วิตามิน


983 ผู้ชม


เป็นสารอาหารที่ร่างกายของเราต้องการในปริมาณน้อย แต่ก็ไม่สามารถขาดได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบร่างกายของเราผิดปกติ หรือเกิดโรคต่างๆได้         เป็นสารอาหารที่ร่างกายของเราต้องการในปริมาณน้อย แต่ก็ไม่สามารถขาดได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบร่างกายของเราผิดปกติ หรือเกิดโรคต่างๆได้ 
สารสกัดจากผลส้มแขก (HCA)ภ
มีสารไฮดรอกซี่ ซิตริค แอซิด หรือ HCA ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแป้งและน้ำตาลเป็นไขมัน ทำให้ร่างกายสามารถใช้พลังงานจากแป้งและน้ำตาลได้อย่างเต็มที่ โดยไม่เกิดไขมันสะสม นอกจากนี้ยังช่วยลดความอยากอาหาร และช่วยเผาผลาญพลังงานอีกด้วยภ
สารสกัดจากชาเขียว (Green Tea Extract)ภ
จากการศึกษาของ University of Geneva ของ Switzerland พบว่าสารแคทีชีน (Catechin) ที่มีอยู่ในชาเขียวมีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงาน และเผาผลาญไขมันให้มากขึ้นเพียงได้รับวันละ 50 มิลลิกรัมเท่านั้น โดย catechin จะไปเพิ่มขบวนการ thermogenesis ซึ่งเป็นขบวนการที่ร่างกายใช้ในการเผาผลาญพลังงาน และเร่งการสลายไขมัน จึงทำให้ไขมันส่วนเกินลดลง นอกจากนี้สารสกัดจากชาเขียวยังมีฤทธิ์ในการป้องกันมะเร็ง ป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันหลอดเลือดอุดตัน ลดคลอเรสเตอรอล และช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวสวยอีกด้วยภ
สารสกัดจากพริก (Chilli Extract)ภ
สารแคปไซซินจากพริกช่วยให้ระบบการย่อยอาหาร และการเผาผลาญไขมันดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดความอยากอาหาร และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วยภ
แมกนีเซียม อะมิโน แอซิด คีเลต (Magnesium Amino Acid Chelated)ภ
ช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อ พร้อมเร่งเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงาน ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งในปฏิกิริยาเอนไซม์หลายปฏิกิริยา จำเป็นสำหรับการส่งสัญญาณทางประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ จำเป็นสำหรับการเติบโตของกระดูก สำคัญในการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ของวิตามิน บี ซี จำเป็นสำหรับการเผาผลาญแคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียมและโปตัสเซียมอาจป้องกันโรคทางหลอดเลือด หัวใจ โดยจะไปลดความดันเลือดลง และป้องกันการเกาะของโคเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดง ช่วยในการควบคุมสมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย อาจทำหน้าที่เป็นตัวยาสงบประสาทตามธรรมชาติ ช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย พบแมกนีเซียมใน เนื้อสัตว์ ผลไม้เปลือกแข็ง ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวไม่สี ผักใบเขียวภ
โครเมี่ยม อะมิโน แอซิด คีเลต (Chromium Amino Acid Chelated)ภ
ช่วยลดความอยากอาหาร ป้องกันไม่ให้น้ำตาลเปลี่ยนเป็นไขมัน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดระดับไขมัน LDL ลดการสร้างไขมันใหม่ และสลายไขมันเก่าให้กลายเป็นกล้ามเนื้อ ทำให้รูปร่างกระชับ ไร้ไขมันส่วนเกิน Chromium AAC มีโมเลกุลขนาดเล็กมาก สามารถดูดซึมผ่านลำไส้ได้โดยทันที โดยไม่ต้องผ่านการย่อย ทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการดูดซึมของแร่ธาตุโครเมี่ยมให้สูงยิ่งขึ้นกว่าโครเมี่ยมชนิดอื่นๆ ปราศจากผลข้างเคียง ถึงแม้ว่าจะรับประทานมาเป็นเวลานาน พบโครเมี่ยมในบรูเออร์ยีสต์ ข้าวต่างๆ เนยแข็ง และตับภ
แมงกานีส อะมิโน แอซิด คีเลต (Manganese Amino Acid Chelated)ภ
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยส่งเสริมการทำงานของโครเมี่ยม ทำให้ร่างกายเพิ่มอัตราการเผาผลาญแป้งและไขมันให้เป็นพลังงานมากขึ้น และกระตุ้นให้ร่างกายใช้พลังงานอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายกระฉับกระเฉง สามารถออกกำลังกายหรือทำงานได้นานขึ้นกว่าเดิมโดยไม่อ่อนเพลีย แหล่งอาหารที่ดีที่สุดของแมงกานิส คือ ข้าวต่างๆ ผลไม้เปลือกแข็ง และผลไม้ภ
ซีลีเนียม อะมิโน แอซิด คอมเพล็กซ์ (Selenium Amino Acid Chelated)ภ
ป้องกันการเสื่อมของตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ดีขึ้น ทำให้ร่างกายใช้น้ำตาลได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญของร่างกาย นอกจากนี้ซีลีเนียมยังเป็นสารต้านออกซิแดนส์ตามธรรมชาติ ซึ่งทำงานใกล้ชิดกับวิตามิน อี เพื่อรักษาเนื้อเยื่อต่างๆให้มีความยืดหยุ่นและช่วยให้หัวใจทำหน้าที่ได้ดีขึ้น ช่วยในการผลิตสารprostaglandin เพื่อป้องกันไม่ให้ความดันเลือดสูงและเป็นโรคหัวใจ ซีลีเนียมยังสำคัญในการช่วยไม่ให้เป็นหมัน โดยช่วยให้เชื้ออสุจิมีความแข็งแรง ช่วยเพิ่มความต้านทานต่อการเป็นโรค อาจป้องกันการแก่ก่อนอายุโดยไปยับยั้งการสร้างอนุมูลอิสระและยังช่วยป้องกันร่างกายจากรังสี แหล่งอาหารที่ดีที่สุดของซีลีเนียม คือ อาหารทะเล ตับ และข้าวภ
ซิงค์ อะมิโน แอซิด คีเลต (Zinc Amino Acid Chelated)ภ
ซิงค์ (สังกะสี) ช่วยย่อย เผาผลาญ และสลายไขมันเก่า และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ Growth Hormone ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการสลายไขมันสะสมตามส่วนต่างๆของร่างกายอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะเวลาหลับ นอกจากนี้ ซิงค์ยังช่วยในการสร้าง RNA และ DNA และสังเคราะห์โปรตีน ซิงค์มีความจำเป็นสำหรับการหายใจของเนื้อเยื่อ ซิงค์เป็นส่วนหนึ่งของอินซูลิน ซึ่งเกี่ยวข้องในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรทและให้พลังงาน ซิงค์จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต และการเจริญของระบบสืบพันธุ์และช่วยให้ต่อมลูกหมากทำหน้าที่ได้ถูกต้อง ป้องกันไม่ให้เป็นหมัน ซิงค์ทำให้การรักษาบาดแผล และแผลไฟไหม้หายเร็วขึ้น ซิงค์ช่วยให้การดูดซึมของวิตามิน บี ดีขึ้น และนำ วิตามิน เอ ไปใช้ประโยชน์ ซิงค์จำเป็นสำหรับสุขภาพผิวหนัง ระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ และระบบประสาทกลาง ซิงค์สำคัญในการสร้างกระดูกตามปกติ และช่วยในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ซิงค์ช่วยในการขจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือดทางปอด ซิงค์ช่วยแก้ปัญหาเรื่องสิว มีรายงานการวิจัยพบว่า ในผู้ที่มีความผิดปกติของผิวหนังต่อไปนี้ มีระดับของแร่ธาตุสังกะสีในผิวหนังต่ำกว่าปกติ เช่น ผู้ที่เป็นสิว ผู้ที่มีอาการผิวหนังพุพอง ผู้ป่วยโรคงูสวัสดิ์ และ ผู้ป่วยโรคเรื้อนกวาง (สะเก็ดเงินสะเก็ดทอง) มีการใช้แร่ธาตุสังกะสีเป็นแร่ธาตุเสริม เพื่อกระตุ้นภูมิต้านทาน รักษา ป้องกันสิว และป้องกันการเกิดแผลเป็นจากสิว ทั้งนี้การเสริมแร่ธาตุสังกะสีจะช่วยรักษาสิวได้หรือไม่ขึ้นกับว่าร่างกายมีภาวะขาดแร่ธาตุสังกะสีหรือไม่ มีรายงานการใช้แร่ธาตุสังกะสีในการรักษาสิวบางกรณี โดยให้แร่ธาตุสังกะสี ปริมาณ 30 มก. ต่อวัน เป็นระยะเวลา 2-3 เดือน พบกว่าผลการรักษาเทียบเท่ากับการใช้ยาปฎิชีวนะเลยทีเดียว หากมีการใช้แร่ธาตุสังกะสีในระยะยาวเพื่อการรักษาสิว ร่างกายจะต้องได้รับแร่ธาตุสำคัญอีกสองชนิดคือ ทองแดง (Copper) และแมงกานีส (Manganese) ด้วย เนื่องจากแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้จะแย่งจับตัวรับ (Receptor) ตำแหน่งเดียวกันของเซลล์ การได้รับเพียงแต่ธาตุสังกะสี เป็นระยะเวลานาน จะทำให้ร่างกายขาดธาตุทองแดง และแมงกานีสได้ ซึ่งจะนำไปสู่อาการผิดปกติอื่นๆ ของร่างกาย ผลจากการใช้แร่ธาตุสังกะสี เป็นแร่ธาตุเสริมในการรักษาสิว อาจจะใช้ระยะเวลาถึง 14 สัปดาห์ในผู้ที่มีปัญหาบางราย แต่บางรายเพียง 3 สัปดาห์ก็เห็นผล และบางกรณีสิวดูเหมือนจะแย่ลงในสัปดาห์แรก ๆ ของการรักษาด้วยแร่ธาตุเสริมแล้วจึงดีขึ้นหลังจากนั้น แหล่งอาหารที่ดีที่สุดของสังกะสี คือ ตับ ไข่ ผลไม้เปลือกแข็ง และข้าวภ
คอปเปอร์ อะมิโน แอซิด คีเลต (Copper Amino Acid Chelated)ภ
+ Zinc = ช่วยเผาผลาญ นอกจากนี้คอปเปอร์ (ทองแดง) ยังจำเป็นเพื่อให้เหล็กถูกดูดซึม และนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างฮีโมโกลบิน คอปเปอร์ช่วยในการผลิตกรดนิวคลีอิค คือ อาร์ เอ็น เอ คอปเปอร์จำเป็นสำหรับการเผาผลาญโปรตีน และการสร้างสีของผิวหนัง และสีผม เมื่อคอปเปอร์ร่วมกับวิตามินซีจะช่วยในการสร้างอีลาสติน คอปเปอร์มีอยู่ในระบบเอ็นไซม์ต่างๆ สำคัญในระบบโครงสร้าง เนื้อเยื่อเกี่ยวพันธ์ และการผลิตฟอสโฟไลพิด แหล่งอาหารที่ดีที่สุดของทองแดง คือ หอยนางรม ผลไม้เปลือกแข็ง เมล็ดพืช และถั่วภ
วิตามินบี 1 (Vitamin B1)ภ
วิตามิน บี1 มีความสำคัญต่อเมตาบอลิซึ่มของพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมตาบอลิซึ่มของคาร์โบไฮเดรต นำเอาพลังงานออกมาจากคาร์โบไฮเดรต ซึ่งมีความจำเป็นต่อสภาพของกล้ามเนื้อ โดยทำหน้าที่เป็น co-enzyme ใน oxidative decarboxylation ในกระบวนการสลายน้ำตาลกลูโคส [glycolysis], Krebs cycle และ Pentose phosphate pathway ดังนั้น ยิ่งใช้พลังงานมาก ก็ยิ่งมีความต้องการวิตามิน บี 1 มากขึ้น ค่า RDA ของวิตามิน บี 1 ประมาณ 0.5 มก./1000 กิโลแคลลอรี่ วิตามินบี 1 มีความจำเป็นต่อสภาพของกล้ามเนื้อ ช่วยรักษาเนื้อเยื่อประสาทเพื่อการเติบโตเป็นไปตามปกติ พบวิตามินบี 1 มากในเนื้อหมู เนื้อแกะ ตับ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว รำข้าว ข้าวซ้อมมือ ธัญพืชภ
วิตามินบี 2 (Vitamin B2)ภ
ช่วยให้ร่างกายขับพลังงานที่เก็บไว้ออกมา และยังมีส่วนในการเผาผลาญอาหารจำพวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน มีความจำเป็นต่อการหายใจของเซลล์ ช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ปกป้องผิวหนัง และสายตา เป็น co-enzyme ในปฏิกิริยาการเปลี่ยนวิตามิน บี 6 และกรดโฟลิก ให้อยู่ในรูป active ทั้งยังทำหน้าที่รักษาเนื้อเยื่อของร่างกาย รักษาสภาพของเยื่อบุผิวและ mucosa ให้เป็นปกติ แหล่งที่ให้วิตามิน บี 2 มาก ได้แก่ ไข่ นม ปลา ตับ เนื้อสัตว์ ธัญพืช ชีสและผักใบเขียวภ
ไนอะซิน (Niacin)ภ
คือวิตามินบี 3 เป็นเอนไซม์ที่ช่วยในการเผาผลาญไขมัน และเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญไขมันส่วนเกินที่สะสมอยู่ได้ดียิ่งขึ้น แหล่งของ niacin อยู่ในตับ นมวัว ไข่ เนื้อสัตว์ ปลา ธัญพืช ถั่วและข้าวซ้อมมือภ
กรดแพนโทธินิค (Pantothenic Acid)ภ
คือวิตามิน บี 5 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเผาผลาญไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนให้กลายเป็นพลังงาน มีความสำคัญต่อการสร้างเนื้อเยื่อประสาท และฮอร์โมน พบมากในเครื่องในสัตว์ ยีสต์ ไข่แดง ถั่ว และ wheat germภ
วิตามินบี 6 (Vitamin B6)ภ
ช่วยเร่งเผาผลาญไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนให้กลายเป็นพลังงาน ทำให้ไขมันลดลง มวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้สมบูรณ์ และเหมาะสมกับระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมระดับของ Homocysteine (Amino Acid) ที่พบในเลือด ไม่ให้มีปริมาณสูง เพื่อลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ แหล่งของวิตามิน บี 6 อยู่ในตับ เนื้อสัตว์ ปลาแซลมอน นม ถั่ว องุ่น จมูกข้าวสาลี แครอท มันฝรั่ง ข้าวซ้อมมือ กล้วย มะเขือเทศภ
วิตามินบี 12 (Vitamin B12)ภ
วิตามิน บี 12 เป็น coenzyme ของ methyl malonyl CoA mutase และ B12 methyl transferase ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเมตาบอลิซึ่มของคาร์โบไฮเดรท ไขมัน โปรตีน ช่วยให้กระบวนการเมตาบอลิซึ่มไปถึงจุดสุดยอด และมีบทบาทในการเจริญและการแบ่งตัวของเซลล์ รวมทั้งการสังเคราะห์ myelin ด้วย แหล่งของวิตามิน บี 12 อยู่ในตับ ไต รองลงมาได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่แดง และอาหารหมักดอง เช่น กะปิ น้ำปลา เต้าเจี้ยว อาหารที่มาจากพืชผักทั้งหมดไม่มีวิตามิน บี 12เลย ยกเว้นอาหารหมักดองภ
ฮอร์ธอร์น (Hawthorn)ภ
ช่วยทำให้ระบบเมตาบอลิซึ่ม และระบบย่อยอาหารดีขึ้น ช่วยเร่งสลายไขมันเก่า และลดคลอเรสเตอรอลในเลือด ทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้นภ
ไซเลี่ยม ฮัซค์ (Psyllium Husks)ภ
เป็นไฟเบอร์ซึ่งสามารถพองตัวได้ 25 เท่าของน้ำหนักตัว จึงทำให้อิ่มเร็ว นอกจากนี้ยังช่วยลดการดูดซึมของไขม� 
ที่มา   https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=936&sub_id=16&ref_main_id=4

อัพเดทล่าสุด