ประโยชน์ของวิตามิน


897 ผู้ชม


วิตามิน เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ร่างกายต้องการเพื่อช่วยปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย หน้าที่หลัก คือ ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ ..         วิตามิน เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ร่างกายต้องการเพื่อช่วยปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย หน้าที่หลัก คือ ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ .. 

  วิตามินอาจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ วิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat - soluble vitamin) ได้แก่

วิตามินเอ หรือ เรตินอล (Retinol) เป็นส่วนประกอบของรงควัตถุที่ เรียกว่า โรดอปซิน ( Rhodopsin )

  • ประโยชน์ บำรุงสายตาและช่วยสร้างกระดูกและฟัน
  • อาการขาด การเจริญของกระดูกและฟันไม่ดี ตามัวในที่สลัว ผิวหนังแห้งแตก
  • แหล่งอาหาร มะละกอสุก ผักใบเหลือง ผักใบเขียว น้ำมันตับปลา ฟักทอง กล้วยสุก

วิตามินดี (Cholecalciferol) เป็นสารพวก สเตอรอล (Sterol) มีดีหนึ่ง ดีสองและดีสาม

  • ประโยชน์ ช่วยดูดซึมแคลเซียมและฟอสเฟสจากลำไส้เล็กเก็บไว้ในกระดูกและฟัน
  • อาการขาด เป็นโรคกระดูกอ่อน ฟันผุ แหล่งอาหาร เนื้อ ตับ ปลา น้ำมันตับปลา

วิตามินอี หรือ โทโคฟีรอล ( Tocopherol )

  • ประโยชน์ ทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรงไม่เป็นหมัน ป้องการแห้ง และช่วยในขบวน การสร้างพลังงานและการทำลายโมเลกุลของกรดไขมัน
  • อาการขาด เม็ดเลือดแดงเปราะและเป็นโรคโลหิตจาง หญิงมีครรภ์อาจแท้งง่าย
  • แหล่งอาหาร ผักใบเขียว ข้าวสาลี น้ำมันพืชและถั่วต่าง ๆ

วิตามินเค (Phylloquinone) ไม่ค่อยขาดเพราะมีแบคทีเรียในลำไส้สังเคราะห์ได้

  • ประโยชน์ ช่วยสังเคราะห์กลุ่มโปรตีน สำหรับใช้ในการแข็งตัวของเลือด เรียกว่า โปรทรอมบิน (Prothrombin) และช่วยให้เลือดแข็งตัว
  • อาการขาด เมื่อมีบาดแผลเลือดจะแข็งตัวช้า
  • แหล่งอาหาร ผักขม กระหล่ำปลี มะเขือเทศ ตับ เห็ดฟาง

  วิตามินที่ละลายในน้ำ (Water Soluble Vitamin ) ได้แก่ วิตามินบี มีอยู่หลายชนิด รวมเรียกว่า วิตามินบีรวม ( B Complex )

วิตามินบีหนึ่งหรือไทอามีน ( Thiamine ) หรือเรียกว่าสารแอนตินิวริติก ปกติร่างกายต้องการวิตามินบีหนึ่ง วันละ 1.2-1.5 มิลลิกรัม

  • ประโยชน์ มีความสำรัญในกระบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ช่วยบำรุงประสาทและการทำงานของหัวใจ ช่วยในกระบวนการดึงคาร์บอนไดออกไซด์ออก
  • อาการขาด เป็นโรคเหน็บชา (Beri- Beri ) กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย การเจริญเติบโตหยุดชะงัก อ่อนเพลีย ระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติ
  • แหล่งอาหาร ข้าวซ้อมมือ หมู ตับ ไข่ ยีสต์

วิตามินบีสอง หรือไรโบเฟลวิน ( Riboflavin ) ปกติร่างกายต้องการวิตามินบีสองประมาณ วันละ 2-6 มิลลิกรัม

  • ประโยชน์ ช่วยให้การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างปกติ ผิวหนัง ลิ้น ตา แข็งแรง
  • อาการขาด เป็นโรคปากนกกระจอก ระบบย่อยอาหารทำงานไม่ดี ผิวหนังแห้งแตก สิ้นอักเสบ ปวดแสบปวดร้อนที่ตา อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ตามมุมปากจะแตกเปื่อย ผิวหนังอักเสบไม่ค่อยเติบโต
  • แหล่งอาหาร เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ตับ ไข่ นม ยีสต์ และผักใบเขียว

วิตามินบีห้า หรือ ไนอะซีน ( Niacin ) ตามปกติมักจะอยู่ในรูปของกรดนิโคทินิก ( Nicotinic acid ) ปกติร่างกายต้องการประมารวันละ 18 มิลลิกรัม

  • ประโยชน์ เป็นตัวร่วมในปฏิกิริยาสังเคราะห์สาร โดยทั่วไปจะทำงานร่วมกับวิตามินบีสอง ในกระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในการหายใจระดับเซลล์
  • อาการขาด อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ผิวหนังแห้งและแตก อักเสบเมื่อถูกแสงแดด อาหารไม่ย่อย ประสาทหลอน ท้องเสีย อารมณ์แปรปรวน
  • แหล่งอาหาร ข้าวซ้อมมือ เครื่องในสัตว์ ตับ ไข่ นม ถั่วต่าง ๆ และผักใบเขียว

วิตามินบีหกหรือไพริดอกซิน ( Pyridoxine ) ปกติร่างกายต้องการประมาณวันละ 2 มิลลิกรัม

  • ประโยชน์ ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ที่จำเป็นต่อเมตาบอลิซึมของกรดอะมิโนและกรดไขมันหลายชนิด
  • อาการขาด บวม ผมร่วง คันผิวหนัง ประสาทเสื่อม ลมชักกระตุก
  • แหล่งอาหาร ข้าวซ้อมมือ เนื้อสัตว์ ตับ ถั่ว ไข่ ผักใบเขียว นม

วิตามินบีสิบสอง หรือโคบาลามิน ( Cobalamin) โดยทั่วไปมักจะอยู่ในรูปไซยาโนโคบาลามิน ( Cyanocobalamin) ปกติร่างกายต้องการประมาณวันละ 3-5 ไมโครกรัม

  • ประโยชน์ เป็นปัจจัยร่วมในการสร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก เป็นตัวร่วมในการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิค และเมตาบอลิซึมของกรดอะมิโน ช่วยในการทำงานของระบบประสาท
  • อาการขาด ประสาทสันหลังเสื่อมสภาพ ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง
  • แหล่งอาหาร ไข่ เนื้อ ตับ กะปิ หมู ยีสต์

วิตามินซี หรือ กรดแอสคอร์บิค (Ascobic acid) เป็นสารประกอบอนุพันธ์ของน้ำตาลเฮกโซส วิตามินชนิดนี้มักจะสลายได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ปกติผู้ใหญ่ต้องการวิตามินซีประมาณ 70 มิลลิกรัม/วัน ส่วนหญิงมีครรภ์ต้องการวิตามินซีวันละ 100 มิลลิกรัม/วัน แต่ปกติร่างกายต้องการประมาณวันละ 1.2-1.5 มิลลิกรัม

  • ประโยชน์ ช่วยให้ผนังเส้นเลือดฝอยยืดยุ่นได้ดีและสร้างเนื้อเยื่อต่าง ๆ รักษาสุขภาพของเหงือกและฟัน และทำให้หลอดเลือดแข็งแรง
  • อาการขาด เป็นโรคลักปิดลักเปิด ( Scurvy) ปวดเหงือกเลือดออกไม่หยุด ฟันไม่แข็งแรง เส้นเลือดเปราะเป็นหวัดได้ง่าย
  • แหล่งอาหาร พบมากในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะเขือเทศ สับปะรด ฝรั่ง มะละกอ ส้ม การรับประทานอาหารควรรับประทานให้ครบทั้งห้าหมู่ เพื่อสุขภาพที่ดี สารอาหารต่าง ๆที่ร่างกายได้รับควรได้มาจากอาหารที่สด สะอาด ถูกหลักอนามัย เมื่อรับประทานแล้วไม่ก่อให้เกิดโทษแก่ร่างกาย อย่างเช่น วิตามินควรได้จากผัก ผลไม้ และอาหารบางชนิดไม่ใช่ได้มาจากวิตามินอัดเม็ด การรับประทานวิตามินควรได้รับในปริมาณที่เพียงพอไม่น้อยเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆได้ และไม่มากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย

ที่มา   https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=189&sub_id=73&ref_main_id=14

อัพเดทล่าสุด