ประโยชน์ของชาเขียว


1,187 ผู้ชม


ชาเขียว ได้ถูกนำมาเป็นเครื่องดื่มสุขภาพที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สำหรับชาวจีน และชาวญี่ปุ่นมาเป็นเวลานานนับพันปีมาแล้ว          ชาเขียว ได้ถูกนำมาเป็นเครื่องดื่มสุขภาพที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สำหรับชาวจีน และชาวญี่ปุ่นมาเป็นเวลานานนับพันปีมาแล้ว 

ชาได้ถูกนำมาเป็นเครื่องดื่มสุขภาพที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสำหรับชาวจีน และชาวญี่ปุ่นมาเป็นเวลานานนับพันปีมาแล้ว ในระยะไม่กี่ปีมานี้ "กระแสธรรมชาตินิยม" ได้ทวีความรุนแรงขึ้น ... โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพ ประกอบกับมีการเผยแพร่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของชาเขียวตามสื่อต่างๆ อย่างมากมาย ทำให้เกิดกระแสตอบรับการบริโภคชาเขียว จนปัจจุบันมีผลิตภัณท์ที่มีส่วนผสมของชาเขียวนอกเหนือจากในรูปของชาชงออกมาสู่ท้องตลาดจำนวนมาก 

บทความนี้จะทำให้คุณรู้จักเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอย่างชาเขียวให้ดียิ่งขึ้น

  ต้นชา ชามีหลายประเภท ชาที่คนไทย คุ้นเคย เห็นจะเป็นชาดำ (หรือชาจีน) ชาเขียว และชาอูหลง ชาเหล่านี้ต่างก็มาจากต้นชาชนิดเดียวกัน ที่มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า Camellia chinensis ซึ่งมี 2 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน เจริญ ในแถบพื้นที่สูง อากาศหนาวเย็น มีลักษณะใบเล็ก โดยใบมีขนาดกว้าง 1 นิ้ว ยาวประมาณ 3 นิ้ว ส่วนอีกสายพันธุ์เป็นพืชท้องถิ่นในประเทศอินเดีย เจริญได้ดีในภูมิอากาศร้อนปานกลาง มีลักษณะใบที่ใหญ่กว่า ขนาดกว้าง 4 นิ้ว ยาว 10 นิ้วโดยประมาณ ส่วนของต้นชาที่ใช้เป็นเครื่องดื่มคือส่วนใบบริเวณยอด ซึ่งจะให้ชาที่มีคุณภาพดีที่สุด จึงนิยมรักษาระดับของต้นชาให้สูงประมาณ 3 - 5 ฟุตเท่านั้นเพื่อให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว และใช้มือมนุษย์ในการเก็บใบชาเพื่อให้ได้ชาที่มีคุณภาพดี

  กระบวนการผลิตชา ใบชาแต่ละสายพันธุ์สามารถนำมาผลิตเป็น ชาเขียว ชาดำ หรือชาอูหลงก็ได้ ทั้งนี้ชาแต่ละชนิด มีความแตกต่างกันในแง่กระบวนการผลิต โดยชาเขียวเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะนำไปอบไอน้ำทันที เพื่อทำลาย oxidizing enzymes (เช่น polyphenol oxidase และ peroxidase) ป้องกันการเกิดกระบวนการหมัก ก่อนนำไปตากแดดให้แห้ง ทำให้ใบชายังคงสีเขียวอยู่ ส่วนชาดำและชาอูหลงนั้น หลังเก็บเกี่ยวแล้วนำใบชาไปผึ่งลมนาน 5 - 20 ชั่วโมง ทำให้เกิดกระบวนการหมักโดย oxidizing enzymes โดยชาดำจะใช้เวลาหมักนานกว่าชาอูหลง ทำให้ใบชาเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล เมื่อชงน้ำจะมีรสเข้มข้นและมีกลิ่นหอมฉุนกว่าชาเขียว ดังนั้น ชาเขียวจึงจัดเป็น nonfermented tea ส่วนชาอูหลงและชาดำถือเป็น semi-fermented tea และ fermented tea ตามลำดับ

  สารสำคัญในชาเขียว ในใบชาเขียวมีสาร polyphenols ที่มีคุณสมบัติเป็นสารแอนติออกซิแดนซ์ที่ทรงพลังในปริมาณสูง (30 - 35 % ของน้ำหนักใบชาแห้ง) เชื่อว่าสาร polyphenols นี่เองที่เป็นสารสำคัญและดีต่อสุขภาพ สาร polyphenols นี้รวมถึงสาร flavonoids (ซึ่งมักพบได้ทั่วไปในผัก ผลไม้) ส่วนสาร catechins ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ที่สำคัญเป็น flavonoids ชนิดพิเศษที่พบในชา เนื่องจากชาเขียวไม่ผ่านกระบวนการหมัก จึงยังคงรักษาสารสำคัญไว้ได้ในปริมาณสูง พบว่าในชาเขียวมีปริมาณ catechins ประมาณ 10 - 18% ของน้ำหนักใบชาแห้ง ในขณะที่ชาดำมี catechins ประมาณ 3 - 5 % ของน้ำหนักใบชาแห้ง แสดงว่าการหมักมีการทำลายสาร catechins นอกจากนี้นักวิจัยยังสามารถแยกสาร catechins ออกได้เป็น 5 ชนิด คือ 1. gallocatechin (GC) 2. epicatechin (EC) 3. epigallocatechin (EGC) 4. epicatechin gallate (ECG) 5. epigallocatechin gallate (EGCG) โดย EGCG ถือเป็น catechins ที่ทรงพลัง ที่สุด นอกจากนี้ ใบชาเขียวยังประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กรดอะมิโน วิตามินซี วิตามินบี วิตามินอี และฟลูออไรด์ ชาเขียวที่มีคุณภาพดีจะมีปริมาณกรดอะมิโนสูงแต่มี แทนนินต่ำ ในทางตรงข้าม ชาดำและชาอูหลงที่ดีจะมีปริมาณแทนนินสูง ชาเขียวมีรสชาติเฉพาะตัว จะมี รสฝาดน้อย เมื่อนำมาทำเป็นชาเขียว จะทำให้น้ำชามีสีเขียวอ่อนปนน้ำตาล มีกลิ่นหอมเฉพาะ สามารถนำมาปรุงแต่งสี กลิ่นและรสสำหรับผลิตภัณฑ์หลายๆ ชนิดได้อย่างลงตัว เนื่องจากละลายน้ำได้ดี มีกลิ่นหอม และรสชาติดี

  • ชาเขียว - ต้านอนุมูลอิสระ ดังที่กล่าวข้างต้นว่าชาเขียว มีสารแอนติออกซิแดนซ์ ที่ทรงพลังในปริมาณสูง สารแอนติออกซิแดนซ์นี้สามารถจับกับอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ภาวะไขมันในเลือดสูง สารสกัดจากชาเขียวจึงป้องกันอันตรายที่เกิดจากฤทธิ์ของอนุมูลอิสระในร่างกายได้
  • ชาเขียว - ป้องกันโรคมะเร็ง จากการศึกษาทางระบาดวิทยาในปี ค.ศ. 1970 พบว่า ชาวญี่ปุ่นในเมืองชิโอสุกะมีอัตราส่วนของประชากรที่เป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารต่ำกว่า ชาวญี่ปุ่นในเมืองอื่น และชาวเมืองชิโอสุกะมีอาชีพปลูกชาเขียวและมีการบริโภคชาสูงกว่าชาวญี่ปุ่นในเมืองอื่น นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการ ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคชาเขียวกับ ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งที่ลดลง หรือ อีกนัยหนึ่งชาเขียว มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค มะเร็งชนิดต่างๆ ได้จริงหรือมีรายงานการทดลอง โดยให้หนูทดลองบริโภคสารละลาย polyphenols แต่ละชนิดและฉีดสารก่อมะเร็งเอ็น เอ็นเค ผลปรากฏว่า EGCG สามารถลดเปอร์เซนต์การก่อตัวเป็นมะเร็งได้ดีที่สุด นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า catechins มีบทบาทสำคัญ คือ ช่วยลดภาวะเป็นพิษของสารก่อมะเร็ง บางชนิด แทรกแซงกระบวนการเกาะยึดของสารก่อมะเร็งต่อ DNA ของเซลล์ปกติ สรรพคุณที่เป็นสารแอนติออกซิแดนซ์ที่ทรงพลัง เสริมการทำงานกับสารแอนติออกซิแดนซ์และ enzymes อื่นๆ และจำกัดการลุกลามของเซลล์เนื้องอก
  • ชาเขียว - ลดระดับไขมันในเลือด ได้มีการทดลองให้หนูบริโภคอาหารที่มี โคเลสเตอรอลสูง เปรียบเทียบกับหนูกลุ่มที่ได้อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงพร้อมกับได้รับ catechins พบว่า catechins สามารถลดปริมาณการเพิ่มขึ้นของระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดได้ นอกจากนี้ มีรายงานการทดลอง แสดงให้เห็นว่า อาสาสมัคร ชาวญี่ปุ่นที่ดื่มชาเขียววันละ 9 ถ้วย สามารถลด ระดับโคเลสเตอรอลได้เฉลี่ย 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • ชาเขียว - ลดระดับน้ำตาลในเลือด Catechins ในชาเขียวมีประสิทธิภาพในการจำกัดการทำงานของ amylase enzyme ทำให้ไม่สามารถดูดซึมน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่ร่างกาย ผลทำให้น้ำตาลในเลือดไม่สูงขึ้น จากการทดสอบในหนูทดลอง พบว่า catechins ช่วยลดระดับกลูโคส และระดับอินซูลินในเลือดได้ และเมื่อทำการวิจัย ในอาสาสมัครโดยให้ catechins 300 มิลลิกรัม ตามด้วยการบริโภคแป้งข้าว 50 กรัม พบว่าระดับกลูโคสและระดับอินซูลินในเลือดไม่สูงขึ้นดังที่ควรจะเป็น
  • ชาเขียว - ช่วยลดน้ำหนัก จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การดื่มชาเขียววันละ 2 ถ้วย ช่วยลดการเกิดไขมันส่วนเกิน และทำให้รู้สึกอิ่ม ในการทดลอง เมื่อให้หนูบริโภคอาหารปกติและเสริมด้วยสารสกัดชาเขียว พบว่าการสะสมไขมันในหนูลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่เมื่อให้อาหารเสริมชาเขียวต่อไปนานๆปริมาณไขมันกลับไม่ลดลงต่ำจนผิดปกติ
  • ชาเขียว - รักษาสุขภาพช่องปาก การเกิดฟันผุเป็นผลมาจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus mutans ในช่องปากทำปฏิกิริยากับน้ำตาล ได้เป็นสารกลูแคนมีลักษณะเหนียวข้น ไม่ละลายน้ำ เคลือบอยู่ที่ฟัน แล้วเชื้อจุลินทรีย์จะใช้กลูแคนนี้เป็นอาหาร ในระหว่างกระบวนการเมตาโบลิซึม เกิดการสร้างกรดซึ่งไปทำลายสารเคลือบฟันเป็นสาเหตุให้ฟันผุ จากการทดสอบในห้องปฎิบัติการพบว่า สาร catechins สามารถยั้บยั้งกระบวนการผลิตกลูแคนของเชื้อ S. mutans ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนอาจกล่าวได้ว่า การดื่มชาเขียวหลังมื้ออาหารสามารถป้องกันโรคฟันผุได้

ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของชาเขียว นอกจากอาหาร ได้แก่ ขนมปัง เค้ก ขนม ขบเคี้ยว ช็อกโกแลต หมากฝรั่ง ลูกอม ฯลฯ ที่นำชาเขียวมาใช้แต่งกลิ่น สีและรสชาติของอาหารแล้ว เพื่อสนองตอบความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค ผู้ผลิตได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากชาเขียวหลั่งไหลออกมาสู่ท้องตลาด นับตั้งแต่ของใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง สบู่ เกลืออาบน้ำ โลชั่น ครีม น้ำยาดับกลิ่นกาย ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก และเครื่องสำอางต่างๆ นอกจากนี้มีการนำสรรพคุณของชาเขียวในการเป็นสารแอนติออกซิแดนซ์ที่ทรงพลังมาใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารที่มีไขมันและน้ำมัน เพื่อป้องกันไม่ให้เหม็นหืนเร็ว มีการศึกษาวิจัยถึงความเป็นไปได้ในการนำสารสกัดจากชาเขียวมาใช้เป็นสารกันบูดสำหรับอาหารสดไปจนถึง การนำชาเขียวมาผสมกับ เส้นใยผ้า เป็น "antimicrobial fiber" สำหรับเสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น และมีการนำไปใช้เป็น ส่วนผสมในแผ่นใยกรองอากาศสำหรับเครื่อง ปรับอากาศ นับว่าเป็นการเพิ่มช่องทางการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ได้ และ เข้ากับกระแสนิยมทีเดียว...แต่ก็อย่าทานเยอะเกินไปล่ะ เพราะการดื่มชาเขียวในปริมาณสูงอาจมีผลในการลดการดูดซึมวิตามิน B1 และ ธาตุเหล็กได้ นอกจากนี้สารแทนนินที่อยู่ในชาเขียวทำให้เกิดรสขมนั้น อาจทำให้ท้องผูกได้ คาเฟอีนในชาเขียวอาจทำให้เกิดอ าการนอนไม่หลับ เนื่อง อย่างไรก็ตาม ชาเขียวยังมีคาเฟอินน้อยกว่ากาแฟ คือประมาณ 30-60 มก. ต่อชา 6-8 ออนซ์ เมื่อเทียบ กับจำนวน คาเฟอินกว่า 100 มก. ที่พบในกาแฟ 



อัพเดทล่าสุด