แนะ “กิน” เพื่อควบคุมน้ำหนักและรอบพุง


1,030 ผู้ชม


กิน กิน กิน....อย่างไม่บันยะบัน ย่อมส่งผลต่อการขยายของพื้นที่บริเวณหน้าท้อง หรือ ที่เรียกเป็นภาษาชาวบ้านว่า พุงยื่น คงเป็นสิ่งที่คุณผู้หญิงและคุณผู้ชายต่างก็ไม่มีใครอยากให้เกิด...          กิน กิน กิน....อย่างไม่บันยะบัน ย่อมส่งผลต่อการขยายของพื้นที่บริเวณหน้าท้อง หรือ ที่เรียกเป็นภาษาชาวบ้านว่า พุงยื่น คงเป็นสิ่งที่คุณผู้หญิงและคุณผู้ชายต่างก็ไม่มีใครอยากให้เกิด... 
แต่แหม...เรื่องกินเนี่ย ทำให้เรามีความสุข และเพลิดเพลินจนลืมความตั้งใจที่จะลดขนาดพุงกันเลยทีเดียว..เมื่อตามใจปากมาก...แน่นอนว่า สิ่งที่ตามมาคือไขมันที่สะสมอยู่ในช่องท้อง เมื่อมีปริมาณที่มาก ก็ก่อให้เกิดโรคอ้วนได้...ซึ่งจากการสำรวจสภาวะอ้วนลงพุงของประชาชนในปัจจุบัน ของกรมอนามัย พบว่า คนไทยอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป เพศชายมีภาวะอ้วนลงพุงร้อยละ 24 และเพศหญิงร้อยละ 60 โดยพบในผู้หญิงมากกว่าชายถึง 2.5 เท่าตัว จากสถานการณ์โรคอ้วนที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้ดำเนินการรณรงค์โครงการ “คนไทยไร้พุง” ภายใต้หลัก “3 อ.” คือ อารมณ์ อาหาร ออกกำลังกาย เพื่อแก้ปัญหาโรคอ้วนลงพุง ที่เป็นต้นเหตุชักนำโลกร้ายอย่าง เบาหวาน ความงามดันโลหิตสูง ฯลฯ เข้ามาเป็นของแถมโดยที่คุณไม่ได้ตั้งใจ แม้จะเป็นเรื่องยาก !!! แต่ด้วยหลักการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักและรอบพุงของ อาหาร ก็สามารถช่วยให้คุณลดพุงได้อย่างง่าย ๆ ดังนี้ 1. บริโภคข้าวหรือแป้งได้ตามปกติ ถ้าไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่ม 2. บริโภคน้ำตาล รวมทั้งน้ำผึ้งและน้ำตาลในอาหาร ไม่เกิน 2 ช้อนชาต่อมื้อ หรือไม่เกิน 24 กรัมต่อวัน 3. บริโภคผลไม้อย่างสม่ำเสมอแต่ไม่เกิน 10-15 คำต่อมื้อ แล้วแต่หวานมากหรือหวานน้อย 4. บริโภคเนื้อสัตว์ไม่ติดมันที่สุกแล้ว วันละประมาณ 12-16 ช้อนโต๊ะ และหลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์ หนังสัตว์มันสัตว์ 5. บริโภคใบผักและก้านผักอย่างสม่ำเสมอ วันละไม่ต่ำกว่า 3 ทัพพี หรือ 9 ช้อนโต๊ะ ของผักต้มหรือเทียบเท่า 6. เลือกอาหารที่เตรียมโดยการต้ม นึ่ง ย่าง โดยหลีกเลี่ยงอาหารทอดหรือผัด 7. แนะนำให้บริโภคน้ำมันจากรำข้าว ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน งา 8. หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวและไขมันแปรรูป เช่น ไขมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม มาการีน ครีมเทียม 9. บริโภคปลา ไข่ขาว เต้าหู้และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองทุกวัน 10. ควรดื่มนมพร่องหรือขาดนมเนย รสจืด วันละ 1-2 แก้ว หากดื่มนมไม่ได้ ใช้นมถั่วเหลือง รสจืดแทน 11. ลดการบริโภคเกลือ อาหารหมักดอง อาหารเค็ม และหลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุงรสในอาหาร 12. ไม่ควรดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ ยาดองเหล้า 13. ไม่ควรบริโภคชา กาแฟ เกิน 3 ถ้วยต่อวัน 14. ลดข้าวหรือแป้งลงจากเดิม 1 ใน 3 ส่วน 15. งดการบริโภคน้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เครื่องดื่มบำรุงกำลัง เหล้า เบียร์ ไวน์ และงดการเติมน้ำตาล เกลือ เครื่องปรุงรส ในอาหารโดยเด็ดขาดแต่สามารถใช้น้ำตาลเทียม 16. ลดการบริโภคผลไม้ลง โดยบริโภคไม่เกิน 6-10 คำต่อมื้อ แล้วแต่หวานมากหรือน้อย 17. ให้บริโภคใบผักหรือก้านผักเพิ่มขึ้น 18. งดอาหารที่เตรียมโดยการทอดหรือผัด 19. งดอาหารระหว่างมื้อ 20. หากออกกำลังกายไม่ควรบริโภคอาหารเพิ่มจากเดิม 
ที่มา   https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=420&sub_id=9&ref_main_id=1

อัพเดทล่าสุด