หมามุ่ย! เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุนการพัฒนาสมุนไพรไทย เป็นทางเลือกให้ประชาชนในการรักษาพยาบาล
หมามุ่ย! เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เมล็ดของหมามุ่ย มีคุณสมบัติหลายอย่าง คือเพิ่มจำนวนสเปิร์มและปริมาณน้ำเชื้อ แก้ปัญหาสภาวะการมีบุตรยาก ภ�เมล็ดหมามุ่ยมาสกัดเป็นยา บำรุงสมรรถภาพทางเพศภเพื่อเพิ่มความต้องการทางเพศ อีกทั้งช่วยในการคลายเครียดได้ดีด้วยภ
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขภหนุนวิจัยสมุนไพรหมามุ่ย ผลักดันเป็นยารักษาโรคพาร์กินสันและภาวะมีบุตรยาก ขึ้นทะเบียนยาถูกต้อง หวังโกอินเตอร์ ต่อยอดทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมยาไทย
ขณะนี้มีสมุนไพรถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้วเกือบ 100 รายการ มูลค่าการใช้ในสถานบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขปีละกว่า 300 ล้านบาท และมีนโยบายพัฒนายาสมุนไพรไทยที่มีนับหมื่นชนิด เพื่อนำมาใช้เป็นยารักษาโรคหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร บำรุงร่างกาย
ยังมีการทดลองในสัตว์ พบว่า ทำให้สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น เพิ่มความถี่ในการผสมพันธุ์ได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าในเมล็ดหมามุ่ย มีองค์ประกอบทางเคมี และฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ว่า มีสารแอลโดปา ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์โดพามีน เป็นสารสื่อประสาท ซึ่งใช้ในการรักษาโรคพาร์กินสัน
การทำกาแฟหมามุ่ย
รมว.สธ.ยังกล่าวว่าในตำราโบราณ มีหมอพื้นบ้านไทยใช้เมล็ดหมามุ่ย รักษาภาวะมีบุตรยากใน 2 ลักษณะคือ นำมาคั่ว บดคล้ายๆชาชงกินวันละ 5 กรัมหรือประมาณ 25 เมล็ด วันละ 1 ครั้งติดต่อกันนาน 3 เดือน และนึ่งเมล็ดหมามุ่ย 5 เมล็ดพร้อมกับข้าวเหนียวกินวันละ 3 ครั้ง เห็นผลภายใน 7 วัน
จะใช้อะไรต้องระวัง ภเรียนรู้ให้ถูกต้องก่อน เขาใช้เมล็ดหมามุ่ย นำมาคั่ว บดคล้ายๆชาชง กินวันละ 5 กรัม บางคนแค่ได้ยินหมามุ่ย ก็ร้องอ๋อ เพราะรู้สรรพคุณกันตั้งแต่เด็กแล้ว หากเข้าใจผิดคิดว่านำมาทา อู้ย ย ย ย ........
ชื่อที่เรียก | หมามุ่ย |
ลักษณะ | ใบมีรูปร่างคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ปนขนมเปียกปูน โคนใบอาจมีทั้งมน กลม หรือหน้าตัดก็ได้ ตัวใบบางและมีขนทั้งสองด้าน ดอกสีม่วงดำ ออกเป็นช่อตามง่ามใบ มีเมล็ด 4-7 เมล็ด ฝักจะมีขนอ่อนคลุม ฝักแก่นี้เองจะกลายเป็นพืชที่มีพิษ เมื่อผิวหนังสัมผัสกับขนพิษ ปลายยอดของขนจะแตกออก และฉีดสารพิษออกมา ทำให้ผิวหนังบวมแดง คันและปวดแสบปวดร้อน |
ประโยชน์ | ใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินภควรปล่อยให้ขึ้นคลุมพื้นที่ลาดเทซึ่งปล่อยทิ้งไม่ใช้ประโยชน์ จะช่วยยึดดินไม่ให้พังทลายในฤดูฝน ถ้าเป็นหมามุ่ยพันธุ์พื้นเมือง ไม่ควรเข้าไปใกล้ภขณะติดฝักแก่ในฤดูแล้งภเพราะขนจะปลิวมาแตะผิวหนังทำให้ผื่นคันได้ส่วนพันธุ์ต่างประเทศใช้ปลูกคลุมดินเหมือนพืชคลุมดินทั่ว ๆ ไปภ |
ส่วนที่เป็นพิษ | ขนคันจากฝัก |
อาการเมื่อได้รับพิษ | เกิดอาการระคายเคืองมาก คัน ปวดแสบปวดร้อน บวมแดง |
การรักษา | ภรีบกำจัดขนพิษออกจากบริเวณที่สัมผัส โดยใช้เทียนไขลนไฟให้อ่อนตัว หรือข้าวเหนียวคลึงจนเนื้อข้าวเหนียวกลืนกัน แล้วนำมาคลึงบริเวณที่สัมผัสขนหลายๆ ครั้งจนหมด หากยังมีอาการแดงร้อนหรือคันอยู่ให้ทาคาลาไมน์โลชั่น หรือครีมสเตียรอยด์ พร้อมกับรับประทานยาแก้แพ้ เช่น คลอเฟนิรามีน 4 มก. ครั้งละ 1 เม็ดทุก 6 ชม. จนเป็นปกติภ แนะนำว่าใครที่ถูกพิษหมามุ่ยภให้เอารากหมามุ่ย มาตำแล้วนำไปทาบริเวณที่ถูกพิษหมามุ่ยจะหายคันทันที (เกลือจิ้มเกลือ) |
ฤดูกาลใช้ประโยชน์ | ตลอดทั้งปี |
ศักยภาพการใช้งาน | อนุรักษ์ดิน |
ชื่อสามัญ | Cowhage |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Mucuna pruriens DC. |
ชื่อวงศ์ | Fabaceae |
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1640&sub_id=94&ref_main_id=4