หน้าที่ของวิตามิน


862 ผู้ชม


วิตามินเป็นสารอินทรีย์ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ต้องได้รับจากอาหาร ร่างกายเราต้องการวิตามินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น วิตามินซึ่งได้จากอาหารเป็นส่วนใหญ่             วิตามินเป็นสารอินทรีย์ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ต้องได้รับจากอาหาร ร่างกายเราต้องการวิตามินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น วิตามินซึ่งได้จากอาหารเป็นส่วนใหญ่ 

วิตามิน A เป็นส่วนประกอบสำคัญของ cornea และยังมีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธ์ นอกจากนี้ยังป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวและผมแข็งแรง Beta carotene (หรือ pro vitamin A) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นวิตามิน A ในร่างกาย Beta carotene เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถชะลอความแก่ได้

  • อาการเมื่อขาดวิตามิน A จะมีตาแห้ง คันและตาอักเสบ ตามองไม่เห็นในเวลากลางคืน ผมแห้ง ผิวแห้งและหยาบ ติดเชื้อได้ง่าย ถ้าขาดมากฟันและกระดูกไม่แข็งแรง 
  • แหล่งอาหารวิตามิน A พบมากในตับ ไข่แดง นม น้ำมันตับปลา ไก่ Beta carotene พบมากในผักสีเขียว ผลไม้สีเหลืองและเขียวเข็ม การป้องกันการขาดวิตามิน เอ สามารถทำได้โดยการรับประทานผลไม้สีส้มหรือเหลือง ผักใบเขียวโดยรับประทานสดๆ การเก็บรักษาผักและผลไม้ให้เก็บในภาชนะและแช่ตู้เย็น ผักควรใช้วิธีการต้มหรืออบมากกว่าการทอด โรคขาดวิตามิน A

Vitamin B1 (Thiamine) RDA: 1.1 to 1.5 mg Thiamine จะทำงานเป็น coenzyme ช่วยในการเผาผลาญอาหารจำพวกแป้ง หากขาดวิตามินนี้จะมีอาการปลายประสาทอักเสบ มีอาการทางสมอง และทางเดินอาหาร หน้าที่มีส่วนในการทำงานของเส้นประสาท กล้ามเนื้อ หัวใจ และการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต์

  • แหล่งอาหาร พบมากในธัญพืช เช่นข้าว ถั่วชนิดต่างๆ เครื่องในสัตว์ ไข่ หมู
  • สาเหตุของการขาดวิตามิน เกิดจากการรับประทานวิตามินไม่เพียงพอโดยเฉพาะรับประทานข้าวที่ผ่านการขัดสีจะทำให้วิตามินหลุดออกไป เกิดจากภาวะที่ร่างกายเราต้องการวิตามินมากกว่าปกติ เช่น คนท้อง คนที่คอพอกเป็นพิษ ผู้ที่ให้นมบุตร คนที่มีไข้สูง 
  • อาการของผู้ที่ขาดวิตามินเป็นอย่างไร อาการทั่วๆจะมีอาการอ่อนเพลีย หงุดหงิด ความจำไม่ดี นอนไม่หลับ เจ็บหน้าอก เบื่ออาหาร ท้องผูก ผู้ป่วยจะมีอาการชาโดยเฉพาะทปลายเท้าทั้งสองข้างเรียก beriberi บางรายอาจจะมีอาการปวด หรือเป็นตะคริวโดยเฉพาะเวลากลางคืน ปวดกล้ามเนื้อ ลุกไม่ขึ้น อาการทางประสาทมักจะเกิดในคนที่ขาดวิตามินอยู่แล้ว เกิดอาการขาดอย่างเฉียบพลันผู้ป่วยจะมีอาการสับสน พูดจาวกวนไปมาเรียกระยะนี้ว่า Korsakoff's syndrome หากไม่รักษาผู้ป่วยจะมีอาการตากระตุก เห็นภาพซ้อน โคม่าและเสียชีวิตเรียกระยะนี้ว่า Wernicke's encephalopathy Cardiovascular (wet) beriberi (Shoshin beriberi) คนที่ขาดวิตามินบี1 และมีอาการทางหัวใจเด่น ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น ชีพขจรเร็ว ผิวร้อน เหงื่อออก หากเป็นมากจะมีอาการหัวใจวาย เหนื่อง่าย นอนราบไม่ได้ เท้าบวม การวินิจฉัย ตรวจปัสสาวะพบว่าการขับวิตามินออกทางปัสสาวะน้อยกว่า 50 g/day หรือตรวจหา Erythrocyte transketolase activity ก่อนและหลังให้วิตามินบี1 การรักษา ผู้ที่มีปลายประสาทอักเสบไม่มากให้รับประทานวิตามินบี1วันละ 20-30 มิลิกรัมเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์แล้วแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี1 สูง สำหรับผู้ที่มีหัวใจวายให้ฉีดครั้งละ 50-100 มิลิกรัมผู้ป่วยจะตอบสนองเร็ว ยุบบวม สำหรับผู้ที่มีอาการทางประสาท ให้ฉีดครั้งละ 50-100 วันละ 2 ครั้งจนอาการดีขึ้นจึงให้รับประทานวันละ 20-30 มิลิกรัม ผู้ป่วยมักจะขาดวิตามินอื่นด้วยจึงต้องให้วิตามินอื่นเสริม นอกจากนั้นผู้ป่วยจะขาด Magnesium

Vitamin B2 (Riboflavin) RDA: 1.3 to 1.7 mg หน้าที่ มีส่วนร่วมในการเผาผลาญ คาร์โบไฮเดรต์ ไขมัน โปรตีน และในการใช้วิตามินอื่นนอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในการสร้างฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต adrenal gland ผู้ที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามินได้แก่ ผู้ที่กินยาคุมกำเนิด ยาแก้ซึมเศร้า ยาแก้โรคจิต จะมีโอกาสขาดวิตามินตัวนี้ได้ง่าย

  • อาการสำคัญที่พบ ได้คือ ปากนกกระจอก ปวดแสบในปาก
  • แหล่งอาหาร พบมากในเครื่องใน เมล็ดธัญพืช ถั่ว เนย ไข่ เนื้อสัตว์ ปลา ผักใบเขียว
  • สาเหตุการขาดวิตามิน รับประทานวิตามินไม่เพียงพอ เกิดจากการดื่มนมไม่พอ หรือรับประทานเนื้อสัตว์ไม่พอ เกิดจากพวกมีโรคประจำเช่น ท้องร่วงเรื้องรัง โรคตับ โรคพิษสุราเรื้อรัง
  • คนที่ขาดวิตามินจะมีอาการอย่างไร อาการที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ซีด และมีมุมปากเปื่อยที่เรียกว่าปากนกกระจอก (angular stomatitis) ริมฝีปากจะแดง (cheilosis) ปวดแสบในปาก ลิ้น ก้น ลิ้น ก้น ตามองไม่ชัด คันตา มองแสงจ้าไม่ได้ ถ้าขาดมากเป็นต้อกระจก ร่องจมูก เปลือกตาจะมีการอักเสบ และมีขุย การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจปัสสาวะพบว่าสาร riboflavin< 30 ?g /g creatinine ซึ่งจะยืนยันการวินิจฉัย การรักษา ให้ Riboflavin วันละ 10-30 mg/วันจนเริ่มดีขึ้น จึงลดขนาดของยาเหลือวันละ 2-4 mg/วัน จนหาย

Vitamin B3 (Niacin) RDA: 15 to 19 mg Recommended Dietary Allowance (RDA) for Adults Life ชาย หญิง ตั้งครรภ์ ให้นมบุตร stage อายุมากกว่า 19 16 mg/day 14 mg/day - - อื่นๆ - - 18 mg/day 17 mg/day หน้าที่ มีส่วนร่วมในการเผาผลาญ คาร์โบไฮเดรต์ ไขมัน โปรตีน เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร และการผลิตฮอร์โมนทางเพศ รวมทั้งผิวหนัง ช่วยลดไขมัน LDL,Triglyceride และเพิ่ม HDL ป้องกันโรคหลอดเลือดแข็ง

  • สาเหตุของการขาดวิตามิน สาเหตุเนื่องจากอาหารที่รับประทานขาดวิตามิน เช่นแป้งข้าวโพดของชาวอินเดีย หรืออาหารบางประเภทที่มีความไม่สมดุลของสารอาหาร การขาดวิตามินเนื่องจากโรค เช่น ท้องร่วงเรื้อรัง ตับแข็ง โรคติดสุรา 
  • อาการของผู้ที่ขาดวิตามิน อาการโรคจะมีอาการทางผิวหนัง ระบบทางเดินอาหาร และระบบประสาท
  • อาการทางผิวหนัง อาการทางผิวหนังมักจะเป็นทั้งสองข้าง แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ในระยะเฉียบพลัน ผื่นจะมีลักษณะเป็นถุงน้ำ ตกสะเก็ด ผิวลอก มักจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ผื่นที่เกิดมักจะเกิดบริเวณที่สัมผัสแสงแดด ผื่นบริเวณข้อพับ มักจะเป็นเฉียบพลันบริเวณข้อพับ ผิวแดง ผิวลอก มักจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ในรายที่เป็นเรื้อรังผิวจะหนา Chronic hypertrophy เป็นร่อง และผิวจะมีสีเข้มขึ้น ในรายที่เป็นเรื้อรังผิวจะมีสะเก็ดเป็นบริเวณกว้าง ผิวหนังบริเวณปาก หรือช่องคลอด หรือท่อปัสสาวะ ลิ้นและเยื่อบุในปาก จะมีอาการอักเสบ แดง หากอาการเป็นมากจะมีอาการเจ็บคอ น้ำลายไหล ลิ้นบวม หากเป็นมากจะมีแผลใต้ลิ้น และกระพุ้งแก้ม 
  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร อาการแรกๆจะมีอาการแสบร้อนคอ ท้องอืดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน และอาจจะถ่ายอุจาระมีเลือดออก อาการทางระบบประสาท 
  • อาการทางระบบประสาทประกอบไปด้วย เป็นโรคจิตเภท ความจำเลอะเลือน สับสน ซึมเศร้า วุ่นวาย โกหกตอแหละ มีความพิการทางสมองทำให้ผู้ป่วยซึม มือเกร็ง การรักษา ห้ามรับประทานวิตามินี้หากท่านเป็นโรคตับหรือกระเพาะอาหาร หากทานเป็นโรคเบาหวาน เก๊าต์ โรคตับ ต้อหิน ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานวิตามิน แหล่งอาหาร มีมากในอาหารหลายประเภท เช่น เครื่องใน เนื้อสัตว์ ธัญพืช ไข่ นม ปลา พืชใบเขียว ผลข้างเคียง ปริมาณ 50 มิลิกรัมก็อาจจะทำให้เกิดหน้าร้อน คันตามตัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หากรับประทานมากกว่า 2000 มิลิกรัมอาจจะทำให้เกิดตับอักเสบ น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

Vitamin B5 (Pantothenic acid) RDA: None; 4 to 7 mg suggested หน้าที่ มีส่วนสำคัญในการสร้างฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต และภูมิคุ้มกัน รวมทั้งมีส่วนสำคัญในการสลายพลังงานจากอาหาร

  • อาการขาดวิตามิน พบมากในอาหารหลายชนิด จะพบขาดอาหารในผู้ป่วยที่ขาดอาหารอย่างรุนแรง ผู้ที่ขาดจะมีอาการ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย 
  • แหล่งอาหาร พบมากในเนื้อสัตว์ เครื่องใน ผักไข่ และนม

Vitamin B6 (Pyridoxine) RDA: 1.6 to 2 mg อ่านที่นี่ เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำมีรูปแบบทางเคมีสามรูปแบบ คือ pyridoxine, pyridoxal, and pyridoxamine แต่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ pyridoxal phosphate ทำหน้าที่เป็น coenzyme ของหลายกระบวนการเช่น decarboxylation and transamination of amino acids deamination of hydroxyamino acids and cysteine conversion of tryptophan to niacin metabolism of fatty acids

หน้าที่หรือประโยชน์ของวิตามินบี 6

  1. วิตามิน บี จะทำงานร่วมกับ enzyme ในร่างกาย 100 กว่าชนิดในการสันดาปโปรตีน
  2. วิตามินบี6 จะช่วยสร้าง hemoglobin และยังทำให้ hemoglobin นำออกซิเจนได้เพิ่มขึ้น หากขาดวิตามิน บีจะทำให้เป็นโรคโลหิตจางเหมือนคนขาดธาตุเหล็ก
  3. วิตามินบี6 จะมีส่วนในการสร้างภูมิคุ้มกันโดยการสร้างเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น ทำใหร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น
  4. วิตามิน บี6 จะทำให้น้ำตาลในเลือดคงที่ เมื่อร่างกายเราขาดน้ำตาล วิตามินบี6จะช่วยละลายน้ำตาลที่สะสมในตับและสารอาหารอื่นเปลี่ยนเป็นน้ำตาล

Vitamin B12 (Cyanocobalamin) RDA: 2 µg หน้าที่ ทำงานร่วมกับ folic acid ในการสร้างสารพันธุกรรมรวมทั้งการสร้างเม็ดเลือดแดง อาการขาดวิตามิน จะมีอาการอ่อนเพลีย กระสับกระส่าย เจ็บคอและลิ้น ชาตามมือและเท้า วิตามินตัวนี้ถูกสังเคราะห์โดยเชื้อบักเตรีในลำไส้ ดังนั้นผู้ที่กินเจ หรือได้รับยาปฏิชีวนะบ่อย ควรได้รับวิตามินเสริม ผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรดสมองฝ่อ หรือ Alzheimer เมื่อได้รับวิตามิน B12 จะทำให้อาการดีขึ้น

  • แหล่งอาหาร มาจากเนื้อสัตว์ เครื่องใน ไข่ ปลา เนย

Vitamin D (Cholecalciferol) RDA: 400 IU * เป็นวิตามินที่ละลายในไขมันมีอยู่สองฟอมร์คือ ergocalciferol พบในยีสต์ และ cholecalciferol พบในน้ำมันตับปลา ไขแดงและสังเคราะห์ที่ผิวหนัง ส่วนในน้ำนมพบทั้งสองฟอมร์

  • หน้าที่ของวิตามินดี คือเร่งการดูดซึมวิตามินดีในลำไส้ * หน้าที่ ร่วมกับ calcium ในการสร้างกระดูกและฟัน 
  • อาการขาดวิตามิน เมื่อขาดวิตามินทำให้กระดูกและฟันอ่อนแรง นอนไม่หลับ กระดูกหักง่าย ในเด็กถ้าขาดวิตามินากเรียก rickets ส่วนในคนแก่เกิดกระดูกอ่อนแรงเรียก osteomalacia ผิวหนังของเราสามารถสร้างวิตามิน D ได้จากแสงแดด ดังนั้นคนที่ขาดวิตามิน D มักไม่ค่อยเจอแสงเช่น คนป่วย คนที่เกิดในประเทศที่แสงน้อย หรือกินยาปฏิชีวนะบางตัว กินยากันชัก ซึ่งมีผลต่อการดูดซึมวิตามิน D จากลำไส้ เพียงแค่ได้รับแสงแดดวันละ 15 นาทีก็เพียงพอที่จะสร้างวิตามินดี 
  • แหล่งวิตามินคือ แสงแดด นม ไข่ ปลา น้ำมันตับปลา
  • สาเหตุของการขาดวิตามิน 

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=190&sub_id=73&ref_main_id=14

อัพเดทล่าสุด