ปัญหาสุขภาพจิต...คับแค้นสังคม...


730 ผู้ชม


ถ้าท่านได้อ่านข่าวคนขับซาเล้งวัย 50 ปี ที่อ้างว่าเก็บกด เซ็งกับชีวิตที่ยากจน ต้องเก็บขยะขายประทังชีวิต ต้องถูกสังคมเหยียดหยาม จึงต้องนำสารเคมีไปไล่สาดใส่หญิงสาวกลางเมืองกรุง และมีผู้ได้รับบาดเจ็บถึง 4 ราย ทำให้เกิดความปั่นป่วนและหวาดผวาไปทั่วเมือง ซึ่งตอนนี้เจ้าหน้าที่ได้จับกุมตัวได้แล้ว และสอบสอนได้ว่ามีประเด็นของสารเสพย์ติดเข้ามาด้วย..
         ถ้าท่านได้อ่านข่าวคนขับซาเล้งวัย 50 ปี ที่อ้างว่าเก็บกด เซ็งกับชีวิตที่ยากจน ต้องเก็บขยะขายประทังชีวิต ต้องถูกสังคมเหยียดหยาม จึงต้องนำสารเคมีไปไล่สาดใส่หญิงสาวกลางเมืองกรุง และมีผู้ได้รับบาดเจ็บถึง 4 ราย ทำให้เกิดความปั่นป่วนและหวาดผวาไปทั่วเมือง ซึ่งตอนนี้เจ้าหน้าที่ได้จับกุมตัวได้แล้ว และสอบสอนได้ว่ามีประเด็นของสารเสพย์ติดเข้ามาด้วย.. 

ในเรื่องนี้ น.พ. ทวี ตั้งเสรี รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการวิเคราะห์ และอธิบายว่า

การที่คนเราโกรธจนทนไม่ไหวและต้องแสดงออกมาด้วยความรุนแรงนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นกับคนทุกคน

"การแสดงความรุนแรงมักจะเกิดขึ้นกับคนที่ได้รับความกดดันสูงมาก และไม่สามารถควบคุมอารมได้ รวมไปถึงมีปัญหากับการควบคุมอารมณ์"

ส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่โกรธง่าย หรือชอบเก็บกด ไม่ระบายความโกรธออกมา หรือมีโรคเกี่ยวกับสมอง หรือมีอาการทางจิต เช่น ภาวะอารมณ์แปรปรวน ถ้าหากคนกลุ่มนี้ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดด้วย ก็จะทำให้มีโอกาสแสดงอาการได้มากกว่าปกติ
น.พ.ทวี ตั้งเสรี กล่าวเสริมอีกว่า จากการทำงานกับผู้ป่วยทางจิตที่ผ่านมา พบว่า ผู้ที่ดื่มสุราจะมีโอกาสแสดงอาการผิดปกติทางจิต สร้างความรุนแรงได้ง่ายและบ่อยครั้ง กว่าผู้ป่วยที่ใช้ยาเสพติดประเภทอื่นๆ เนื่องมาจากสุราเป็นสิ่งที่หาได้ง่าย ผู้ที่มีอาการป่วยทางจิตจึงห้ามดื่มสุราเป็นอันขาด

ประชาชนทุกคนควรจะต้องเรียนรู้เรื่องการพัฒนาทางด้านสุขภาพจิต เพื่อส่งเสริมนิสัยที่ดี ไม่เก็บสะสมอารมร้ายโดยที่ไม่รู้ตัว

จนสุดท้ายไม่สามารถแก้ไขการควบคุมอารมณ์ได้ โดยการเริ่มจากการพัฒนาตัวเองในการควบคุมอารมณ์ พัฒนาจากคนในครอบครัว คนใกล้ชิด และค่อยๆกระจายเป็นวงกว้างสู่สังคมรอบตัว ก็จะทำให้สังคมน่าอยู่มากยิ่งขึ้น
วิธีง่ายๆในการจัดการกับความเครียด เช่น การได้พูดคุยออกมาปรึกษากับคนใกล้ชิด ปรึกษาแพทย์ การเตือนตนเองพูดกับตัวเองหน้ากระจก นับ 1 ถึง 10 และหายใจเข้าลึกๆเวลาโกรธ การร้องเพลง การออกกำลังกาย การเล่นกับสัตว์เลี้ยง เข้าวัดทำบุญ ช่วยเหลือคนรอบข้าง ร่วมกิจกรรมช่วยเหลือสังคมต่างๆ และอีกมากมาย กิจกรรมต่างๆจะชอบปลดปล่อยพลังงานของเราออกมา ความเครียดจะทุเลาลงและค่อยๆหายไปในที่สุด อีกทั้งยังช่วยให้สภาพจิตใจเราเข้มแข็งมากขึ้นอีกด้วย

การพัฒนาด้านบุคลิกภาพ บุคลิกภาพของแต่ละคน เป็นเรื่องที่สะสมมาตั้งแต่วัยเด็ก ครอบครัวจึงมีส่วนในการช่วยเหลือการพัฒนาบุคลิกภาพ

การดูแลให้เด็กรู้จักจัดการกับอารมณ์ กล้าแสดงออกในขอบเขตของสังคม ผู้ใหญ่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้เยาวชนเห็น เพราะเด็กจะเรียนรู้วิธีจัดการกับปัญหาจากคนที่เลี้ยงดูเขา
หากจัดการกับวงจรเล็กๆ เริ่มจากตัวเราเอง และครอบครัวไม่ได้ ปัญหาต่างๆก็จะทะลักออกมาสู่สังคมส่วนรวม...

 

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2469&sub_id=71&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด