ข้าวกล้องงอก สารอาหารสูง ป้องกันโรค คุมน้ำหนัก น่าสนใจเมื่อทีมนักวิจัยไทยค้นพบว่า "ข้าวกล้องงอก" ซึ่งมีกรดแกมมา แอมิโนบิวทิริก" (g-Aminobutyric acid) หรือ "จีเอบีเอ"
ซึ่งเป็นกรดแอมิโนชนิดหนึ่ง ช่วยในการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทหลายโรค ภาครัฐและเอกชนจึงร่วมมือกันเร่งผลักดันให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ "GABA-Rice"
และสินค้าแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไทย และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับต่างประเทศด้วย พัช รี ตั้งตระกูล นักวิจัยจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) บอกว่า คณะวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ศึกษาเรื่องการใช้ประโยชน์จาก "คัพภะข้าว" และ "ข้าวกล้องงอก" เป็นอาหารสุขภาพเพื่อเพิ่มมูลค่า พร้อมทั้งศึกษาปัจจัยการผลิต สายพันธุ์ข้าว และสภาวะการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม พัฒนากรรมวิธีการผลิตข้าวกล้องงอกที่มี "จีเอบีเอ" จากข้าวสายพันธุ์ต่างๆ และนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ
ผลการวิจัยพบว่า ในคัพภะข้าวเจ้ามี "จีเอบีเอ" สูงสุดในข้าวขาวดอกมะลิ 105 ส่วนข้าวเหนียวพบ "จีเอบีเอ" สูงสุดในพันธุ์ อาร์ 258 ข้าวกล้องงอกจากพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จะให้ปริมาณ "จีเอบีเอ" สูงกว่าข้าวพันธุ์อื่น ทั้งนี้ การบริโภคข้าวกล้องให้ได้ประโยชน์สูงสุด จะต้องนำข้าวกล้องมาแช่น้ำทำให้งอกเสียก่อน ซึ่งข้าวกล้องงอกนี้จะมีสารอาหารเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ "จีเอบีเอ" ที่เพิ่มขึ้น ซึ่ง "จีเอบีเอ" เป็นกรดแอมิโนชนิดหนึ่ง ที่ผลิตจากกระบวนการ Decarboxylation ของกรดกลูตามิก กรดชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการเป็น Neurotransmitter ในระบบประสาทส่วนกลาง มีการใช้กรดนี้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทหลายโรค เช่น โรควิตกกังวล นอนไม่หลับ โรคลมชัก และยังมีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิตด้วย นัก วิจัยคนเดิม บอกอีกว่า การนำข้าวกล้องมาแช่น้ำให้งอก นอกจากจะได้ประโยชน์จากปริมาณ "จีเอบีเอ" ที่สูงขึ้นแล้ว ยังทำให้ข้าวกล้องมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่มรับประทานได้ง่าย สำหรับข้าวกล้องที่สามารถนำมาแช่น้ำให้เกิดการงอกได้นั้น จะต้องเป็นข้าวกล้องที่ผ่านการกะเทาะเปลือกมาไม่นานเกิน 2 สัปดาห์ ซึ่งจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คณะวิจัยสามารถผลิตข้าวกล้องงอกที่ผ่านกรรมวิธีการเพิ่ม "จีเอบีเอ" ให้สูงขึ้น พร้อมนำมาหุงต้มเพื่อรับประทานได้ทันที และนอกจากนั้นยังสามารถนำมาพัฒนาเป็นแป้งข้าวกล้องงอกและผลิตภัณฑ์อาหาร สุขภาพได้หลายชนิด เช่น อาหารว่าง ขนมขบเคี้ยว ซุป เครื่องดื่ม ฯลฯ ทั้ง นี้ คณะวิจัยกำลังดำเนินการขยายผลงานวิจัยสู่ระดับต้นแบบการผลิตข้าวกล้องงอก โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และกลุ่มธุรกิจข้าวส่งออก เพื่อร่วมพัฒนาสายการผลิตต้นแบบสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์ "GABA-Rice" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไทย ยกระดับอุตสาหกรรมข้าวของประเทศไทย และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับต่างประเทศ โดยโรงงานและเครื่องจักรต้นแบบจะอยู่ที่สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาหาร มก. และได้วางแผนการผลิตข้าวงอกและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องเพื่อการค้าในเร็วๆ นี้ |
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=942&sub_id=15&ref_main_id=4