แคลเซียมเสริมอย่างไรถึงเหมาะสมตามวัย


846 ผู้ชม


ส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟันคือ แคลเซียม การเสริมแคลเซียมหรือรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง จึงเป็นที่สนใจของผู้บริโภคมากขึ้น         ส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟันคือ แคลเซียม การเสริมแคลเซียมหรือรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง จึงเป็นที่สนใจของผู้บริโภคมากขึ้น 

แคลเซียมสำคัญต่อร่า่งกายยังไร

แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการตลอดชีวิต แคลเซียมนอกจากจะเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟันแล้ว ยังมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ การนำส่งสารสื่อประสาท การควบคุมความดันโลหิต การทำงานของเอนไซม์ รวมทั้งเกี่ยวข้องกับการหลั่งฮอร์โมนในร่างกาย ถ้าร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการจะมีผลทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก กระดูกและฟันจะบางลง การสร้างกระดูกผิดปกติ อันจะนำไปสู่โรคกระดูกอ่อนในเด็ก หรือกระดูกโปร่งบางในผู้ใหญ่ได้เนื่องจากแคลเซียมมีบทบาทที่สำคัญต่อร่างกาย ร่างกายจึงต้องพยายามรักษาสมดุลของแคลเซียมในซีรัม ในภาวะที่ร่างกายได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ ระดับแคลเซียมในเลือดจะลดต่ำลง ส่งผลให้ร่างกายปรับตัวและมีการสลายแคลเซียมออกมาจากกระดูก ขณะเดียวกันก็เพิ่มการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ ถ้าร่างกายยังคงได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ แคลเซียมจะถูกดึงออกมาจากกระดูกทำให้กระดูกบางลง มีโอกาสหักได้ง่าย
 

ความหนาแน่นของมวลกระดูกในแต่ละวัยเป็นอย่างไร


โดยปกติมวลกระดูกจะมีการสร้างและการสลายควบคู่กัน ซึ่งกระบวนการสร้างและสลายมวลกระดูกจะแตกต่างกันตามอายุ กรรมพันธุ์ รูปร่างของแต่ละคน และอาหาร กระบวนการสร้าง
จะเกิดมากในวัยเด็ก ส่วนวัยผู้ใหญ่กระบวนการนี้จะอยู่ในภาวะสมดุล ซึ่งในช่วงนี้จะมีแคลเซียมถูกนำเข้าและนำออกจากกระดูกประมาณวันละ 600-700 มิลลิกรัม ดังนั้นถ้าร่างกายได้รับแคลเซียมน้อย การสลายกระดูกจะมีมากกว่าการสร้าง ทำให้มวลกระดูกลดลง ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะสัมพันธ์กับปริมาณแร่ธาตุที่เข้ามาพอกพูนในกระดูก ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่ความยาวของกระดูกจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนความหนาแน่นของมวลกระดูกจะเพิ่มขึ้นและมีความหนาแน่นสูงสุดเมื่ออายุ 25-30 ปี ความหนาแน่นของมวลกระดูกนี้จะคงอยู่จนอายุ 40-45 ปีหลังจากนั้นมวลกระดูกจะค่อยๆ ลดลง ในผู้ชายสูงอายุมวลกระดูกจะลดลงร้อยละ 3-5 ต่อ 10 ปี ส่วนผู้หญิงในช่วงวัยหมดประจำเดือนมวลกระดูกจะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี และจะคงอัตรานี้เป็นเวลา 5-10 ปี เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง แล้วจึงลดลงสู่อัตราเดียวกันกับผู้ชายสูงอายุ ดังนั้นในผู้หญิงหลังหมดประจำเดือนจึงมีมวลกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่พบภาวะกระดูกโปร่งบางในผู้สูงอายุผู้หญิงมากกว่าในผู้ชาย สำหรับผู้หญิงที่มีมวลกระดูกหนาแน่นกว่าตั้งแต่วัยหนุ่มสาว เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนมวลกระดูกจะมีความหนาแน่นมากกว่าผู้หญิงที่มีมวลกระดูกหนาแน่นน้อยกว่า ผู้หญิงที่มีมวลกระดูกหนาแน่นสูงจึงมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกโปร่งบางน้อยกว่านอกจากนี้กิจกรรมที่ต้องรับน้ำหนักจำเป็นสำหรับกระดูก ถ้าไม่มีกิจกรรมที่ต้องรับน้ำหนัก มวลกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว อย่างเช่นนักบินอวกาศซึ่งอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก โครงกระดูกจะตอบสนองต่อแรงกดดันจากกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้ปริมาณมวลกระดูกสูงสุดเพิ่มขึ้น แต่การออกกำลังกายอย่างหนักในช่วงวัยหนุ่มสาว อาจมีผลให้มวลกระดูกลดลงได้ เนื่องจากไปรบกวนการหลั่งฮอร์โมนในรอบเดือนในหญิงตั้งครรภ์ตลอดการตั้งครรภ์แคลเซียมจะถูกส่งไปยังทารกประมาณ 30 กรัม ร่างกายของแม่จึงมีการชดเชยโดยลำไส้จะดูดซึมแคลเซียมเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า และลดการขับแคลเซียมออกทางไต ดังนั้นผู้หญิงที่มีภาวะโภชนาการของแคลเซียมดี และได้รับแคลเซียมจากอาหารเพียงพอตลอดการตั้งครรภ์จะไม่สูญเสียแคลเซียมออกจากกระดูก แต่ผู้หญิงที่มีภาวะโภชนาการแคลเซียมไม่ดีอาจมีการสูญเสียมวลกระดูกได้ถึงร้อยละ 3 และผู้หญิงที่มีภาวะโภชนาการของแคลเซียมดีจะมีมวลกระดูกเพิ่มขึ้นในไตรมาสหลังของการตั้งครรภ์ เนื่องจากมีฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้น และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ในระหว่างให้นมบุตร แม่ต้องการแคลเซียมสำหรับการผลิตน้ำนม แคลเซียมจากซีรัมของแม่จะถูกขับออกมาในน้ำนม ถ้าแม่ได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ จะมีผลทำให้แคลเซียมในกระดูกลดลง รับประทานแคลเซียมอย่างไรให้เหมาะสม...

 
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=623&sub_id=74&ref_main_id=14

อัพเดทล่าสุด