โภชนาบำบัดสำหรับภาวะโคเลสเตอรอลสูงในเลือด


731 ผู้ชม


การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการเป็นรากฐานสำคัญของการป้องกัน และรักษาภาวะโคเลสเตอรอลสูงในเลือด ดังนั้นทุกท่านควรเข้าใจถึงแนวทางในการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง เพื่อควบคุมระดับโคเลสเตอรอลในเลือด และต้องมีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติให้ได้ในชีวิตประจำวัน...
         การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการเป็นรากฐานสำคัญของการป้องกัน และรักษาภาวะโคเลสเตอรอลสูงในเลือด ดังนั้นทุกท่านควรเข้าใจถึงแนวทางในการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง เพื่อควบคุมระดับโคเลสเตอรอลในเลือด และต้องมีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติให้ได้ในชีวิตประจำวัน... 

 

 

imageการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการเป็นรากฐานสำคัญของการป้องกัน และรักษาภาวะโคเลสเตอรอลสูงในเลือด ดังนั้นทุกท่านควรเข้าใจถึงแนวทางในการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง เพื่อควบคุมระดับโคเลสเตอรอลในเลือด และต้องมีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติให้ได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง หลีกเลี่ยงโรคร้ายต่าง ๆ ซึ่งมีภาวะโคเลสเตอรอลสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหัวใจขาดเลือด

หลักการบริโภคอาหารที่สำคัญเพื่อป้องกัน และลดระดับโคเลสเตอรอลสูงในเลือด

1. รับประทานโคเลสเตอรอลไม่เกินวันละ 300 มิลลิกรัม โคเลสเตอรอลมีเฉพาะในอาหารที่มาจากสัตว์เท่านั้น มีมากในอาหารบางชนิด เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ มันสัตว์ สัตว์น้ำบางชนิด จึงควรหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารเหล่านี้ในปริมาณมาก

2. รับประทานอาหารในแต่ละวัน ซึ่งให้พลังงานรวมแล้วเพียงพอต่อการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยผู้ใหญ่ควรมีดัชนีความหนาของร่างกายประมาณ 20.0-24.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร โดยคำนวณจากน้ำหนักตัว หน่วยเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตร ยกกำลังสอง เช่น 50/(1.5)2 = 22.2 กิโลกรัม/ตารางเมตร

3. หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ ไขมันจากสัตว์ หนังสัตว์ เนื้อสัตว์ที่มีมันติดมาก ๆ เช่น หมูสามชั้น เพราะกรดไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น

4. รับประทานอาหารที่ให้กรดไขมันไลโนเลอิก (linoleic acid) โดยสม่ำเสมอ ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 50 ในน้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด การรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันไลโนเลอิกประมาณร้อยละ 7-10 ของพลังงานที่ได้รับ เช่น วันหนึ่งต้องการพลังงาน 2000 กิโลแคลอรี่ ควรได้กรดไลโนเลอิกประมาณ 16-22 กรัม ซึ่งได้จากน้ำมันถั่วเหลืองประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้ เพราะมีการเปลี่ยนโคเลสเตอรอลที่ตับเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามถ้าท่านมีโคเลสเตอรอลสูงในเลือดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น กรรมพันธุ์โรคบางชนิด ท่านต้องรับประทานยาลดโคเลสเตอรอล และรักษาโรคต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุให้มีโคเลสเตอรอลสูงในเลือดควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารให้ถูกต้อง โภชนาบำบัดจะช่วยเสริมผลการรักษาให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และลดปริมาณการรับประทานยาลงได้
ที่มา   https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=769&sub_id=16&ref_main_id=4

อัพเดทล่าสุด