ผัก ผลไม้ สุดยอดอาหารชะลอวัย...


863 ผู้ชม


เคล็ดลับของการมีชีวิตยืนยาวและสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงอาจเป็นเพียงเรื่องง่ายๆ อย่างเช่น การยอมสละเวลาเดินชมตลาด ช็อปปิ้งพืชผักผลไม้ หรือง่ายกว่านั้นคือมองหาสิ่งมีอยู่แล้วในตู้เย็นว่าเข้าข่ายอาหารต้านความชราที่จะแนะนำต่อไปนี้หรือไม่...         เคล็ดลับของการมีชีวิตยืนยาวและสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงอาจเป็นเพียงเรื่องง่ายๆ อย่างเช่น การยอมสละเวลาเดินชมตลาด ช็อปปิ้งพืชผักผลไม้ หรือง่ายกว่านั้นคือมองหาสิ่งมีอยู่แล้วในตู้เย็นว่าเข้าข่ายอาหารต้านความชราที่จะแนะนำต่อไปนี้หรือไม่... 
ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ขอให้มั่นใจได้ว่า สิ่งที่คุณสรรหาคือพืชผักต่างๆ เหล่านี้ที่คุณสมบัติในการป้องกันและต่อสู้กับอนุมูลอิสระอันเป็นสาเหตุของโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคฮิตยอดนิยมอย่างมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด ดังที่นายแพทย์แดเนียล เอ.นาดู แห่งโรงพยาบาลนิวแฮมเชียร์ กล่าวว่า “หากคุณสามารถป้องกันตนเองไม่ให้ต้องกินยาลดคอเลสเตอรอลเป็นกำๆ ด้วยการกินผักและผลไม้แทน ทำไมคุณจะไม่ทำล่ะ” มะเขือเทศและซอสมะเขือเทศ มะเขือเทศสีแดงฉ่ำที่นำมาทำอาหารได้สารพัดชนิดทั้งสลัดผักสดและส้มต้มยอดฮิต มีสารที่เรียกว่า “ไลโคพีน” สารที่ทำให้มะเขือเทศมีสีแดง ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ มะเร็งบางชนิด และโรคจอประสาทตาเสื่อม (สาเหตุของอาการตาบอดในผู้สูงอายุ) การรับประทานมะเขือเทศสดหรือผ่านการปรุงแล้วอย่างเช่น ซอสสปาเกตตี้ (ทำเอง) จึงเป็นแหล่งของไลโคพีนชั้นยอดที่จะช่วยให้คุณปลอดจากโรคร้ายต่างๆ ได้ ไลโคพีนยังพบในพืชผักชนิดอื่น อาทิ ฝรั่ง พริกหวานแดง และแตงโม มันเทศ ฟักทอง และแครอท รับประทานผักและผลไม้สีเหลืองอย่างน้อยวันละสองถ้วยจะช่วยให้ร่างกายได้รับเบต้า-แคโรทีน (สารประกอบที่จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ) ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อผิวหนังและดวงตา ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งบางชนิด โรคหัวใจ และกระดูกพรุน ผักและผลไม้สีเหลืองอย่าง มันเทศ และฟักทอง ยังมีลูทีนและไลโคพีน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมได้เช่นเดียวกับมะเขือเทศ ทั้งยังอาจช่วยปกป้องผิวจากการถูกทลาย หรือแม้แต่ลดริ้วรอยได้ นอกจากนี้ ผักที่มีสีส้มอย่างแครอต ก็มีสารที่เรียกว่า ฟัลคารินอล ซึ่งจากผลการวิจัยบ่งชี้ว่าช่วยลดการขยายตัวของเนื้อร้ายในหนูทดลองได้ถึง 1 ใน 3 ฟัลคารินอลนี้ยังพบได้ในมะม่วงและแคนตาลูป บูลเบอร์รี่และองุ่นม่วง สารสีม่วงหรือแอนโธไซยานินที่มีอยู่ในบูลเบอร์รี่และองุ่นม่วงจะถูกดูดซึมเข้าไปในเยื่อหุ้มสมองช่วยกระตุ้นความจำและการรับรู้ พบมากในผักและผลไม้ที่มีสีม่วงเช่น กะหล่ำปลีม่วง แบล็กเบอร์รี่ น้ำองุ่น และลูกพลัม (ทั้งสดและแห้ง) บร็อกโคลี่ สารซัลโฟราเฟนในบร็อกโคลี่ช่วยเพิ่มการสร้างเอนไซม์ที่ช่วยชำระช้างสารพิษในร่างกาย บร็อกโคลี่ที่ยังโตไม่เต็มที่จะมีสารชนิดนี้อยู่มาก โดยเฉพาะบร็อกโคลี่ต้นอ่อนที่มีอายุเพียงแค่ 3 วัน จะมีสารชนิดนี้อยู่มากถึง 50 เท่าของต้นที่โตเต็มวัย ซัลโฟราเฟนยังพบมากในกะหล่ำปลี และดอกกะหล่ำ ข้าวโอ๊ต ข้าวบาเลย์ และถั่ว เส้นใยอาหารที่อยู่ในข้าวโอ๊ตเป็นเส้นใยที่ละลายน้ำได้ มีคุณสมบัติลดคอเรสเตอรอลชนิด LDL ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากจะมีกากใยสูงแล้ว ข้าวโอ๊ตยังมีกรดโฟลิกที่มีประโยชน์ต่อหัวใจ และอุดมไปด้วยโพแทสเซียมที่ช่วยควบคุมความดันโลหิต สารอาหารเหล่านี้ยังพบได้ในถั่วชนิดต่างๆ (ควรรับประทาน 3 ถ้วยต่อสัปดาห์)ซึ่งยังประกอบด้วยแอนโธไซยานินและเคอร์เซติน สารต้านอนุมูลอิสระที่พบในเบอร์รี่ชนิดต่างๆ และแอปเปิ้ล ผักโขม และผักใบเขียว การศึกษาล่าสุดรายงานว่า การกินผักใบเขียวทุกวันจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้ถึง 11 เปอร์เซ็นต์ การกินผักใบเขียวยังช่วยในเรื่องการมองเห็น เนื่องจากมีคาโรทีนอยด์ถึงสองชนิดคือ ลูทีนและซีแซนติน ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมอันเนื่องมาจากความชรา การที่ผักใบเขียวอุดมไปด้วยคาโรทีนอยด์ก็เพราะต้องอยู่ท่ามกลางแสงแดด ทำให้จำเป็นต้องสร้างคาโรทีนอยด์ขึ้นมาเพื่อป้องกันแสงแดด สำหรับคนเรา คาโรทีนอยด์ถูกสะสมไว้ที่เรติน่าเพื่อปกป้องดวงตา ดังนั้นเราจึงควรรับประทานผักใบเขียวสามถ้วยต่อสัปดาห์เพื่อประโยชน์ดังกล่าว ซาลมอน ซาร์ดีน และทูน่า รับประทานปลาที่มีโอเมก้า3 สองมื้อต่อสัปดาห์ทำให้หัวใจมีสุขภาพดี งานวิจัยใหม่ๆ แนะนำว่าโอเมก้า 3 ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ การศึกษาล่าสุดบ่งชี้ว่าการรับประทานโอเมก้า 3 ปริมาณมากจะช่วยลดปัญหาเรื่องการทำงานของสมองเสื่อมตามวัย แอปเปิ้ล
รายงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลเปิดเผยว่า เคอร์ซีติน สารต้านอนุมุลอิสระในแอปเปิ้ลจะช่วยปกป้องสมองจากการถูกทำลายซึ่งป็นอาการที่พบได้ในโรคต่างๆ อาทิ อัลไซเมอร์ และพาร์กินสัน การรับประทานแอปเปิ้ลทั้งเปลือกจะทำให้ได้รับเคอร์ซีตินอย่างเพียงพอ เนื่องจากเปลือกของแอปเปิ้ลมีเคอร์ซีตินอยู่มากนั่นเอง 
ที่มา   https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=257&sub_id=16&ref_main_id=4

อัพเดทล่าสุด