ถั่วเหลืองลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด...


1,052 ผู้ชม


การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอล ทำให้มีภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูง ประกอบได้รับอาหาร ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระไม่เพียงพอ ...         การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอล ทำให้มีภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูง ประกอบได้รับอาหาร ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระไม่เพียงพอ ... 
คนเรามีพฤติกรรมหรือวิถีชีวิตที่เสี่ยงอื่น ๆ เช่น ขาดการออกกำลังกาย อ้วน มีความเครียด สูบบุหรี่ และ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ทำให้เสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอุดตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย และหัวใจวายได้ โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆ ของประชากรโดยเฉพาะในประเทศตะวันตก และประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทย โรคนี้สามารถป้องกันหรือบางรายอาจรักษาให้หายได้ โดยการปรับพฤติกรรมการบริโภค และกิจวัตรประจำวันของตนเอง โดยการลดอาหารที่มีไขมัน ไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอลสูง เพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้ เพื่อให้ได้ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มการออกกำลังกาย งดสิ่งทำลายสุขภาพ และผ่อนคลายจิตใจ การบริโภคอาหารถั่วเหลืองอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ทางหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากไม่เพียงแต่ ถั่วเหลืองมีไขมันอิ่มตัวต่ำ และไม่มีโคเลสเตอรอลเท่านั้น แต่โปรตีนจากถั่วเหลืองได้รับการยอมรับว่าช่วยลด โคเลสเตอรอลในเลือดด้วย การกินถั่วเหลืองต้มสุกประมาณ 2 ทัพพี จะให้โปรตีนประมาณ 14 กรัม และมีไขมันอิ่มตัวประมาณ 1 กรัมเท่านั้นเอง การลดโคเลสเตอรอลในเลือดทุก ๆ 10% จะลดความเสี่ยง ของโรคหัวใจ และหลอดเลือดที่จะทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ร้อยละ 20 – 30 การบริโภคอาหารถั่วเหลืองเพื่อให้ได้โปรตีนจากถั่วเหลืองวันละ 25 กรัมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ทำได้ง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน ปรับเปลี่ยนการกินโปรตีนจากเนื้อสัตว์มาเป็นโปรตีนจากถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ อาจไม่ต้องเปลี่ยนหมด แต่ใช้วิธีค่อยๆ เพิ่มอาหารจากถั่วเหลืองเข้าไปแทนอาหารเนื้อสัตว์ เพียงดื่มนมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้วันละ 2 แก้ว และกินเต้าหู้ขาวแข็ง 1/2 ก้อน เท่านั้นก็ได้โปรตีนจากถั่วเหลืองประมาณวันละ 25 กรัม ซึ่งโปรตีนจากถั่วเหลืองจะมีคุณสมบัติลดการเกิดออกซิเดชันของโคเลสเตอรอล ดังนั้นจึงลดความเสี่ยงต่อการทำลายของผนังหลอดเลือด จึงทำให้ หลอดเลือดแข็งแรง นอกจากนี้ในถั่วเหลืองยังมีสารจีนีสทีน ซึ่งจากการศึกษาทดสอบในหลอดทดลองพบว่า สารจีนีสทีนช่วยต้านการเกิดการเกาะตัว ของกลุ่มเซลล์ ที่ผนังหลอดเลือด อันจะนำไปสู่การอุดตันของเส้นเลือด สารจีนีสทีนช่วยลดการแข็งตัวของเลือด และมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดจากการทำลายโดยอนุมูลอิสระ การศึกษาในคน พบว่าหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นดีขึ้นในผู้หญิง ที่ได้รับสารสกัดจีนีสตีน จากถั่วเหลือง ดังนั้นการเพิ่มการบริโภคอาหารจากแหล่ง ถั่วเหลือง จึงเป็นการช่วยเสริมสร้างสุขภาพ และลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด อย่าลืมว่า การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เกิดจากหลายสาเหตุ ดังนั้นไม่เพียงแต่ดูแลเรื่องอาหารเท่านั้น การปรับวิถีชีวิตโดยรวม ออกกำลังกาย สม่ำเสมอ งดสิ่งทำลายสุขภาพ และความไม่เครียด ก็เป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงประกอบด้วยจึงจะลดความเสี่ยงต่อโรคนี้ 

อัพเดทล่าสุด