เรามาดูกันว่า เราควรทำอย่างไรถ้าหากเราโดนน้ำกรดเข้าที่ผิวหนังของเรา...... หากท่านได้อ่านข่าวในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข่าวพาดหัวหน้าหนึ่งว่ามีคนโรคจิตไล่ฉีดน้ำกรดใส่ผู้หญิงที่เดินผ่านไปมา กลางกรุงเทพมหานคร แต่ก็ยังโชคดีที่ไม่ได้รับบาดเจ็บมากมายเพราะล้างและทำความสะอาดแผลได้ทัน แต่ยังไงข่าวเช่นนี้ก็สร้างความหวาดกลัวให้กับคนได้ไม่น้อย... ถ้าหากว่าวันดีคืนดีเราโดนน้ำกรดกับตัวเราบ้าง อาจจะด้วยอุบัติเหตุหรือปัจจัยอะไรก็ตาม เราจะมีวิธีรับมือกับมันยังไง เรามาดูกันว่าเราจะทำยังไง โดยคุณว่านน้ำ ได้แชร์ความรู้จากประสบการณ์ โดยสอบถามจาก พญ.รังสิมา วณิชภักดีเดชา อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลศิริราช เพื่อให้ทุกท่านได้ทราบ แพทย์หญิงรังสิมา ได้กล่าวว่า เวลาผิวหนังของเราโดนน้ำกรด จะรู้สึกแสบร้อนที่ผิวหนังทันทีหากเป็นกรดชนิดเข้มข้น แต่ถ้ากรดมีงคามเข้าข้นไม่มาก จะเกิดอาการแสบหนังจากผิวหนังถูกน้ำกรดประมาณ 10-20 วินาที ถ้าหากผิวหนังเราโดนน้ำกรด ก็อย่าตื่นตระหนกเกินไป ตั้งสติ และอย่าพยายามเอามือไปขยี้หรือป้ายน้ำกรดออก นั่นจะทำให้น้ำกรดกระจายเป้นวงกว้างมากขึ้น ดีที่สุดท่านควรหาสบู่และน้ำเปล่ามาล้างออกจะดีที่สุด เพราะสบู่จะมาทำลายฤทธิ์ของกรด แต่ ถ้าตอนนั้นไม่มีสบู่ให้รีบใช้น้ำสะอาดล้างออกให้เร็วที่สุด โดยใช้น้ำล้างแบบเปิดน้ำให้ไหลผานบริเวณที่โดนน้ำกรด ไม่ควรเอามือถู ในการล้างแผลควรใช้น้ำสะอาดหรือน้ำสบู่ปริมาณมากๆ เทผ่านแผล โดยพยายามไม่ให้กระจายไปโดนผิวหนังพื้นที่อื่นเท่าที่จะทำได้ ห้ามเอามือถูเพราะว่าอาจจะทำให้น้ำกรดกระจายออกเป็นบริเวณกว้าง และทำให้ผิวหนังถลอก อาจจะทำให้เกิดแผลเป็น เมื่อล้างแผลแล้วก็ควรเอาผ้ามาพันทับไว้ เพื่อป้องกันแผลไปเสียดสีกับเสื้อผ้า แล้วจึงรีบไปพบแพทย์ ถ้าน้ำกรดที่ถูกผิวหนังของเรามีความเข้มข้นต่ำ ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือดำ ภายใน 1-2 วัน ให้ทำความสะอาดแผลทุกวัน และไม่ควรลอกสะเก็ดออก ถ้าแผลมีอาการอักเสบ ควรพบแพทย์ทันที แต่ถ้าน้ำกรดที่โดนผิวหนังมีความเข้มข้นสูง แผลจะไหม้ลึกถึงหนังแท้ อาจจะทำให้เกิดอาการอักเสบตามมา ควรทำความสะอาดแผลทุกวัน แผลจากน้ำกรดความเข้มข้นสูงจะเสี่ยงต่อการเป็นแผลเป็นมาก ควรรีบพบแพทย์ ข้อควรระวังมากที่สุดคืออย่าให้น้ำกรดเข้าตา หรืออย่าเอามือที่สัมผัสน้ำกรดมาขยี้ตาเป้นอันขาด เพราะจะเป็นอันตรายร้ายแรงกับดวงตา จนถึงขั้นตาบอดได้ ถ้าท่านได้อ่านบทความนี้แล้วก็น่าจะเป็นประโยชน์ในการปฐมพยาบาลเบื้อต้นหาก ท่านโดนน้ำกรด และก็ควรระวังคอยช่วยกันสอดส่องดูแลพวกที่ชอบป่วนมาฉีดน้ำกรดใส่คนอื่น หากพบบุคคลน่าสงสัยควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทางการทราบ หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ ศูนย์ดับเพลิงกรุงเทพมหานคร | 199 | หน่วยแพทย์กู้ชีพ กทม. | 1555 | | | แจ้งเหตุร้าย | | กองปราบปราม | 1195 | ตำรวจทางหลวง | 1193 | สายด่วนกรมทางหลวง | 1586 | ตำรวจท่องเที่ยว | 1155 | ศูนย์นเรนทร | 1669 | | | ศูนย์รับแจ้งอุบัติเหตุ 24 ชม. | | มูลนิธิร่วมกตัญญู | 0-2751-0951-3 | ศูนย์วิทยุกรุงธน | 0-2451-7228-9 | ศูนย์วิทยุปอเต็กตึ๊ง 24 ชม. | 0-2226-4444-8 | ศูนย์วิทยุรามา | 0-2354-6999 | ศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาลกรมตำรวจ | 1691 | ศูนย์เอราวัณ กทม. (ศูนย์รับแจ้งเหตุ) | 1646 | ศูนย์ควบคุมระบบการจราจรบนทางด่วน | 1543 | ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร | 1197 | ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารสาธารณะ กรมการขนส่งทางบก | 1584 | ศูนย์จราจรอุบัติเหตุ จส.100 | 1137 | สถานีวิทยุชุมชน ร่วมด้วยช่วยกัน (FM 96) | 1677 | สถานีวิทยุ สวพ. 91 | 1644
| |
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2456&sub_id=95&ref_main_id=2