สารพิษตกค้างในผักและผลไม้


987 ผู้ชม


เมื่อประมาณสองปีที่ผ่านมา พบอาหารนำเข้าจากต่างประเทศปนเปื้อนหลายรายการ เช่น น้ำแร่ธรรมชาติมีสารตะกั่วสูงกว่ามาตรฐาน กุ้งแช่แข็งนำเข้าพบสารไนโตรฟูแรนส์ และคลอแรมฟินิคอล บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปนเปื้อนเชื้อแบซิลลัส ซีเรียส ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ...         เมื่อประมาณสองปีที่ผ่านมา พบอาหารนำเข้าจากต่างประเทศปนเปื้อนหลายรายการ เช่น น้ำแร่ธรรมชาติมีสารตะกั่วสูงกว่ามาตรฐาน กุ้งแช่แข็งนำเข้าพบสารไนโตรฟูแรนส์ และคลอแรมฟินิคอล บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปนเปื้อนเชื้อแบซิลลัส ซีเรียส ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ... 

 

 ( 15 Votes )

 โดยก่อให้เกิดโรคได้สองแบบ แบบแรกเป็นชนิดถ่ายเหลวท้องเสียหลังบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ แบบที่สองก่อให้เกิดอาการอาเจียนอย่างรุนแรง โดยไม่มีอาการท้องเสียถ่ายเหลวร่วมด้วย การตรวจพบเชื้อนี้ในปริมาณเกินกว่า 1,000,000 ตัวต่ออาหารหนึ่งกรัม ถือว่ามีการปนเปื้อนและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคตามมาตราฐานสากล

ารใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของไทยยังมีปัญหาอยู่มากพอสมควร ผลไม้ไทยหลายชนิดยังไม่สามารถส่งไปยังต่างประเทศได้ โดยเฉพาะผลไม้ตระกูลส้ม มะนาว ทั้งนี้เพราะมีการตรวจพบว่ามีการใช้ยาฆ่าแมลงในปริมาณสูง ซึ่งประเทศไทยเองก็ยังไม่มีเทคนิคและกระบวนการที่กำจัดยาฆ่าแมลงที่ปะปนอยู่ในเนื้อส้มได้ สำหรับกรณีที่เป็นปัญหาสำหรับมังคุดและทุเรียนก็ยังเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวอยู่ตลอดเวลา

ปัจจุบันมีการรณรงค์ความปลอดภัยของอาหาร โดยเน้นให้ปลอดภัยจากสารบอแรกซ์หรือที่เรียกว่าผงกรอบ สารฟอร์มาลินหรือ น้ำยาดองศพ ซึ่งพ่อค้าแม่ค้านิยมนำมาแช่ผักและผลไม้ให้ดูสดอยู่ตลอดเวลา สารฟอกขาวหรือไฮโดรซัลไฟด์ กรดซาลิซิลิคหรือ สารกันรา รวมทั้งสารตกค้างหรือยาฆ่าแมลง ทั้งนี้ข้อกฎหมายกำหนดให้พบได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของปริมาณสารพิษที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในร่างกาย

image

การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง ควรบริโภคอาหารหลายชนิด เนื่องจากไม่มีอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่ให้คุณค่าทางโภชนาการได้ครบถ้วน บริโภคอาหารในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการ หลีกเลี่ยงการรับประทานที่มีไขมันมากเกินไป บริโภคอาหารที่มีปริมาณของแป้งและกากใยให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ปรุงด้วยปริมาณน้ำตาลจำนวนมาก และหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารเค็มมากเกินไป

อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ ผักและผลไม้ พืชตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักคะน้า หัวผักกาด บรอคโคลี่ ฯลฯ ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้ส่วนปลาย กระเพาะอาหาร และอวัยวะระบบทางเดินหายใจ อาหารที่มีกากมาก เช่น ผัก ผลไม้ ข้าว ข้าวโพด และเมล็ดธัญพืชอื่นๆ ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาหารที่มีเบต้าแคโรทีน และวิตามินเอสูง เช่น ผลไม้สีเขียว-เหลือง ป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร กล่องเสียง และปอด

เบต้าแคโรทีน เป็นสารที่ร่างกายนำไปใช้สร้างวิตามินเอ ที่เรียกว่า โปรวิตามินเอ ช่วยบำรุงสุขภาพสายตา สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง สารชนิดนี้มีมากในพืชผักสีแดง เหลือง ส้ม หรือเขียวเข้ม เช่น ยอดมะยม ผักโขม ตำลึง กระถิน ยอดแค ชะพลู และผักชีฝรั่ง ล้วนมีเบต้าแคโรทีนในปริมาณสูงมากทั้งสิ้น
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=604&sub_id=54&ref_main_id=4

อัพเดทล่าสุด