Trans fat เป็นไขมันจากพืชที่มนุษย์ผลิตขึ้นผ่านกระบวนการแปรรูปอาหาร (ขบวนการผลิตค่อนข้างวิทยาศาสตร์ไว้ค่อยขยายความต่อไป) ซึ่งขณะนี้งานวิจัยหลายฉบับ สรุปว่า ** มันเป็นไขมันชนิดร้ายแรงที่สุด สรุปคือนอกจากจะไม่ให้ประโยชน์ใดทั้งสิ้น ยังไปทำลายไขมันดีที่ร่างกายสะสมไว้ใช้งานอีกด้วย อาหารที่ขายอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตกว่า 40 เปอร์เซนต์อุดมไปด้วย trans fat (Trans Fatty Acid) ผู้ผลิตบางรายก็ไม่ใส่ข้อมูลของ Trans fat ไว้บนฉลากซึ่งหากบริโภคไขมันTrans fat ติดต่อกันเป็นเวลานานจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะภาวะหัวใจขาดเลือดหรือหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ไขมันชนิดนี้พบมากใน มาร์การีน (เนยเทียม) ชอตเทนนิ่ง (เนยขาว) ครีมเทียม และน้ำมันที่ใช้ทอดซ้ำจนเริ่มหนืด ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของไขมันชนิดTrans fat อาทิเช่น เบเกอรี่ เค้ก คุกกี้ โดนัท แคร็กเกอร์ และขนมขบเคี้ยวต่างๆ ระยะหลังมานี้หลายๆประเทศเริ่มให้ความสำคัญกับอันตรายของไขมันชนิดนี้มากขึ้น เช่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา และเดนมาร์ก ได้ออกกฎหมายบังคับให้แสดงฉลากอาหารที่ระบุปริมาณไขมันชนิดTrans fat ในฉลากโภชนาการบนบรรจุภัณฑ์อาหารทุกชนิด คำแนะนำในการอ่านฉลากเพื่อตรวจสอบปริมาณTrans fat o อ่านดูส่วนประกอบอาหาร ถ้าหากคุณเห็น “partially hydrogenated vegetable oil” หรือ “partially hydrogenated vegetable shortening” อยู่ด้านบน เชื่อได้แน่ว่ามี Trans fat ประกอบอยู่มากด้วย แต่ถ้าเขียนอยู่ด้านล่าง ก็จะมี Trans fat น้อยลง o ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนเลยว่ามี Trans fat ในเนยเทียม (Margarine) เนยขาว (Shortenings) ของทอดและขนมทานเล่น ขนมพาย คุกกี้ แครกเกอร์ o อย่าปล่อยให้โดนหลอกตาด้วยขนาดรับประทาน ที่ดูเหมือนจะเป็นเพียงเล็กน้อย เช่น ป๊อปคอร์นขนาด 1 ถ้วย o คำนวณทั้งฉลากโดยเฉพาะข้อมูลปริมาณของไขมันทุกชนิด ทั้ง saturated fats, monosaturated fats และ polyunsaturated fats ถ้าบวกรวมกันแล้วไม่ได้ตัวเลขตรงตามส่วนที่ระบุว่าเป็น total fats แล้วคุณก็ควรจะรู้ได้เองว่าส่วนต่างที่หายไป นั่นคือ Trans fat o สินค้าที่ระบุว่ามีไขมันทั้งหมด Total fat ต่ำค่อนข้างที่จะมี Trans fat น้อยตามกันด้วย o อาจต้องระวังการบริโภคอาหารที่ถึงแม้จะบอกว่ามี low saturated fat เพราะไม่แน่ว่ามันยังจะมี Trans fat อยู่บางส่วน o ฉลากที่บอกว่ามี saturated fat free ไม่ใช่ว่าไม่มี Trans fat และ saturated fat เลยหรอก มีค่ะ แต่มี Trans fat ที่น้อยกว่า 0.5 กรัม และมี saturated fat ที่น้อยกว่า 0.5 กรัม ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค o ถ้าอยากจะรับประทานเนยเทียม ก็ควรเลือก เนยเทียมเหลว แทน เนยเทียมแข็ง
ที่มา
https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=482&sub_id=18&ref_main_id=4