อาหารเช้า...ต้านโรค


700 ผู้ชม


อาหารมื้อเช้า ใช่ว่าจะเป็นเพียงอาหารมื้อแรกที่ให้พลังงานในการทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวันเท่านั้น แต่ยังอาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะอ้วน โรคเบาหวาน รวมทั้งโรคหัวใจได้อีกด้วย...          อาหารมื้อเช้า ใช่ว่าจะเป็นเพียงอาหารมื้อแรกที่ให้พลังงานในการทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวันเท่านั้น แต่ยังอาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะอ้วน โรคเบาหวาน รวมทั้งโรคหัวใจได้อีกด้วย... 
โดยอาหารเช้านั้นจะเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกายเพื่อนำไปใช้ในการทำกิจกรรม ต่างๆ ในแต่ละวัน จึงลดความรู้สึกหิวที่เป็นอาการบ่งบอกว่าพลังงานในร่างกายเริ่มลดลง และต้องการพลังงานเสริม
เมื่อ ความหิวลดลง ก็จะทำให้กินอาหารในมื้อถัดไป หรือของหวานในปริมาณลดลง รวมทั้งอาจส่งผลให้การหลั่งฮอร์โมนอินซูลินอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ
นัก วิจัยจากมหาวิทยาลัย Nottingham ในอังกฤษ สังเกตว่าคุณผู้หญิงส่วนใหญ่ที่งดกินอาหารมื้อเช้านั้น ปริมาณอาหารที่กินในแต่ละวันมักจะมากกว่าผู้หญิงที่กินอาหารเช้าเป็นประจำ  ซึ่งอาจทำให้น้ำหนักตัวของผู้ที่งดอาหารเช้าเพิ่มขึ้นจนเกิดภาวะอ้วนได้
รวมทั้งเคยมีงานวิจัยที่พบว่า ผู้ที่กินอาหารเช้าทุกวัน จะมีโอกาสเกิดภาวะอ้วน และโรคเบาหวานน้อยกว่าผู้ที่งดอาหารเช้าถึง 35-50%
ซึ่งผลดังกล่าวสอดคล้องกับงานวิจัยล่าสุดที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร American Journal of Clinical Nutrition ที่เผยว่า    การงดกินอาหารเช้านั้น นอกจากเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอ้วนและโรคเบาหวานแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย
นักวิจัยได้ทำการศึกษาในสตรีอาสาสมัคร 10 คน โดยให้อาสาสมัครกลุ่มนี้กินอาหารเช้าประเภทเมล็ดธัญพืช (cereal) กับนม ในช่วง 7.00-8.00 น. และกินอาหารมื้อกลางวัน และมื้อเย็นตามปกติ รวมทั้งกินขนมหวานระหว่างมื้อ เป็นเวลา 2 สัปดาห์
หลังจากนั้นให้อาสาสมัครกลุ่มเดิม งดกินอาหารในช่วงเช้า โดยเลื่อนเวลาอาหารพวกเมล็ดธัญพืชกับนมมาเป็นมื้อกลางวันแทน จากนั้นให้กินอาหารอีก 2 มื้อ รวมทั้งขนมหวานระหว่างมื้อเหมือนเดิม พบว่า การกินอาหารเช้านั้น
จะทำให้ปริมาณแคลอรีที่ได้รับในแต่ละวันนั้นน้อยกว่าการงดกินอาหารเช้า ประมาณ 100 แคลอรี
และยังลดปริมาณของโคเลสเตอรอล และตัวพาโคเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL-C) ที่นำโคเลสเตอรอลไปสะสมตามเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ส่วนน้ำหนักตัวของอาสาสมัครในช่วงที่กินอาหารเช้า และงดอาหารเช้านั้นจะไม่แตกต่างกัน ซึ่งอาจเนื่องมาจากงานวิจัยนี้เป็นการทดลองในระยะสั้น เพียง 2 สัปดาห์เท่านั้นจึงไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวอย่างชัดเจน แต่จากการวัดปริมาณแคลอรีที่ได้รับในแต่ละวัน และปริมาณโคเลสเตอรอลแล้ว ทำให้นักวิจัยเชื่อว่า
การงดกินอาหารเช้าเป็นประจำ เป็นเวลานานนั้น น่าจะส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มจนอาจเกิดภาวะอ้วนได้ นอกจากนั้นยังอาจเพิ่มโอกาสเกิดโรคเบาหวาน จากการที่ร่างกายลดการตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินอีกด้วย
ทีมนักวิจัยวิเคราะห์ว่า
 การกินอาหารเช้า สำคัญต่อการควบคุมความรู้สึกอยากอาหาร การ ตอบสนองของร่างกายต่อฮอร์โมนอินซูลิน และกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย โดยอาหารเช้านั้นจะเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกายเพื่อนำไปใช้ในการทำกิจกรรม ต่างๆ ในแต่ละวัน จึงลดความรู้สึกหิวที่เป็นอาการบ่งบอกว่าพลังงานในร่างกายเริ่มลดลง และต้องการพลังงานเสริม เมื่อความหิวลดลง ก็จะทำให้กินอาหารในมื้อถัดไป หรือของหวานในปริมาณลดลง รวมทั้งอาจส่งผลให้การหลั่งฮอร์โมนอินซูลินอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ ปกติแล้วเมื่อร่างกายต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น หรือรู้สึกหิวก็จะกระตุ้นการสร้างและการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเพิ่มขึ้น เพื่อนำน้ำตาลเข้าเซลล์ แล้วเปลี่ยนไปใช้เป็นพลังงาน ซึ่งถ้ามีปริมาณของฮอร์โมนอินซูลินมากเกิน เป็นเวลานาน อาจทำให้การตอบสนองของร่างกายต่อฮอร์โมนอินซูลินลดลง จนอาจเกิดโรคเบาหวานในที่สุด ซึ่งทั้งปัจจัยจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ปริมาณโคเลสเตอรอลที่มากขึ้น และโรคเบาหวานนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัย สำคัญที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด จึงเป็นไปได้ว่า การงดกินอาหารเช้าเป็นประจำจึงน่าจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือดได้ด้วย เห็นเช่นนี้แล้ว หลายคนที่ไม่นิยมกินอาหารเช้า
ด้วยเหตุผลไม่มีเวลา หรือต้องการลดน้ำหนัก น่าจะเปลี่ยนพฤติกรรมหันมากินอาหารเช้ากันดีกว่า เพราะอาจจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่ช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดี และห่างไกลจากโรคร้ายได้

 
 

ที่มา   https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=550&sub_id=15&ref_main_id=4

อัพเดทล่าสุด