สุขภาพวัยรุ่นกับการคุยเรื่องเพศในช่วงที่ลูกเป็นวัยรุ่น


1,163 ผู้ชม


สุขภาพวัยรุ่น วัยที่กำลังอยากรู้ อยากเห็น และอยากทดลอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้คุณพ่อ คุณแม่ ควรให้คำแนะนำกับลูกๆ ของคุณอย่างใกล้ชิด หรือบางทีอาจต้องสอนให้เขาได้เรียนรู้เรื่องเพศตั้งแต่วัยเเด็ก         สุขภาพวัยรุ่น วัยที่กำลังอยากรู้ อยากเห็น และอยากทดลอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้คุณพ่อ คุณแม่ ควรให้คำแนะนำกับลูกๆ ของคุณอย่างใกล้ชิด หรือบางทีอาจต้องสอนให้เขาได้เรียนรู้เรื่องเพศตั้งแต่วัยเเด็ก 
สุขภาพวัยรุ่นกับการคุยเรื่องเพศในช่วงที่ลูกเป็นวัยรุ่น

สุขภาพวัยรุ่นกับการคุยเรื่องเพศในช่วงที่ลูกเป็นวัยรุ่น

สุขภาพวัยรุ่น ในช่วงวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นเป็นเรื่องอะไรก็ตามคุณพ่อ และคุณแม่ ควรให้คำแนะนำกับลูกๆ ของคุณ

เรื่องเพศ ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ช่วงวัยรุ่นมีการปรับเปลี่ยนฮอร์โมน ซึ่งผู้หญิงก็จะมีประจำเดือน ส่วนผู้ชายก็จะมีเสียงที่ทุ่มลง สิ่งเหล่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงตามร่างกาย และสิ่งสำคัญคือเรื่องเพศ ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณพ่อ คุณแม่ควรใส่ใจและให้คำปรึกษาเมื่อลูกของคุณมีปัญหา ซึ่งคุณพ่อ คุณแม่ควรลองเปิดใจ เมื่อลูกๆ มีคำถามเกี่ยวกับเรื่องเพศขึ้นมา เรามีข้อมูลดีๆ ที่ช่วยให้คุณพ่อ คุณแม่ สอนเรื่องเพศให้กับลูกของคุณ และเปิดใจยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงของลูกๆ มาฝากกันค่ะ
เพศศึกษา คืออะไร?
เพศศึกษา มิใช่การสอนเรื่องเพศสัมพันธ์ แต่เป็นการให้ความรู้ และสอนให้รู้จักบทบาทและคุณค่าของความเป็นชายและหญิงในสังคม   
 
ส่วนครอบครัวศึกษา คือ บทบาทของพ่อแม่ในการสอนเพศศึกษาแก่ลูก ตามคำจำกัดความ (ซึ่งค่อนข้างยาวและยาก) เพศศึกษา คือ กระบวนการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นกรรมวิธีที่จะให้บุคคลได้เรียนรู้ธรรมชาติ ความเป็นจริงของชีวิตและสังคม เพื่อให้บุคคลมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ถูกต้องในเรื่องเพศ ตลอดจนสามารถปรับตัวตามพัฒนาการชีวิตได้อย่างเหมาะสม

ทำไมต้องสอน?  
  • เรื่องเพศเป็นความจำเป็นที่จะต้องได้ทราบภายในขอบเขต เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของคนทุกคน โดยเฉพาะความเจริญทางจิตใจนั้น จะควบคู่กันไปกับความเจริญทางเพศ  ความรู้สึกในเรื่องเพศย่อมมี อิทธิพลอย่างมากมายต่อสภาพของจิตใจและเป็นที่ ยอมรับว่า ความแตกต่างเกี่ยวกับบุคลิกลักษณะย่อมจะมาจากสาเหตุอันหนึ่งคือ แรงผลักทางเพศ ดังนั้นการศึกษาเรื่องเพศและเรื่องจิตใจจำเป็นจะต้องดำเนินควบคู่กันตลอดไป 
  • ความลี้ลับหรือการปกปิดในเรื่องเพศ อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด เช่น เคร่งครัด โดยเข้าใจว่าเรื่องเพศนั้นเป็นของหยาบโลนไม่ควรพูดถึงเลย หรือในทางตรงกันข้ามก็ละเลยจนเกินไป ไม่มีการควบคุมมารยาท ทางเพศ เป็นต้น ทั้งนี้อาจนำไปสู่ลักษณะผิดปกติทางจิตใจได้ นอกจากนั้น การที่เห็นอวัยวะเพศเป็นสิ่งซึ่งผิดแปลกกว่าอวัยวะอื่นของร่างกาย ก็เป็นข้อบกพร่องอย่างสำคัญยิ่งในเรื่องสุขวิทยาโดยทั่วไป
  • เพศศึกษายังนำไปสู่ความสมบูรณ์ในทางศีลธรรมและวัฒนธรรมของประชาชน เมื่อทุกคนรู้จักให้เกียรติและการปฏิบัติระหว่างเพศที่ถูกต้อง รู้จักประพฤติตนให้อยู่ในขอบเขตในความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน
  • ปัจจุบันความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไปอย่างรวด เร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการสื่อสารสามารถพูดคุยติดต่อและทราบข้อมูลต่าง ๆ ได้ทั่วโลกภายในพริบตา จนทำให้โลกของรา แคบลงทุกวัน ดังนั้น  ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั้งที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมของเรา สามารถแพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง จนไม่สามารถจะหาวิธีการใดมาสกัดกั้นเอาไว้ได้ ดังนั้นจึงควรให้ความรู้ เรื่องเพศศึกษาที่ถูกต้องแก่เยาวชนของเรา ก่อนที่เขาจะรับรู้จากแหล่งอื่นที่มีลักษณะยั่วยุและเร้าอารมณ์ มุ่งไปทางด้านการค้าและกำไร โดยไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อเป็นการเตรียมเยาวชนให้ฉลาด รู้จักการเลือกคิด เลือกตัดสินใจ และเลือกปฏิบัติแต่ในทางที่ถูกที่ควร และเป็นที่ยอมรับของสังคมไทย

ควรสอนตั้งแต่เมื่อใด?  
เริ่มสอน ขัดเกลา อบรมบ่มนิสัยตั้งแต่ยังเล็ก เริ่มรู้ความ ถ้าจะมาเริ่มสอนตอนวัยรุ่นก็สายเสียแล้ว เพราะค่านิยมต่าง ๆ ถูกปลูกฝังไปเรียบร้อยแล้ว
ใครควรเป็นผู้สอน?  
แน่นอนทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ครูคนแรกของเด็ก คือ พ่อ แม่ ต่อมาคือหมอเด็ก และเมื่อถึงวัยเรียนก็คือครู แท้ที่จริงแล้วเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เด็กวัยรุ่นเรียนรู้จากเพื่อน และสื่อต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น หากเขาได้รับการปลูกฝังให้รู้จักบทบาทและคุณค่าทางเพศที่เหมาะสมมาตั้งแต่ เด็กร่วมกับการมีความนับถือตนเอง (self-esteem) และทักษะชีวิต สิ่งเหล่านี้จะเป็นภูมิคุ้มกันให้เขาได้เป็นอย่างดีในช่วงวัยรุ่นให้เขาสามารถแยกแยะได้ว่าความรู้ สื่อและสิ่งยั่วยุจากภายนอก สิ่งใดเหมาะสมและสิ่งใดไม่เหมาะสมได้ในระดับหนึ่ง
สอนอย่างไร?   
 
ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้สอน ถ้าเป็นพ่อแม่ ก็ให้สอนโดยการเป็นแบบอย่างที่ดี สอนง่าย ๆ โดยสอดแทรกเข้าไปในชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน มิใช่เรียกลูกมานั่งฟังบอกว่าวันนี้จะเลกเชอร์เรื่องเพศศึกษา  
 
สำหรับหมอเด็ก บทบาทในเรื่องนี้อาจจะน้อยเกินไป มักจะเน้นไปในเรื่องการเลี้ยงดูสุขอนามัยชายหญิง และการป้องกันพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนทางเพศ ในช่วง 5 ปีแรก ในคลินิกตรวจสุขภาพเด็ก แต่หลังจากนั้น
เรื่องเพศศึกษาดูเหมือนจะค่อย ๆ เลือนหายไป  
 
สำหรับครูมีหลักสูตรการสอนในโรงเรียน แต่ก็มักจะขึ้นกับความถนัดของครูว่าจะเน้นหรือไม่ โดยทั่วไปจะสอนเฉพาะสรีระทางชีววิทยาว่าชายหญิงเป็นอย่างไร ยังขาดการสอดแทรกเรื่องของบทบาทคุณค่า และ
ค่านิยมทางเพศต่อสังคมและวัฒนธรรม
 
แต่ไม่ว่าจะเป็นใครสอนก็ตาม จะต้องให้เหมาะสมกับพัฒนาการและวัยของเด็ก

สอนอะไร?   
แนวคิดหลักในการพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง “เพศศึกษา” ตามหลักสูตรใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข มี 7 ด้าน คือ

  1. พัฒนาการทางเพศ (Human sexual develop ment) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศตามวัย ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
  2. สุขอนามัยทางเพศ (Sexual health) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจและสามารถดูแลสุขภาพอนามัยทางเพศได้ตามวัย เช่น การดูแลรักษาอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ อนามัยการเจริญพันธุ์ความเข้าใจต่าง ๆ ในเรื่องเพศ
  3. พฤติกรรมทางเพศ (Sexual behavior) หมายถึง การแสดงออกถึงพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมกับเพศ และวัย
  4. สัมพันธภาพ (Interpersonal relation) หมายถึง การสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับบุคคลในสังคม การสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับเพื่อนเพศเดียวกัน และต่างเพศ การเลือกคู่ การเตรียมตัวก่อนสมรส และการสร้างครอบครัว
  5. ทักษะส่วนบุคคล (Personal and communi cation skills) หมายถึง ความสามารถในการจัดการสถาน การณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะ การปฏิเสธ ทักษะการขอความช่วยเหลือ ทักษะการจัดการกับอารมณ์  ทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ
  6. สังคมและวัฒนธรรม (Society and culture) หมายถึง ค่านิยมในเรื่องเพศที่เหมาะสมสอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมไทย และการปรับตัวต่อกระแสการเปลี่ยน แปลงของสังคมโดยเฉพาะจากสื่อที่ยั่วยุต่าง ๆ
  7. บทบาททางเพศ (Gender role) หมายถึง การสร้างเอกลักษณ์ทางเพศที่เหมาะสม ความเสมอภาคทางเพศ และบทบาททางเพศที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคมอย่างสมดุลการสอนเพศศึกษาในแต่ละช่วงอายุ
กุมารแพทย์ควรจะมีบทบาทในการให้เพศศึกษาแก่พ่อแม่ และเด็กตั้งแต่เล็กในคลินิกตรวจสุขภาพ ซึ่งควรจะขยายเป็นทุกอายุจนถึงวัยรุ่น เนื้อหาที่จะสอนหรือให้ความรู้ในแต่ละด้าน ควรให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย  จำแนกออกเป็นช่วงเด็กเล็กหรืออนุบาล (3-5 ปี), ประถมตอนต้น (6-8 ปี), ประถมตอนปลาย (9-11 ปี), มัธยมต้น (12-14 ปี) และมัธยมปลาย รวมปวช. (15-17 ปี)
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=3122&sub_id=3&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด