LDL, HDL ( ไขมันดีและไขมันไม่ดี )


955 ผู้ชม


สำหรับท่านที่ชอบศึกษาในเรื่องของสุขภาพและเรื่องโภชนาการต่างๆ คงต้องเคยเห็นคำว่า LDL, HDL หรือไขมันดีและไขมันไม่ดีกันอยู่เป็นประจำ เรามาทำความรู้จักกับ LDL และ HDL ในบทความนี้กันดีกว่า...         สำหรับท่านที่ชอบศึกษาในเรื่องของสุขภาพและเรื่องโภชนาการต่างๆ คงต้องเคยเห็นคำว่า LDL, HDL หรือไขมันดีและไขมันไม่ดีกันอยู่เป็นประจำ เรามาทำความรู้จักกับ LDL และ HDL ในบทความนี้กันดีกว่า... 

ไขมันดี (HDL) และไขมันไม่ดี (LDL) มีความสัมพันธ์ชัดเจนกับการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

LDL ( ไขมันไม่ดี ) คืออะไร ?

LDL มาจากคำว่า Low Density Lipoprotein ( ไขมันไม่ดี ) มีความสัมพันธ์ชัดเจนกับการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นไขมันที่สามารถทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวได้ ไขมัน LDL ทำหน้าที่ลำเลียงคอเลสเตอรอลทั้งหลายออกจากตับเข้าสู่กระแสเลือดในร่างกาย หากคอเลสเตอรอลเหลืออยู่ในกระแสเลือด ก็จะสะสมเป็นตุ่มเกาะอยู่ตามผนังของหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแข็ง เกิดภาวะหลอดเลือดตีบนานเข้าก็จะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน และส่งผลต่อการเป็นโรคความดันสูง โรคหัวใจขาดเลือด ไตวาย อัมพาตอัมพฤกษ์ เป็นต้น

หลอดเลือดและคอเลสเตอรอล

หลอดเลือดและคอเลสเตอรอล
( credits: tappmedical.com, aboutyourcholesterol.com )

LDL ( ไขมันไม่ดี ) มาจากไหน ?

1. อาหารจำพวกไขมันอิ่มตัว ( Saturated Fat ) ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เป็นต้น ( ยกเว้นเนื้อปลา ) รวมไปถึง ไข่ เนย ชีส น้ำสลัดสำเร็จรูป ไอศกรีม นมโฮลมิลค์ เค้ก คุ้กกี้ เป็นต้น และไขมันอิ่มตัวยังได้มาจากพืชตระกูลปาล์มอีกด้วย เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น
ที่ต้องเรียกกันว่าไขมันอิ่มตัวเนื่องจากโมเลกุลของ LDL จะประกอบด้วยออกซิเจน ไฮโดรเจน และคาร์บอน เรียงตัวกันแน่นจนไม่มีช่องว่างของโมเลกุลที่สามารถทำปฏิกิริยากับโมเลกุลอื่นได้อีก จึงเรียกกันว่า "ไขมันอิ่มตัว"
2. อาหารจำพวกไขมันทรานส์ ( Trans Fat ) ไขมันทรานส์นี้เป็นไขมันไม่อิ่มตัว ( Unsaturated Fat ) อีกชนิดหนึ่ง ที่ไม่ใช่ไขมันไม่อิ่มตัวทั่วไป ( ไม่เหมือนไขมันไม่อิ่มตัวจาก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำ น้ำมันมะกอก ) ไขมันทรานส์จะมีเรียงตัวของโมเลกุลแบบหันไปคนละทาง โดยไขมันชนิดนี้พบได้มากในสัตว์เคี้ยวเอื้องเช่นวัว ควาย แต่การนำมาใช้เป็นอาหารจะมีการแปรรูปโดยการเติมอะตอมของไฮโดรเจนลงไป ทำให้ไขมันไม่อิ่มตัวเปลี่ยนเป็นไขมันทรานส์ ( ไขมันที่เป็นไข ) เพื่อที่จะเอาไปทำเนยเทียม หรือประกอบอาหารสำเร็จรูปต่างๆ เช่นครีมเทียม ขนมกรุบกรอบต่างๆ ขนมที่มีมาการีนต่างๆ เป็นต้น

โมเลกุลของ LDL และ HDL

โมเลกุลของ LDL และ HDL ( รูปภาพจาก www.adam.com )

HDL คืออะไร ?

HDL มาจากคำว่า High Density Lipoprotein ( ไขมันที่ดี ) เป็นไขมันที่มีความหนาแน่นสูง HDL ดีกับหลอดเลือดแดงเนื่องจาก ช่วยป้องกันไม่ให้ คอเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอไรด์, และ LDL สะสมในหลอดเลือดแดง หากขาด HDL ในเลือด ก็จะทำให้เป็นการเพิ่มโอกาสการเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดได้

เราสามารถเพิ่ม HDL ได้อย่างไร ?

การเพิ่ม HDL ให้กับร่างกายนั้นทำได้หลายวิธี เช่น
1. การออกกำลังกายที่มีการใช้แรงงานปานกลางหรือแอโรบิก ( Aerobic ) เป้นการออกกำลังกายที่ทำให้เหนื่อยจนเหงื่อออก และออกกำลังต่อเนื่อง 10 นาทีขึ้นไป เช่น เต้นแอโรบิก ว่ายน้ำ เดินเร็ว วิ่งจ๊อกกิ้ง เป็นต้น ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที หรือทุกวันถ้าเป็นไปได้
2. ควบคุมอาหาร การควบคุมอาหารที่มีแคลอรี่สูงเกินความจำเป็น ควบคู่กับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเผาผลาญพลังงาน เป็นการช่วยเพิ่ม HDL ได้ และควรเลิกสูบบุหรี่เนื่องจากบุหรี่จะทำให้ HDL ต่ำลง
3. หลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ เนื่องจากไขมันทรานส์จะไปเพิ่ม LDL ( ไขมันไม่ดี ) และลด HDL ลง อาหารที่มีไขมันทรานส์มากได้แก่ เนยเทียม มาการีน ครีมเทียมต่างๆ ขนมกรุบกรอบต่างๆ เป็นต้น
4. เพิ่มอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่นพืชผักต่างๆ ( Insoluble ) และ อาหารจำพวกธัญพืชต่างๆ ( Soluble ) หรืออาหารจำพวกเมล็ดธัญพืชไม่ขัดสี ( Whole Grain ) เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต โฮลวีท นักวิจัยพบว่าใยอาหารจำพวกนี้สามารถลด LDL ไตรกลีเซอไรด์ และสามารถเพิ่มไขมัน HDL ได้
5. อย่าลืม ไขมันโอเมก้า 3 ( Omega 3 ) ไขมันโอเมก้า 3 นั้นมีสามตัว ตัวที่หนึ่งคือกรดแอลฟาไลโปอิค (Alpha lipoic acid–ALA) พบมากในน้ำมันพืชบางชนิดและน้ำมันถั่วเหลือง ตัวที่สองคือ กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิก (Eicosapentaenoic: EPA) และตัวที่สามเรียกว่ากรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก หรือ DHA ( Docosahexaenoic acid ) กรดไขมันตัวที่ 2 และ 3 พบมากในน้ำมันปลาทุกชนิด โดยเฉพาะปลาทะเล

ldl และ hdl ในอาหารต่างๆกัน
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2668&sub_id=95&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด