ถั่วฝักยาว ภัยจากยาฆ่าแมลงที่คุณอาจยังไม่รู้


1,063 ผู้ชม


ถั่วฝักยาว เป็นอาหารที่ทานคู่กับอาหารต่างๆ เช่น ลาบ ส้มตำ และอาหารอื่นๆ แต่คุณทราบไหมค่ะว่าภัยจากถั่วฝักยาวนั้น อาจทำร้ายตัวคุณเองได้ง่ายๆ ถ้าคุณไม่รู้จักที่จะทานให้ถูกวิธี         ถั่วฝักยาว เป็นอาหารที่ทานคู่กับอาหารต่างๆ เช่น ลาบ ส้มตำ และอาหารอื่นๆ แต่คุณทราบไหมค่ะว่าภัยจากถั่วฝักยาวนั้น อาจทำร้ายตัวคุณเองได้ง่ายๆ ถ้าคุณไม่รู้จักที่จะทานให้ถูกวิธี 
 ถั่วฝักยาว ภัยจากยาฆ่าแมลงที่คุณอาจยังไม่รู้

ถั่วฝักยาว ภัยจากยาฆ่าแมลงที่คุณอาจยังไม่รู้

ถั่วฝักยาว ใครที่ชอบทานถั่วฝักยาว วันนี้เรามีความรู้ดีๆ ที่มาช่วยให้คนที่ชอบถั่วฝักยาวได้ระวังภัยจากยาฆ่าแมลงที่มาจากถั่วฝักยาวกัน

ถั่วฝักยาว เป็นผักเครื่องเคียงคู่กับอาหารคาวรสจัด จำพวกพล่า ลาบ ยำ ส้มตำ น้ำตก และขนมจีน เพราะทานแล้วช่วยลดความจัดจ้านของอาหารลงได้
ถั่วฝักยาวยังสามารถนำมาประกอบและปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู อาทิ แกงส้ม แกงคั่ว แกงป่า แกงเผ็ด หรือนำมาผัดใส่เนื้อสัตว์ ผัดพริก หรือใช้เป็นเครื่องจิ้มทานกับน้ำพริกและหลนชนิดต่างๆ หรือใช้แทนมะละกอในส้มตำ ที่เรียกกันว่า ตำถั่ว ก็อร่อยไปอีกแบบ
แต่สิ่งหนึ่งที่เราๆ ท่านๆ ต้องระวัง คือ ยาฆ่าแมลง ที่อาจแอบแฝงมากับถั่วฝักยาวด้วย ยาฆ่าแมลงที่อาจปนเปื้อนมากับผักและผลไม้นั้น มาจากการที่เกษตรกรนำมาใช้กำจัดแมลงและศัตรูพืชต่างๆ
ยาฆ่าแมลงที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์กาโนคลอรีน กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มคาร์บาเมต และกลุ่มไพรีทรัม
ถั่วฝักยาวที่ปลูกในบ้านเราก็อาจมียาฆ่าแมลงเหล่านี้ตกค้างด้วยเช่นกัน เช่น ยาฆ่าแมลงกลุ่ม คาร์บาเมต
หากเข้าสู่ร่างกายจะมีผลต่อระบบประสาท น้ำตาไหล กลั้นปัสสาวะไม่ได้ เป็นตะคริวที่ท้อง ม่านตาหรี่ หากรุนแรงอาจมีอาการชัก ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว และการหายใจล้มเหลว
ดังนั้น ก่อนนำผัก ผลไม้ที่ซื้อมาจากท้องตลาดมาทาน ควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง เพราะจะช่วยทำให้ยาฆ่าแมลงที่อาจตกค้างนั้นลดน้อยลงได้
วันนี้สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างถั่วฝักยาว จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาปริมาณยาฆ่าแมลงกลุ่ม คาร์บาเมต ตกค้าง รวมเป็นจำนวน 10 ชนิด ผลปรากฎว่าพบยาฆ่าแมลงชนิดคาร์โบฟูเรน และ 3-ไฮดรอก-ซีคาร์โบฟูแรนตกค้าง แต่ค่าที่พบยังไม่เกินมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขของไทย ที่อนุญาติให้พบตกค้างได้ที่ 0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
แต่หากล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง ก่อนการนำมาประกอบอาหาร รับรองว่าปลอดภัยแน่นอนค่ะ

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=3209&sub_id=98&ref_main_id=4

อัพเดทล่าสุด