัน LDL (ทำหน้าที่นำคอเลสเตอรอลออกจากตับไปสะสมตามผนังหลอดเลือดถือว่าเป็นไขมันชนิดไม่ดี) ซึ่งเหล่านี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงโรคเบาหวาน
พูดง่าย ๆ ก็คือ ยิ่งพุงโตมากเท่าไหร่ก็ยิ่งสะสมโรคมากขึ้นนั่นเอง รู้อย่างนี้แล้วหันมาออกกำลังกายวันละนิด ค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมทีละน้อย ทำบ่อย ๆ จนกลายเป็นนิสัย นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวแล้วยังเป็นเหมือนเกราะป้องกันโรคภัยต่าง ๆ ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นอีกด้วย
ที่มา   https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1010&sub_id=9&ref_main_id=1

อัพเดทล่าสุด