กาแฟ (coffee)


965 ผู้ชม


กาแฟ (coffee) คอกาแฟทั้งหลายคงจะเคยผ่านหูผ่านตาคำว่า “คาเฟอีน” กันมาแล้วมากบ้างน้อยบ้าง          กาแฟ (coffee) คอกาแฟทั้งหลายคงจะเคยผ่านหูผ่านตาคำว่า “คาเฟอีน” กันมาแล้วมากบ้างน้อยบ้าง 

แต่อาจไม่ได้สนใจกันจริงจังนัก คาเฟอีนนั้นออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ทำให้รู้สึกตื่นเต้น บางคนดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสมอยู่ อย่างชาหรือกาแฟอาจจะทำให้นอนไม่หลับ แต่บางคนก็หลับได้สบาย การรู้สึกมีเรี่ยวแรงขึ้นมานั้นก็ไม่ใช่ฤทธิ์ของคาเฟอีนโดยตรง แต่เป็นการเอากำลังสำรองมาใช้ ซึ่งเมื่อถึงคราวที่เราต้องอาศัยกำลังสำรองจริงๆ แล้วก็จะไม่มีเหลือ ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ ล้มป่วยง่าย และหายยาก หรืออาจจะไม่หายเลยก็ได้

นักดื่มทั้งหลายที่ติดคาเฟอีนแล้ว แต่ไม่มีอาการถอนยาปรากฏชัดเจนนัก เป็นเพราะมักจะดื่มถ้วยต่อถ้วยไปเรื่อยๆ ก่อนที่ยาจะหมดฤทธิ์ลง จึงยังไม่เห็นอาการขาดคาเฟอีน คาเฟอีนไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาความรู้สึกเหนื่อย และเพลียของร่างกายเลย การพักผ่อนเท่านั้นที่จะช่วยได้แต่คาเฟอีนจะเป็นตัวกระตุ้นสมองให้เราตื่น ความอ่อนเพลียจึงยังคงอยู่

กาแฟเป็นเครื่องดื่มกระตุ้นยอดนิยมของโลก ชาวอเมริกัน 4 ใน 5 คนเป็นคอกาแฟ และดื่มกาแฟรวมกันแล้วมากกว่า 400 ล้านถ้วยต่อวัน ขณะที่การบริโภคกาแฟในประเทศแถบสแกนดิเนเวียมีปริมาณมากกว่า 12 กิโลกรัม ต่อคน ด้วยจำนวนประชากรมากกว่า 25 ล้านคนที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ กาแฟจึงเป็นสินค้าที่มีมูลค่าอันดับสองในตลาดการค้าโลก เป็นรองก็แต่อุตสาหกรรมน้ำมันเท่านั้นน

คาเฟอีนคืออะไร

คาเฟอีน (caffeine) เป็นสารชนิดหนึ่งที่รู้จักกันมานาน เป็นสารประกอบอัลคาลอยด์ มีชื่อทางเคมีว่า 1,3,7 trimethylxanthine มีลักษณะเป็นสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขม ละลายได้ดีในน้ำร้อน ละลายได้เล็กน้อยในแอลกอฮอล์ คาเฟอีนพบปริมาณมากในพืชจำพวกชา และกาแฟ ซึ่งเมื่อนำมาผลิตเป็นเครื่องดื่มชาและกาแฟ ก็มีผู้นิยมบริโภคเป็นจำนวนมาก บ้างก็นิยมในรสชาติที่หอมละมุน บ้างก็ติดใจกลิ่นที่เย้ายวนชวนชิม ปัจจุบันสินค้าประเภทชา และกาแฟมีให้เลือกมากมายหลายชนิด และมีการทำไร่ผลิตเมล็ดกาแฟหลายแห่งด้วยกัน เป็นอุตสาหกรรมชั้นนำประเภทหนึ่ง

ความเป็นมาของคาเฟอีน

  1. มีเรื่องเล่ากันว่า ในแถบกลุ่มประเทศอาหรับเมื่อนานมาแล้วมีคนเลี้ยงแกะคนหนึ่ง สังเกตเห็นแกะของเขามีอาการกระโดดโลดเต้นคึกคะนองทั้งคืน ไม่ยอมนอนหลังจากที่ได้ไปกินเมล็ดกาแฟเข้า และเมื่อนักบวชคนหนึ่งทราบข่าวนี้ก็ไปขอเมล็ดกาแฟมาต้มกินแก้ง่วง เพราะต้องประกอบพิธีอธิษฐานในโบสถ์ตลอดคืน ทำให้กาแฟเป็นที่นิยมตั้งแต่นั้นมา
  2. ในประเทศจีนก็มีตำนานเล่าว่า ขณะที่จักรพรรดิพระองค์หนึ่งทรงพักผ่อนอยู่ใต้ต้นไม้ และบริวารของพระองค์กำลังต้มน้ำอยู่ ก็บังเอิญมีใบชาหล่นลงไปในหม้อน้ำ เมื่อจักรพรรดิดื่มแล้วก็รู้สึกติดใจจึงทรงดื่มชาเป็นประจำ ชาจึงเป็นที่นิยมของชาวจีนทุกคน ตลอดจนชาติต่างๆ ร่วมครึ่งโลกทีเดียว
  3. แม้จะเชื่อกันว่าในดินแดนใกล้ทะเลแดงนั้นมีการปลูกกาแฟมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 แต่นักเขียนชาวอาหรับในศตวรรษที่ 15 นามเชฮาเบ็ดดิน เบน ได้เขียนไว้ว่า ชาวเอธิโอเปียนั้นดื่มกาแฟกันมาเนิ่นนานเกินเกินกว่าที่ใครๆ จะจดจำได้ เมื่อมาถึงศตวรรษที่ 16 ก็พบว่ามีการปลูกกาแฟกันทั่วภูมิภาคเยเมนในแหลมอาระเบียแล้ว
  4. หลังจากที่เอกอัครราชทูตชาวตุรกีนำกาแฟเข้ามาในพระราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อ ค.ศ. 1669 ชาวยุโรปก็ยอมรับรสชาติของกาแฟอย่างรวดเร็ว ในราวสองสามปีต่อมาชาวดัชต์ได้นำกาแฟเข้าไปในชวา และใน ค.ศ. 1714 ชาวฝรั่งเศสชื่อเดส์คลิเออได้ปลูกต้นกาแฟด้วยกิ่งปักชำเพียงกิ่งเดียวบนเกาะมาร์ตินิก ในไม่ช้าการปลูกกาแฟก็ได้แพร่จากแคว้นกีอาน่าของฝรั่งเศสไปยังบราซิล และอเมริกากลาง
  5. ถึงวันนี้ ในพื้นที่ชุ่มชื้นทั่วโลกล้วนแต่มีผู้ปลูกกาแฟทั้งสิ้น

การดื่มชา

  1. ชานั้นมีสารชนิดหนึ่งชื่อเทนนิน ซึ่งเป็นตัวทำลายวิตามินบีหนึ่งในอาหารได้ จึงไม่ควรดื่มน้ำชาร่วมกับอาหาร ถ้าใครอดไม่ได้ ก็ควรดื่มชาหลังอาหารแล้วสัก 1 ชั่วโมง เพื่อรอให้วิตามินบีหนึ่งได้ดูดชับไปก่อน คนที่ขาดวิตามินบี 1 นั้น จะทำให้เป็นโรคเหน็บชา มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดแสบ เสียวในขาและขาไม่มีแรง อารมณ์เสียและหงุดหงิดง่าย
  2. การดื่มชามากๆ จะทำให้ท้องผูก แพทย์จึงมักแนะนำให้ดื่มน้ำชาคนไข้มีอาการท้องร่วงหรือท้องเดิน แต่ไม่ใช่ดื่มเป็นเครื่องดื่มประจำวัน
  3. การดื่มชาขณะกินอาหาร จะทำให้การดูดซับของธาตุเหล็กน้อยลงถึงร้อยละ 87 ส่วน ดื่มกาแฟกับอาหารจะลดลงร้อยละ 39 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่เป็นโรคโลหิตจาง ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชาและกาแฟ

การเปลี่ยนแปลงในร่างกาย

  1. เมื่อบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน คาเฟอีนจะถูกดูดซึมผ่านระบบทางเดินอาหารได้ดี โดยเฉพาะในลำไส้เล็ก เพราะในลำไส้เล็กมีพื้นที่ของการดูดซึมมาก และสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็วกว่าส่วนอื่นๆ จากการศึกษาวิจัยพบว่า คาเฟอีนถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง แต่ถ้าได้รับคาเฟอีนเข้าไปในขณะท้องว่างหรือกำลังหิว ร่างกายจะดูดซึมคาเฟอีนเข้าไปในเลือดได้เร็วขึ้น คือ ใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที
  2. เมื่อคาเฟอีนถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายแล้ว จะกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างรวดเร็ว คาเฟอีนเข้าไปสู่ทุกอวัยวะในร่างกาย และยังสามารถผ่านเข้าสู่รกไปยังทารก หรือเข้าไปในน้ำนมแม่ได้
  3. ปริมาณการกระจายของคาเฟอีนในร่างกายมีค่าประมาณร้อยละ 40-60 ของน้ำหนักตัว และสามารถพบได้ในสารน้ำทุกส่วนของร่างกาย เช่น น้ำลาย น้ำนม และน้ำตา คาเฟอีนในร่างกายจะถูกกำจัดอย่างรวดเร็วโดยเอ็นซัยม์ของตับ ซึ่งเผาผลาญคาเฟอีนในร่างกายได้ถึงร้อยละ 95 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 5 จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ
  4. คาเฟอีนไม่ถูกเก็บสะสมไว้ในร่างกาย

กลไกการเสพติดของคาเฟอีน

เกิดจากฤทธิ์กระตุ้นสมอง กลไกดังกล่าวเช่นเดียวกับยาบ้า (amphetamines) โคเคน (cocaine) และเฮโรอีน (heroin) หากนำมาเปรียบเทียบกัน พบว่าคาเฟอีนมีฤทธิ์เสพติดน้อยกว่ายาบ้า โคเคน และเฮโรอีนมาก ผู้ที่ติดคาเฟอีนจะมีอาการของการเสพติด รู้สึกไม่ค่อยสบาย ไม่มีเรี่ยวมีแรง หากไม่ได้รับหรือบริโภคเข้าไป และมีความต้องการที่จะเสพอีกอย่างมาก การบริโภคคาเฟอีนในปริมาณน้อยจะทำให้รู้สึกมีความตื่นตัว ความคิดฉับไว ไม่ง่วงนอน กระปรี้กระเปร่า รู้สึกมีพลัง ทำงานได้ทนทานและนานยิ่งขึ้น ขนาดของคาเฟอีนที่เริ่มมีฤทธิ์ในการกระตุ้นสมองคือ 40 มิลลิกรัมขึ้นไป

เครื่องดื่มชูกำลัง

ปัจจุบันในวงการธุรกิจ มักจะเรียกเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนว่า "เครื่องดื่มชูกำลัง" แสดงให้เห็นภาพของการเสริมสร้างพละกำลัง เป้าหมายการขายหลักๆ ก็คือ กลุ่มนักเรียน และนักศึกษา ที่นิยมดื่มกาแฟเป็นเครื่องช่วยให้ดูหนังสืออ่านหนังสือได้ดึกๆ ไม่ให้ง่วงพลอยหลับไปเสียก่อน อดตาหลับขับตานอน และกลุ่มผู้ที่มีอาชีพขับรถ ก็นิยมบริโภคเพื่อไม่ให้ง่วง และมีเรี่ยวมีแรง สามารถทำงานได้มากๆ แม้ว่าจะรู้สึกอ่อนเพลียเหนื่อยล้าและง่วงนอนสักเพียงใด

ประโยชน์ของคาเฟอีน

  1. แพทย์อาจจะใช้กับเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดและหยุดหายใจแล้วกว่า 20 วินาที เพื่อช่วยกระตุ้นให้ฟื้น ซึ่งได้ผลไม่แน่นอน
  2. ใช้ในห้องทดลองเกี่ยวกับการกระตุ้นระบบประสาท
  3. ผสมกับยาเออร์กอทในการรักษาไมเกรน
  4. นานๆ ครั้งแพทย์จะใช้กับคนไข้ที่ถูกยาพิษบางชนิดที่ไปกดระบบประสาท ทำให้คนไข้ง่วงซึมและหายใจไม่ค่อยได้

ทำไมดื่มกาแฟแล้วถึงไม่ง่วง

  1. คาเฟอีนมีลักษณะทางเคมีที่สำคัญประการหนึ่ง คล้ายกับสารที่ชื่ออะดีโนซีน (adenosine) และเข้าไปจับกับตัวรับตัวเดียวกัน เป็นที่ทราบกันดีว่าสารอะดีโนซีนเป็นสารเคมีที่สร้างขึ้นในสมอง มีฤทธิ์ทำให้รู้สึกง่วงนอน ดังนั้นเมื่อบริโภคเครื่องดื่มประเภทชา และกาแฟ หรือเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนเข้าไป สมองจะเข้าใจว่าเป็นอะดีโนซีน เนื่องจากตัวรับของอะดีโนซีนทำปฏิกิริยาจับกับคาเฟอีน กลไกดังกล่าวทำให้สมองขาดสารที่ทำให้รู้สึกง่วงนอน ร่างกายจึงรู้สึกไม่ง่วง และรู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีกำลังวังชายิ่งขึ้น
  2. แต่คาเฟอีนในขนาดสูงจะทำให้นอนไม่หลับ ลดระยะเวลาหลับ และหลับไม่สนิท มือสั่น เกิดอาการวิตกกังวล คาเฟอีนในขนาดที่เป็นโทษแก่ร่างกายอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการชักได้
  3. คาเฟอีนอาจไปเสริมฤทธิ์ของยาระงับปวด เช่น แอสไพริน พาราเซตามอล และยังเสริมฤทธิ์ยาระงับอาการปวดศีรษะชนิดไมเกรนได้ ทำให้อาการปวดทุเลาลง

คาเฟอีนกระตุ้นการหลั่งอะดรีนาลีนและโดปามีน

  1. ฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอะดรีนาลีน (adrenaline) ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ใจสั่น ความดันโลหิตสูง ตับเร่งผลิตน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด กล้ามเนื้อตึงตัวพร้อมทำงาน ทำให้เหมือนเป็นยาชูกำลัง การบริโภคคาเฟอีนมีผลทำให้หัวใจเต้นช้าลงเล็กน้อยในชั่วโมงแรก และกลับเต้นเร็วขึ้นเล็กน้อ� 

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=653&sub_id=94&ref_main_id=4

อัพเดทล่าสุด