แครอท เกิดในแถบเอเชียตะวันออก และเอเชียกลาง ออกดอกราวเดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม ดอกแตกเป็นชั้นคล้ายร่ม
ชั้นนอกสีชมพู ตรงกลางสีม่วงแดงแครอท เกิดในแถบเอเชียตะวันออก และเอเชียกลาง ออกดอกราว
เดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม ดอกแตกเป็นชั้นคล้ายร่ม ชั้นนอกสีชมพู ตรงกลางสีม่วงแดง แครอทสมัยโบราณมีเนื้อแข็ง เสี้ยนเยอะเหมือนไม้ สีของหัวแครอทมีตั้งแต่สีเหลืองไปจนถึงสีม่วง แต่แครอทสีส้มที่รับประทานกันทั่วไป เป็นแครอทที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์เมื่อศตวรรษที่ 18 นี้เอง ในทางยาพบว่าเป็นสมุนไพรพื้นบ้านของชาวอเมริกัน ใช้เป็นยาครอบจักรวาล รักษาได้หลายโรค เช่น แก้โรคประสาท โรคผิวหนัง และหืดหอบ
ในปี พ.ศ. 2510 สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา ได้พบว่าวิตามินเอที่ได้จากสัตว์ สามารถระงับมะเร็งในทางเดินหายใจ ในหนูทดลองได้ แต่ยังไม่มีใครสนใจว่าวิตามินเอที่ได้จากพืช หรือสัตว์จะให้ผลดีกว่ากัน ซึ่งข้อมูลขณะนั้นได้บ่งชี้อย่างชัดเจนว่า คนได้รับวิตามินเอจากผักสีเขียว และพืชสีส้มเป็นหลัก วิตามินเอที่ได้รับจากพืชคือ สารเบต้า แคโรทีน ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ เมื่อเข้าไปอยู่ในร่างกายมนุษย์
ปี พ.ศ. 2524 ริชาร์ด ปีโต และคณะ ได้เขียนบทความลงในนิตยสาร Nature ว่า "จริงๆ แล้ว วิตามินเอไม่ได้ส่งผลให้เกิดการยับยั้งมะเร็ง
แต่เป็นสารเบต้า แคโรทีน" จากการทดลองของ ดร. ริชาร์ด เชเคลล์ นักระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยเท็กซัส ก็สนับสนุนความน่าเชื่อถือของข้อมูลนี้ มีการทดลองอีกมากมายเกิดขึ้น
แต่ข้อสรุปรวมจากการศึกษาทั้งหมดก็คือ "อาหารที่มีเบต้า แคโรทีน สามารถลดอุบัติการณ์โรคมะเร็งในปอดได้ แม้แต่ในผู้ที่สูบบุหรี่หลายปีแล้วก็ตาม" นอกจากนี้ยังพบว่า คนที่ทานพืชผักที่มีแคโรทีนน้อยที่สุด จะเสี่ยงต่อมะเร็งในปอด เป็นเจ็ดเท่าของคนที่ทานมากที่สุดในกลุ่ม เบต้า แคโรทีนสามารถป้องกัน และยับยั้งมะเร็งในระยะต่างๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากให้กินเบต้า แคโรทีนขนาดสูง พร้อมกับฉายรังสี
ท่านที่เคยเขี่ยแครอทชิ้นน้อยทิ้งจากจานสเต็ค คงทราบแล้วว่า แครอทมีคุณประโยชน์มหาศาล นี่ยังไม่รวมถึงประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ ที่จะช่วยให้ท่านดูสดชื่น บำรุงผิวพรรณ และช่วยในการขับถ่าย พืชผักทุกชนิดมีคุณสมบัติดีต่อร่างกายเหมือนกันหมด หากท่านอยากมีสุขภาพดี ก็ไม่ควรเขี่ยผักเหล่านี้ทิ้งแม้สักชิ้นเดียว
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1463&sub_id=17&ref_main_id=4
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1463&sub_id=17&ref_main_id=4