เก๋ากี้ ชื่อน่ารักแบบเก๋าๆ สรรพคุณก็เก๋าด้วย เก๋ากี้ที่มานำสกัดเป็นตัวยานั้นมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 2,000 ปีแล้ว เนื่องจากเป็นยาที่มีสรรพคุณนานัปการ
สรรพคุณ
แก้ไอ วิงเวียนศรีษะ ยาบำรุงร่างกายให้แข็งแรง แก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงไต ปอด เลือด ตับ และสายตา เพิ่มความสามารถในการมองเห็น รักษาโรคตาบอดกลางคืน แก้โรคไตพร่อง ช่วยดูแลเรื่องผิวพรรณ ชะลอความชรา ลดน้ำหนัก เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ช่วยต่อต้านมะเร็งและสามารถหยุดการเติบโตของเซลล์มะเร็ง ลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือดผู้เป็นเบาหวาน ลดความดันโลหิต ยับยั้งการเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด ช่วยให้หัวใจแข็งแรง
ช่วยสร้างเม็ดเลือดแข็งแรง ปรับปรุงเซลล์เม็ดเลือดขาว เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยระบบเจริญพันธุ์ ป้องกันอาการคลื่นไส้ของหญิงมีครรภ์ ลดอาการอักเสบและโรคไขข้ออักเสบ เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ กระดูกช่วยให้เหงือกแข็งแรง ปรับปรุงระบบการย่อย ป้องกันโรคภูมิแพ้ ลดความเครียด อาการปวดศีรษะ ช่วยในการนอนหลับ ช่วยในเรื่องความจำ ทำให้รู้สึกสดชื่น
การใช้ เป็นเครื่องปรุงอาหารได้
เช่น ตุ๋นกับเนื้อสัตว์เป็นอาหารบำรุง โดยทั่วไปใช้เก๋ากี้ประมาณครั้งละ6-12 กรัม ต้มรับประทานน้ำ ดื่มแทนน้ำชา ทำเป็นยาเม็ดลูกกลอน ดองเหล้า หรือต้มจนเปื่อยกรองเอากากออก ทำเป็นขนมรับประทานเป็นของว่าง เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งในยุคนี้ มีเทคโนโลยีและนวัตกรรม ใหม่ๆ สามารถเปลี่ยนเก๋ากี้ ให้กลายมาเป็นน้ำผลไม้สกัดเข้มข้น รสชาติอร่อย กลายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่อยู่ในรูปน้ำผลไม้เสริมสร้างและบำรุงสุขภาพ เอามาปั๋นกับนำผลไม้ก็ได้
เก๋ากี้ เขามีอีกหลายชื่อ อาทิ
โกจิ GOJI BERRY
หรือ น้ำผลไม้โกจิ เห็นหลายเว็บขายน้ำโกจิเบอร์รี่ซึ่งขอบอกว่าราคาแพงมากแพงจนน่าตกใจเลย เพราะว่า โกจินั้นแท้ที่จริงก็คือเก๋ากี้ หรือที่เราเห็นเม็ดแดงๆในอาหารตุ่นยาจีนของคนจีน เราก็สามารถทำกินเองที่บ้านได้ โดยเม็ดของเก๋ากี้เองก็มีหลายพันธุ์แต่ขอแนะนำให้รับประทานพันธุ์ที่เป็นสีแดงสารอาหารเยอะกว่า
ฮ่วยกี้
คือ ผลที่สุกแล้วจะมีสีแดงเหมือนเลือด จึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ฮ่วยกี้" เป็นยาบำรุงชั้นดีในอดีต เป็นผลไม้บรรณาการที่ใช้ถวายแด่ฮ่องเต้
เก๋ากี้ สมุนไพรเม็ดแดงๆที่เมื่อบิออกดูด้านในแล้ว จะพบกับเม็ดเล็กๆสีขาวๆ อยู่ภายในเม็ดเก๋ากี้ แต่ก็สามารถรับประทานได้ทั้งเม็ดโดยไม่ส่งผลเสียใดๆต่อสุขภาพ ภาษิตจีนบทหนึ่งกล่าวถึงเก๋ากี้ไว้ว่า "เก๋ากี้โลกอยู่ที่เมืองจีน เก๋ากี้จีนต้องที่หนิงเซี่ย" อธิบายความให้เข้าใจง่ายๆ ว่าเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยเป็นแหล่งกำเนิดและแหล่งผลิตเก๋ากี้ที่สำคัญของจีนและของโลก
นิยามของ เก๋ากี้ | |
สมุนไพร | รู้จักกันยาวนานหลายศตวรรษ ทำให้อายุยืน สตรีชาวจีนนิยมมากทำให้ดูอ่อนเยาว์ สวยงามตลอด |
วิธีรับประทาน | ชงเป็นชา อาหารว่าง อาหารนึ่ง ประกอบอาหารเครื่องเทศ |
รักษาโรค | เวียนศีรษะ การมองเห็น ตาฟาง เสียงในหู ปวดกล้ามเนื้อ |
ป้องกัน | ตับ-ไต จากสารพิษ อาการก่อนประจำเดือน โรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ |
ช่วยเพิ่ม | ภูมิคุ้มกัน พลังทางเพศ การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ความสมดุลน้ำตาลในเลือด |
ต่อต้าน | พลังอ่อนเพลีย ที่เป็นมา 10 ปี ความชราภาพ การดื้ออินซูลิน อนุมูลอิสระ |
โดยเฉพาะตำบลจงหนิงที่เมื่อถึงฤดูเก็บเม็ดเก๋ากี้แล้ว จะเห็นสวนเก๋ากี้ที่เต็มไปด้วยต้นเก๋ากี้สูงท่วมหัวเรียงรายเป็นทิวแถว ขนาดของเก๋ากี้ที่จงหนิงใหญ่และมีความสดมาก เปลือกบางแต่เนื้อแน่นรสหวานชุ่มคอ มีลักษณะแบนแต่ก็ไม่กลมยาวรีแต่ไม่ลีบ ไม่จับตัวเป็นก้อน จึงสามารถเก็บไว้ได้นาน
ในปีค.ศ. 1995 ทางรัฐบาลประกาศให้ตำบลจงหนิงเป็น "บ้านเกิดเก๋ากี้จีน" ดังนั้นเก๋ากี้ที่ผลิตจากพื้นที่แถบนี้ล้วนเป็นเก๋ากี้ที่ได้รับการการันตีเรื่องคุณภาพ ในบริเวณอื่นๆ ของประเทศก็มีการปลูกเช่นกันอย่างมณฑลเหอเป่ย์ มณฑลซานตง มณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง ฯลฯ
เก๋ากี้ที่มานำสกัดเป็นตัวยานั้นมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 2,000 ปีแล้ว เนื่องจากเป็นยาที่มีสรรพคุณนานัปการ ทำให้ชาวจีนตระหนักถึงความจำเป็นในการเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการ จึงมีการคิดค้นวิธีการเพาะชำขึ้นมาราว 600 ปีก่อนหน้านี้
จุดเด่นของการปลูกเก๋ากี้ คือ สามารถปลูกได้ในสภาวะอากาศที่แห้งแล้งเพราะเป็นพืชที่มีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมสูง ไม่กลัวการคุกคามจากหนอนและแมลง ทั้งยังสามารถเติบโตได้ดีในสภาพดินทรายและอากาศแห้งแล้ง นั่นเป็นเหตุผลประการสำคัญที่ทำให้เก๋ากี้ที่ปลูกในตำบลจงเซี่ยนกลายเป็นเก๋ากี้ชนิดที่มีคุณภาพดีที่สุด เพราะสอดคล้องกับปัจจัยการเจริญเติบโตดังกล่าว
ถ้าจะสาธยายถึงสรรพคุณของสมุนไพรเล็กพริกขี้หนูตัวนี้ คงต้องใช้พื้นที่เล็กน้อยเพราะมีประสิทธิภาพในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ดวงตามีความกระจ่างใส ลดความดันโลหิต สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยลดอาการตาฝ้าฟางและกระหายน้ำในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชะลอความแก่ บรรเทาความเหนื่อยล้ากำจัดพิษ บำรุงระบบสืบพันธุ์ ป้องกันเนื้องอก ฯลฯ
สำหรับโรคที่พบเห็นบ่อยอย่างความดันโลหิตสูง สามารถต้มเก๋ากี้ 15 กรัมกับน้ำ ดื่มแทนน้ำชา หรือผู้ที่เป็นโรคสายตาฝ้าฟางในตอนกลางคืน ความสามารถในการมองเสื่อม สามารถนำเก๋ากี้ 6 กรัม ไปต้มกับดอกเก๊กฮวยขาวในปริมาณเท่ากัน ดื่มแทนน้ำชา จะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี หรือสามารถกินเก๋ากี้สด 20 - 30 เม็ดจะช่วยบรรเทาอาการสายตาฝ้าฟางและชะลอความแก่ ทั้งนี้จะต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลาระยะหนึ่ง จึงเกิดประสิทธิภาพ
ด้วยสรรพคุณในด้านการเป็นตัวยาบำรุงร่างกาย จึงมีการนำเก๋ากี้ไปแช่น้ำหรือแช่เหล้า แล้วปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน จากนั้นก็นำมาดื่มเพื่อบำรุงอวัยวะภายใน แต่ใช่ว่าเก๋ากี้จะเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย เพราะตัวสมุนไพรมีฤทธิ์ร้อน ดังนั้นผู้ที่ป่วยเป็นไข้ตัวร้อน ปรากฏมีอาการอักเสบ หรือท้องเดินจึงไม่เหมาะที่จะรับประทาน เพราะอาจทวีความรุนแรงให้กับโรคได้ เนื่องจากเป็นตัวยาที่กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวของเส้นประสาทจึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีความต้องการทางเพศสูงเช่นกัน ในทางกลับกัน เก๋ากี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอและมีภูมิคุ้มกันต่ำ
เป็นที่ทราบกันดีว่า อาหารเสริมนานาชนิดไม่เหมาะที่จะรับประทานในปริมาณมากเกินความจำเป็น ในฐานะที่เป็นสมุนไพรบำรุงร่างกายชนิดหนึ่ง จึงมีประโยชน์สูงสุดต่อเมื่อรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ โดยผู้ใหญ่สามารถรับประทานวันละ 20 กรัม แต่หากต้องการนำไปใช้เป็นตัวยารักษาโรค สามารถเพิ่มปริมาณเป็น 30 กรัมต่อวัน โชคดีที่ผลการวิจัยทางการแพทย์ล่าสุดชี้ให้เห็นว่า เก๋ากี้เป็นสมุนไพรที่ปลอดสารพิษ สามารถใช้ประกอบอาหารหรือสกัดเป็นตัวยาและใช้เป็นเวลานานโดยไม่เกิดผลข้างเคียงใดๆ
หลายคนอาจสงสัยว่า สรรพคุณที่กล่าวมาข้างต้นดูเหมือนจะเกินจริง แต่ชาวจีนโดยส่วนใหญ่ต่างรู้ถึงคุณประโยชน์ของเก๋ากี้และนำไปสกัดร่วมกับตัวยาชนิดอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรค เก๋ากี้จึงเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่อยู่คู่สังคมจีนมานานหลายพันปี
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1656&sub_id=98&ref_main_id=4