โรคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa)


795 ผู้ชม


โรคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa) เป็นภาวะที่บุคคลปฏิเสธที่จะรับประทานอาหารเพื่อคงน้ำหนักไว้ในระดับปกติ โดยมีทัศนคติที่ผิดต่อรูปร่าง และน้ำหนักตัวผิดปกติ         โรคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa) เป็นภาวะที่บุคคลปฏิเสธที่จะรับประทานอาหารเพื่อคงน้ำหนักไว้ในระดับปกติ โดยมีทัศนคติที่ผิดต่อรูปร่าง และน้ำหนักตัวผิดปกติ 

คนที่เป็นโรคนี้ จะเป็นคนที่กลัวอ้วน กลัวเอามากๆ เห็นน้ำหนักตัวเองเป็นศัตรู ปฏิเสธอาหารอย่างมากจนผ่ายผอม ในสังคมปัจจุบันสนใจน้ำหนักตัว ไม่ต้องการอ้วน ไม่ต้องการหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน คาดว่ามีผู้ป่วยโรคกลัวอ้วนเสียจนผอมเกินไปราวร้อยละ 0.5-1.8 ของประชากร มีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นราว 5-10 รายต่อประชากร 1 แสนคน พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า ในผู้ป่วยทั้งหมดจะเป็นผู้ชาย ไม่เกินร้อยละ 5-10 อาการของโรคมักเริ่มตอนวัยรุ่น โดยเฉลี่ยจะเริ่มเป็นเมื่ออายุ 17 ปี มีบ้างที่เป็นตอนเรียนมัธยมต้น หรือตอนโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว พบมากในประเทศอุตสาหกรรม หรือประเทศที่เจริญแล้ว ประเทศด้อยพัฒนาจะพบน้อยกว่า

สาเหตุ

  1. ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
  2. เชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม
  3. ผู้ป่วยมักเป็นวัยรุ่นที่เป็น “เด็กดี” “เด็กตัวอย่าง” ของครอบครัว มีบุคลิกภาพที่สมบูรณ์แบบ ย้ำคิดย้ำทำ ขาดทักษะในการใช้ชีวิตในสังคม มีความเป็นตัวของตัวเอง มีปัญหาความขัดแย้งในจิตใจเรื่องความเป็นตัวของตัวเอง รู้สึกไม่มีค่า มักทำตามความคาดหวังของผู้อื่นเพื่อให้ผู้อื่นยอมรับ
  4. เกิดจากการมองภาพตนเองบิดเบือน มองเห็นสัดส่วนร่างกายอ้วนไป ทั้งๆ ที่ไม่ได้อ้วน มักปฏิเสธว่าไม่หิว ไม่ป่วย บอกว่าสบายดี มักแยกแยะความหิวไม่ได้
  5. บางรายพบปัจจัยที่เกี่ยวกับครอบครัว ถูกเลี้ยงดูแบบใกล้ชิด หรือปกป้องมากเกินไป
  6. ปัจจัยทางสังคมที่สำคัญ ได้แก่ ค่านิยมยึดติดอยู่กับความผอมบาง ต้องการสวย เชื่อว่าผู้หญิงผอม คือ แฟชั่น คิดว่าคนอ้วนเป็นคนที่ดูแลตนเองไม่ดี หรือคิดว่าคุณค่าวัยรุ่นขึ้นอยู่กับรูปร่างหน้าตาที่น่ารักหรือหุ่นดี
  7. การที่วัยรุ่นมีวิกฤติของชีวิต เช่น ความต้องการเป็นตัวของตัวเอง ค่านิยม สัมพันธภาพกับผู้อื่น บางครั้งอาจเกิดความขัดแย้งกับบิดามารดา โดยเฉพาะการมีสัมพันธภาพกับเพื่อนต่างเพศ

ปัจจัยเสี่ยงของโรค

  1. การเลี้ยงดูของพ่อแม่
  2. ประวัติคนในครอบครัวเป้นโรคนี้
  3. ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์
  4. โรคทางอารมณ์ ซึมเศร้า บุคคลิกภาพผิดปกติ ติดสารเสพติด
  5. นักร้อง นักแสดง นางแบบ นักเต้นบัลเลต์ ยิมนาสติก
  6. ในผู้ชายพบบ่อยในพวกเกย์และนักวิ่งมาราธอน

อาการ

  1. ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียน หรือนักศึกษาสาวที่ขยันเรียน มีความรับผิดชอบสูง ผลการเรียนดี เป็นคนค่อนข้าง "สมบูรณ์แบบ" บิดามารดามักประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานสูง ผู้ป่วยมักไม่ชอบงานสังคมสังสรรค์นัก
  2. ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐานราว 15% เช่น ควรหนัก 60 กิโลกรัม ก็หนักเพียง 50 กก. หรือควรหนัก 50 กก. ก็เหลือแค่ 42 กก. หรือน้อยกว่าเป็นต้น
  3. โรคนี้ถือเป็นความผิดปกติทางจิตใจชนิดหนึ่ง โดยมีความเชื่อผิดเกี่ยวกับน้ำหนักและรูปร่างตัวเอง บางคนยังเชื่อว่า น้ำหนักมากเกินไปทั้งๆ ที่ความจริงอยู่ในขั้นผอมแห้ง บางคนเชื่อว่าอวัยวะบางส่วนของตัวอ้วนไป ความคิดเต็มไปด้วยเรื่องเกี่ยวกับอาหาร น้ำหนักตัว และการควบคุมอาหาร ในที่สุดเมื่อสนใจแต่เรื่องพวกนี้ ก็จะไม่มีเวลาสนใจเรื่องอื่น ทำให้การเรียน การทำงาน และมนุษยสัมพันธ์แย่ลง
  4. ผู้ป่วยจะกลัวมากๆ เกี่ยวกับการที่น้ำหนักเพิ่มขึ้น และที่แปลกคือ เมื่อยิ่งผอม น้ำหนักลด กลับยิ่งกลัวมากขึ้นไปอีก ความกลัวน้ำหนักเพิ่มนั้น มากเสียยิ่งกว่ากลัวตายจากการปฏิเสธอาหาร แทนที่จะรู้สึกผ่อนคลายหรือเบาใจ เมื่อน้ำหนักลดลงได้เขากลับกลัวมากขึ้นไปอีก
  5. จะพบอาการไม่มีประจำเดือนได้บ่อยในผู้ป่วยโรคนี้ สาเหตุเกิดจากความเครียดอย่างรุนแรงจากการอดอาหาร ทำให้ฮอร์โมนของสมองที่ควบคุมการมีประจำเดือนลดลง การอดอาหารยังไปกดการหลั่งของฮอร์โมนเพศ ทำให้ขาดความสนใจทางเพศ การพัฒนาทางเพศจะล่าช้าในผู้ป่วยพวกนี้ สาเหตุอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น ผู้ป่วยมักแยกตัวจากสังคม เพราะขาดความเชื่อมั่น นับถือตัวเองและกลัวว่าเมื่อเข้าสังคมแล้วจะดำเนินชีวิตอย่างที่ทำอยู่ไม่ได้
  6. ผู้ป่วยมักมีความประพฤติแบบย้ำคิด-ย้ำทำ ร่วมด้วย ชีวิตประจำวันเต็มไปด้วยพิธีรีตอง ส่วนตัวอาจนับเมล็ดข้าวที่รับประทาน คำนวณพลังงานที่ได้จากอาหาร ชั่งน้ำหนัก วัดสัดส่วนของร่างกาย ผู้ป่วยโรคนี้จะปฏิเสธความเจ็บป่วยของตัวเองไม่ยอมรับว่าป่วย ทำให้รักษาลำบาก คิดว่าความคิดตนเองถูกต้อง ส่วนคนอื่นต่างหากที่เพี้ยนไป

อาการเตือนของโรค

  1. ตั้งใจอดอาหารด้วยตัวเอง และน้ำหนักลดลง
  2. กลัวการเพิ่มน้ำหนักตัว หลังรับประทานอาหารหรือชั่งน้ำหนักตัว พบการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์
  3. ปฏิเสธการรับประทานอาหาร
  4. ปฏิเสธความหิว กลัวอ้วนอย่างที่ควบคุมไม่ได้
  5. ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ชั่งน้ำหนักตัวบ่อยเกินปกติ
  6. มีขนอ่อนมากขึ้นตามตัวแขนขา หรือใบหน้า
  7. ขี้หนาว
  8. ประจำเดือนไม่มาหรือไม่สม่ำเสมอ
  9. ผมบางลง
  10. มีความรู้สึกว่าตัวเองอ้วนทั้งๆ ที่ความเป็นจริงผอมมาก มีความกังวลเรื่องรูปร่างมากเกินปกติ

พฤติกรรมของผู้ป่วยมีได้ 2 แบบ

  1. แบบจำกัด (Restricting Type) หมายถึงจะรับประทานอาหารน้อย และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีพลังงานสูง พวกนี้มักจะออกกำลังกายมาก และหนัก ในช่วงที่มีอาการ ไม่ได้มีการรับประทานครั้งละมากๆ หรือมีการขับอาหารจากร่างกาย เช่น ทำให้ตนเองอาเจียน หรือใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ หรือยาสวนถ่ายอย่างพร่ำเพรื่อ หรือเป็นประจำ
  2. แบบกินมาก/ออกมาก (Binge-Eating/Purging Type) หมายถึงเมื่อรับประทานอาหารแล้วใช้วิธีทำให้ตัวเองอาเจียน ใช้ยาถ่าย ยาขับปัสสาวะ หรือสวนอุจจาระ ในช่วงที่มีอาการ จะมีการรับประทานครั้งละมากๆ หรือมีการขับอาหารจากร่างกาย เช่น ทำให้ตนเองอาเจียน หรือใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ หรือยาสวนถ่าย

เกณฑ์การวินิจฉัยโรค

  1. น้ำหนักตัวต่ำกว่าร้อยละ 85 ของน้ำหนักตัวปกติตามอายุและส่วนสูง
  2. กลัวอ้วนอย่างมาก กลัวการที่น้ำหนักขึ้น แม้ว่าตนเองจะมีน้ำหนักตัวน้อย
  3. การรับรู้น้ำหนักตัว หรือรูปร่างของตนผิดปกติ พบปัญหาในการประเมินตนเองขึ้นอยู่กับเรื่องน้ำหนักตัวหรือรูปร่างอย่างมาก หรือปฏิเสธปัญหาน้ำหนักตัวที่ต่ำอยู่ในขณะนั้น
  4. ภาวะขาดประจำเดือนในหญิงที่เริ่มมีประจำเดือนแล้ว ไม่มีประจำเดือนติดต่อกัน 3 รอบ

การวินิจฉัยแยกโรค

  1. โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น มะเร็ง
  2. โรคเบาหวาน ภาวะฮัยเปอร์ไทรอยด์
  3. โรคระบบทางเดินอาหาร ความผิดปกติของการดูดซึมสารอาหาร
  4. โรคเอดส์
  5. โรคทางจิตเวช เช่น จิตเภท ซึมเศร้า

โรคแทรกซ้อน

  1. โรคแทรกซ้อนส่วนใหญ่เกิดจากผลของการอดอาหาร เป็นความพยายามของร่างกายที่จะอนุรักษ์พลังงานไว้ใช้ในภาวะที่ขาดแคลน
  2. ผู้ป่วยที่ใช้วิธีอาเจียน ถ่ายท้อง หรือขับปัสสาวะจะสูญเสียธาตุโปตัสเซียม เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะและกล้ามเนื้อเกร็งได้
  3. โรคแทรกทางหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยโรคนี้ อาจหัวใจเต้นช้าแค่ 40 ครั้งต่อนาที
  4. อาเจียนบ่อยๆ ทำให้เคลือบฟันสึกกร่อน และต่อมน้ำลายบวมคล้ายเป็นคางทูม กล้ามเนื้อกระเพาะและลำไส้จะลีบและอ่อนลงจาการที่ใช้งานน้อย ทำให้อาหารคงอยู่ในและท้องผูก
  5. ผิวหนังจะแห้ง ผมบนศีรษะบางลง มีขนอ่อนตามลำตัวและแขนขามากขึ้น
  6. อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง กระดูกบางลง กระดูกหักง่าย
  7. ไตทำงานผิดปกติ อาจเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง
  8. เม็ดโลหิตและเกร็ดเลือดลดน้อยลง

การรักษา

  1. ประเมินว่าผู้ป่วยมีโรคอื่นร่วมด้วยหรือไม่ และมีโรคแทรกซ้อนอะไรบ้าง
  2. เป้าหมายเบื้องต้นในการรักษาคือ ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากการอดอาหาร ผู้ป่วย และครอบครัว จะได้รับคำแนะนำและอธิบายถึงแผนการรักษา
  3. นักกำหนดอาหาร นักโภชนาการ นักจิตวิทยา และจิตแพทย์ ล้วนมีความสำคัญในการร่วมทีมรักษา เริ่มแรกต้องค่อยๆ เพิ่มอาหาร เพื่อป้องกันกระเพาะขยายตัว ป้องกันการบวมและหัวใจล้มเหลว
  4. บางกรณีต้องรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล เช่น ผู้ป่วยที่น้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 30 ของน้ำหนักปกติ ผู้� 

ที่มา   https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=713&sub_id=9&ref_main_id=1

อัพเดทล่าสุด