นพ.วิชัยไม่รับประกันความเสี่ยงอาสาสมัครวัคซีน!


939 ผู้ชม


อาจจะกลายเป็นประเด็นได้อีกเมื่อ นพ.วิชัย โชควิวัฒน์กล่าวว่าในเรื่องความเสี่ยงนั้นมี แต่ถือว่าต่ำ และเมื่อเทียบประโยชน์ที่จะได้รับไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ที่เกิดกับสังคม และโลกที่จะได้รับ เมื่อถามว่า ตรงนี้เราสามารถที่จะยืนยันได้หรือไม่ว่าอาสาสมัครที่จะเข้าร่วมในโครงการนี้จะไม่มีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต นพ.วิชัย กล่าวว่า การวิจัยต่างๆ  คงจะไม่มีใครสามารถให้การรับรองถึงความปลอดภัยได้ร้อยเปอร์เซ็น 

นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม กล่าวถึงโครงการรับอาสาสมัครทดลองวัคซีนป้องกันหวัดใหญ่ 2009 ว่า บุคคลที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ทุกคนจะได้รับค่าตอบแทน ซึ่งเป็นค่าเดินทางและค่าเสียเวลา โดยโครงการนี้อาสาสมัครรุ่นแรก จะแบ่งออกเป็นสองช่วง คือ อาสาสมัครรุ่นแรกจะต้องพักอยู่ที่ศูนย์ทดสอบวัคซีน เพื่อจะได้มีการดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งในด้านความปลอดภัย และการกระตุ้นภูมิคุ้มกั้นต่างๆ โดยจะต้องพักค้างอยู่ที่ศูนย์เป็นเวลา 7 วัน โดยอาสาสมัครจะได้รับค่าใช้จ่ายช่วงละ 5,000 บาท รวมสองช่วงเป็นเงิน 10,000 บาท และเมื่อเดินทางมาตรวจในแคต่ละครั้งจะได้รับค่าเดินทางครั้งละ 500 บาท

 ผู้สื่อข่าวถามว่า อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการครั้งนี้จะมีความเสี่ยงด้วยใช่หรือไม่ นพ.วิชัย กล่าวว่า ตามปกติและการศึกษาวิจัยต่างๆ จะมีความเสี่ยง แต่จะมีการประเมินชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ในสิ่งที่จะได้รับกับความเสี่ยง ส่วนอาสาสมัครที่มารับวัคชีน ซึ่งความเป็นจริงแล้ววัคชีนดังกล่าวนี้ไม่ใช่วัคซีนตัวใหม่ แต่เป็นวัคซีนที่มีการผลิตตามแนวทางและมาตรฐาน และวัคซีนตัวนี้ได้มีการนำมาใช้ในประเทศรัสเซียมาแล้วมาเป็นเวลา 50 ปี ดังนั้นจึงไม่ใช่ของใหม่แต่อย่างใด นอกจากนี้จะต้องผ่านกระบวนการวิจัยต่างๆรวมทั้งการทดสอบให้มีความปลอดภัยก่อนที่จะมีการนำมาทดลองวัคซีนในคน อย่างไรก็ตามในเรื่องความเสี่ยงนั้นมี แต่ถือว่าต่ำ และเมื่อเทียบประโยชน์ที่จะได้รับไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ที่เกิดกับสังคม และโลกที่จะได้รับ

 เมื่อถามว่า วัคซีนที่จะนำมาใช้ทดลองครั้งนี้ เป็นชนิดที่พ่นทางจมูกใช่หรือไม่ นพ.วิชัย กล่าวว่า ใช่ ซึ่งวัคซีนที่นำมาใช้พ่นทางจมูกนั้น ดีกว่าวัคซีนที่ใช้ฉีด ซึ่งหากเปรียบวัคซีนที่ประเทศเคยนำมาใช้มาแล้วเป็นพันล้านโดส คือ วัคซีนโปลิโอ โดยวัคซีนโปลิโอจะมีอยู่สองชนิด คือ วัคซีนที่ใช้ฉีด และชนิดหยอด โดยวัคซีนที่ใช้หยอดจะทำให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกั้นได้ในสองทาง คือ ระบบเจริญอาหาร และในระบบร่างกาย คือ ในเลือด ดังนั้นชนิดคุ้มกั้นไข้หวัดใหญ่ ก็เช่นเดียวกัน คือ มีทั้งชนิดฉีดที่จะกระตุ้นภูมิคุ้มกั้นในร่างกาย และชนิดพ่นทางจมูก จะช่วยร่างกายสร้างภูมิคุ้มกั้นทางโพรงจมูก ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งสำคัญที่เชื้อไข้หวัดใหญ่ใช้โจมตีร่างกาย

 เมื่อถามว่า วัคซีนที่จะใช้ในครั้งนี้เป็นวัคซีนที่ผลิตขึ้นในประเทศไทยใช่หรือไม่ นพ.วิชัย กล่าวว่า วัคซีนทั้งหมดเป็นการผลิตขึ้นในประเทศไทย ที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร จังหวัดนครปฐม เทคโนโลยีที่ใช้ทั้งหมดทางประเทศไทยได้รับเป็นของประเทศรัสเซีย โดยผ่านมาจากองค์การอนามัยโลก   

 เมื่อถามว่า วัคซีนที่จะใช้ฉีดพ่นทางจมูกในครั้งนี้ ประเทศรัสเซียได้เคยผลิตออกมาใช้แล้วหรือยัง นพ.วิชัย กล่าวว่า ยังไม่มีการทดลอง เแค่ทางรัสเซียได้ผลิตเป็นตัววัคซีนออกมาแล้ว ซึ่งขบวนการต่างๆ ที่จะดำเนินการยังมีขั้นตอนอีกนาน โดยในตอนนี้ได้มีการนำไปทดลองในสัตว์แล้ว

 เมื่อถามว่า ตรงนี้เราสามารถที่จะยืนยันได้หรือไม่ว่าอาสาสมัครที่จะเข้าร่วมในโครงการนี้จะไม่มีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต นพ.วิชัย กล่าวว่า การวิจัยต่างๆ  คงจะไม่มีใครสามารถให้การรับรองถึงความปลอดภัยได้ร้อยเปอร์เซ็น แต่เรากล้าพูดได้ว่าขั้นตอนต่างๆ เราได้มีการตรวจสอบจากฝ่ายต่างๆที่รวมกันเป็นองค์คณะ รวมทั้งได้มีการศึกษาวิจัยข้อมูลต่างๆ ที่ผ่านมาเป็นเวลาเป็นสิบปี ดังนั้นตนมีความเชื่อมั่นว่าวัคซีนตัวนี้จะมีความปลอดภัยสูง และคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องความไม่ปลอดภัยแต่อย่างใด

 เมื่อถามว่า ระยะเวลาในการทดลองจะใช้เวลาในการดำเนินการเท่าใด นพ.วิชัย กล่าวว่า ในแรก 60 วัน และในระยะที่สอง 60 และการดำเนินการทั้งหมดหากทำอย่างต่อเนื่องจะต้องไม่น้อยกว่า 120 วัน ซึ่งเราจะต้องมีการดำเนินการที่จะต้องมีความเลื่อมกัน ซึ่งหากผลการวิจัยไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ดังนั้นเราอาจจะใช้วัคซีนตัวนี้ได้ประมาณเดือนธันวาคมปีนี้ อย่างไรก็ตามการเปิดรับสมัครอาสาสมัครร่วมโครงการนี้ ในขณะนี้ยังไม่มีการดำเนินการเปิดรับแต่อย่างใด ซึ่งคงจะต้องรอให้โครงการผ่านคณะกรรมการวิจัยในคน ซึ่งคณะกรรมการวิจัยในคนได้มีการอนุมัติในหลักการ แต่ได้มีการขอรายละเอียดต่างๆ เช่น ผลการวิจัยในสัตว์ทดลองในรัสเซีย และเนเธอร์แลนด์ จะต้องมีผลวิจัยที่จะต้องอยู่ในขั้นที่ปลอดภัย

 เมื่อถามว่า เรื่องความยินยอมจะต้องมีการขออนุญาตญาตของอาสาสมัครหรือไม่ นพ.วิชัย กล่าวว่า หากอาสาสมัครในช่วงแรกที่มีอายุเกิน 18 ปี เจ้าตัวก็สามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้ แต่ทางคณะก็จะมีการพุดคุยกับญาติของอาสาสมัครแต่ละคน ส่วนในการทดลองในระยะสอง จะต้องมีอาสาสมัครที่จะต้องมีอาสาสมัครอยู่กลุ่มหนึ่ง ที่จะมีอายุระหว่าง 12  - 18 ปี ซึ่งในกลุ่มนี้จะต้องมีการขอความยินยอมจากผู้ปกครอง และตัวเด็ก ซึ่งเดิมมีการกำหนดอายุไว้ที่ 9 ปี แต่คณะวิจัยเห็นว่าเด็กเกินไป
ที่มา https://xn--2009-9dovd4bzj9ac8d4lh8dh.thaihealth.net/article14-%E0%B8%99%E0%B8%9E.%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9.html

อัพเดทล่าสุด