"กะหล่ำปลีม่วง" มีประโยชน์มากมาย


730 ผู้ชม


กะหล่ำปลีม่วง หรือ กะหล่ำปลีแดง คือ ผักกะหล่ำชนิดเดียวกันค่ะ แต่คนมักจะเรียกชื่อต่างกันออกไป จะเรียกแบบไหนก็ไม่ผิดค่ะ วันนี้เราจึงนำความรู้ทางสมุนไพรสรรพคุณกะหล่ำปลีม่วง และประโยชน์ของกะหล่ำปลีม่วงมาฝากกันค่ะ          กะหล่ำปลีม่วง หรือ กะหล่ำปลีแดง คือ ผักกะหล่ำชนิดเดียวกันค่ะ แต่คนมักจะเรียกชื่อต่างกันออกไป จะเรียกแบบไหนก็ไม่ผิดค่ะ วันนี้เราจึงนำความรู้ทางสมุนไพรสรรพคุณกะหล่ำปลีม่วง และประโยชน์ของกะหล่ำปลีม่วงมาฝากกันค่ะ 
         คนส่วนใหญ่มักจะนำกะหล่ำปลีมม่วงนี้มาทำสลัดกินกันเยอะเลยค่ะ นั้นเราอย่ารอช้ามาดูสรรพคุณกะหล่ำปลีม่วงและประโยชน์ของกะหล่ำปลีม่วงที่เรารวบรวมข้อมูลมาให้ดีกว่าค่ะว่าจะมีประโยชน์ต่อร่างกายของเรานั้นแค่ไหนกันเอ่ย 
สรรพคุณ / ประโยชน์ของกะหล่ำปลีม่วง
คุณค่าทางอาหารของกะหล่ำปลีม่วง
         ด้วยเนื้อผักกรุบกรอบของกะหล่ำปลีสีม่วงมีสารอินไทบินที่ออกรสขมกว่ากะหล่ำปลีสีขาวธรรมดา แต่สารอินไทบินัวนี้มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงตับ ถุงน้ำดี ไต และกระเพาะดีขึ้น นอกจากนี้กะหล่ำปลีสีม่วงยังอุดมด้วยธาตุเหล็กจึงช่วยเสริมฮีโมโกลบินให้แก่ร่างกาย ซึ่งฮีโมโกลบินเป็นตัวการสำคัญที่นำพาออกซิเจนไปกับเม็ดเลือดแดงเพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ
         ในกะหล่ำปลีมีสารเอสเมธิลเมโธโอนินสามารถรักษาโรคกะเพาะอาหารและมีสารกอยโตรเจนที่ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคคอพอก นอกจากนั้นยังพบว่า มีสารต้านมะเร็งโดยเฉพาะหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ มีการวิจัยพบกะหล่ำปลีใช้ประคบเต้านมลดปวดแก้นมคัดแม่หลังคลอด
สรรพคุณ / ประโยชน์ของกะหล่ำปลีม่วง (กะหล่ำปลีแดง)
          กะหล่ำปลีแดงเป็นพืชที่มีเยื่อใยอาหารสูงและอุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีน (สาร indols ซึ่งเป็นผลึกที่แยกมาจาก trytophan กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย) คาร์โบไฮเดรต โซเดียม วิตามินซีซึ่งพบค่อนข้างมากกว่า กะหล่ำปลีสีเขียวถึงสองเท่า ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันมีสารซัลเฟอร์ (Sulfer) ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่และต้านสารก่อมะเร็งที่เข้าสู่ร่างกาย 
          การกินกะหล่ำปลีบ่อย ๆ จะช่วยลดโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งในช่องท้อง ลดระดับคลอเรสเตอรอลและช่วยงับประสาททำให้นอนหลับดี น้ำกะหล่ำปลีคั้นสด ๆ ช่วยรักษาโรคกะเพาะ อย่างไรก็ตามกะหล่ำปลีมีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า goitrogen เล็กน้อย ถ้าสารนี้มีมากจะไปขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยด์ทำให้นำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อย ดังนั้นไม่ควรกินกะหล่ำปลีสด ๆ วัยละ 1-2 กก. แต่ถ้าสุกแล้วสาร goitrogen จะหายไป
          กะหล่ำปลีแดงนิยมรับประทานสด เช่น ในสลัดหรือนำมาตกแต่งจานอาหาร การนำมาประกอบอาหารไม่ควรผ่านความร้อนนาน เพราะจะทำให้สูญเสียวิตามินและคุณค่าอาหาร

อัพเดทล่าสุด