น้ำมันมะกอก เพื่อสุขภาพ


973 ผู้ชม


น้ำมันมะกอก เป็นน้ำมันที่เหมาะสำหรับการบริโภค ไม่ว่าจะใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารรับประทานหรือผ่านการปรุง ที่สำคัญน้ำมันมะกอกยังมีผลดีต่อร่างกาย         น้ำมันมะกอก เป็นน้ำมันที่เหมาะสำหรับการบริโภค ไม่ว่าจะใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารรับประทานหรือผ่านการปรุง ที่สำคัญน้ำมันมะกอกยังมีผลดีต่อร่างกาย 

น้ำมันมะกอก ซึ่งประกอบไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด (Monounsaturated Fatty Acids) และ Polyunsaturated balance วิตามินอี วิตามินเอ โปรตีน และสารแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) รวมถึงกลิ่นหอมของผลมะกอก และรสชาติที่อร่อย ทำให้ได้ข้อสรุปว่าน้ำมันมะกอกเป็นน้ำมันที่เหมาะที่สุดสำหรับการบริโภค ไม่ว่าจะใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารรับประทานสดหรือผ่านการปรุงแล้ว ที่สำคัญน้ำมันมะกอกยังมีผลดีต่อร่างกายด้วย

  องค์ประกอบของกรดไขมันที่มีอยู่ในน้ำมันมะกอก

มีส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Monounsaturated 55-83% ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกรดโอเลอิค แตกต่างจากในไขมันสัตว์ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมากกว่า ในขณะที่ในน้ำมันพืชมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Polyunsaturated มากถึง 50-72% (เฉพาะในน้ำมันถั่วเหลือง และในน้ำมันดอกทานตะวันเท่านั้น)

สำหรับข้อแตกต่างระหว่างกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Monounsaturated กับ Polyunsaturated ก็คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Monounsaturated จะมีความทนทานเมื่อเผชิญหน้ากับกระบวนการ Oxidative ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้น้ำมันเกิดการเหม็นหืนมากกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Polyunsaturated โดยน้ำมันมะกอกจะช่วยลดเปอร์เซ็นต์ของกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Polyunsaturated ให้ต่ำลงอยู่ในระหว่าง 3.5 และ 22% กรดไขมันเหล่านี้มีความจำเป็นต่อร่างกาย แต่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ เมื่อเราหันมาบริโภคน้ำมันมะกอกเป็นประจำ จะทำให้ได้รับกรดไขมันที่จำเป็นเพียงพอทั้งในเด็ก และในผู้ใหญ่ นอกจากนี้น้ำมันมะกอก และน้ำมันที่ได้จากกากของมะกอกยังมีโครงสร้างของกลีเซอรอลเหมือนกันด้วย ซึ่งหมายความว่าจะให้ประโยชน์แก่ร่างกายด้วยเช่นกัน และการบริโภคน้ำมันมะกอกมีผลต่อร่างกายในระบบต่าง ๆ ดังนี้

  • ผลต่อระบบการย่อยอาหาร อาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันมะกอกจะมีผลดีต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยจะช่วยรักษาเยื่อบุลำไส้เพื่อป้องกันไม่ให้กระเพาะอาหารเกิดภาวะมีกรดเกลือมากผิดปกติ และยังช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กอีกด้วย ซึ่งจะทำหน้าที่เหมือนยาระบายอ่อน ๆ และจะมีผลดีมากขึ้นเมื่อรับประทานในขณะที่ท้องว่าง และจะสามารถช่วยรักษาอาการท้องผูกเรื้อรังได้ด้วย
  • ผลต่อช่วงระยะเวลาสำคัญของชีวิต น้ำมันมะกอกช่วยสร้างความสมดุลระหว่างกรดไขมันไม่อิ่มตัว คือ ไลโนเลอิค (Linoleic) และกรดไลโนเลนิค (Linolenic) ซึ่งกรดทั้งสองมีคุณสมบัติคล้ายกับน้ำนมแม่ที่เป็นแหล่งให้กรดไขมันอย่างเพียงพอ จากคุณสมบัติดังกล่าว ถ้าเราจะบอกว่าน้ำมันมะกอกเหมาะสมเป็นพิเศษสำหรับเด็กที่ไม่สบาย และเด็กที่กำลังจะหย่านม ควรบริโภคคงจะไม่ผิดนัก เพราะจะทำให้เด็กได้รับกรดไขมันทีเพียงพอ คล้ายกับการดื่มนมแม่ สำหรับผู้สูงอายุ ขอแนะนำให้บริโภคน้ำมันมะกอกด้วยเช่นกัน เพราะจะทำให้เจริญอาหาร เนื่องจากอาหารมีรสชาติอร่อย นอกจากนี้ยังมีผลดีต่อระบบย่อยอาหาร ทำให้ระบบดูดซึมแร่ธาตุและวิตามินทำงานดีขึ้น น้ำมันมะกอกยังกระตุ้นการเก็บรักษาแร่ธาตุของกระดูก เพื่อป้องกันการสูญเสียแคลเซียมในกระดูกของผู้สูงอายุได้ด้วย

  • ผลต่อระบบการหมุนเวียนโลหิต อาหารที่เราทานเป็นประจำ อาจมีปริมาณของไขมันสัตว์มากจนเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับการหมุนเวียนโลหิต เช่น ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งอาจนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดอุดตันตามอวัยวะต่าง ๆ นอกจากนี้การใช้น้ำมันมะกอกยังเป็นการเพิ่มไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) ซึ่งช่วยในการขนถ่ายโคเลสเตอรอลจากเซลล์อื่น ๆ เข้าสู่ตับ เพื่อให้ตับเผาผลาญต่อไป ที่สำคัญช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือดโคโรนารี (Coronary) ที่เกิดจากการเกาะตัวของโคเลสเตอรอลที่บริเวณเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่มีบาดแผล ส่งผลให้เลือดเดินผ่านไม่สะดวก กลายเป็นเส้นเลือดอุดตันในที่สุด

อัพเดทล่าสุด