เมื่อชุดชั้นในทำให้ป่วย


1,570 ผู้ชม


ชุดชั้นในเป็นผู้ช่วยเสริมบุคลิกภาพและความมั่นใจให้ผู้หญิง แต่ถ้าเลือกไม่ถูก ก็อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเจ็บป่วยได้ มาดูกันสิว่า ชุดชั้นในของคุณเข้าข่ายนี้ด้วยหรือเปล่า         ชุดชั้นในเป็นผู้ช่วยเสริมบุคลิกภาพและความมั่นใจให้ผู้หญิง แต่ถ้าเลือกไม่ถูก ก็อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเจ็บป่วยได้ มาดูกันสิว่า ชุดชั้นในของคุณเข้าข่ายนี้ด้วยหรือเปล่า 

 
นอกจากแบ่งประเภทตามช่วงอายุ และขนาดคัพ คือตั้งแต่ A-F แล้ว ยังมีการแบ่งประเภทตามกิจกรรมและสรีระของผู้สวมใส่อีกด้วย เช่น ผู้นิยมออกกำลังกาย ควรเลือกใช้บราที่เน้นความกระชับ ซึมซับเหงื่อ และระบายความร้อนได้ดี กลุ่มคุณแม่ที่น้ำหนักเต้าทรงเพิ่มขึ้นควรใช้บราที่มีโครงใหญ่และทำผ้าคอตต้อน เนื่องจากผิวหน้าอกบอบบางกว่าเดิม ส่วนสาวๆ ที่มีน้ำหนักของเต้าทรงมาก ตั้งแต่คัพ C ขึ้นไป ให้เลือกบราชนิดที่มีสายคาดหลังแผ่นกว้างเพื่อช่วยพยุงเต้าทรง ส่วนเวลานอนควรใส่บราชนิดที่ไม่มีโครงและยืดหยุ่นได้ดี สำหรับคนอ้วน ผู้ที่ผ่าตัดทำศัลยกรรม หรือสูญเสียเต้านม สามารถสั่งตัดบราที่เหมาะสมกับคุณได้ที่ Wacoal Body Clinic 
ในการเลือกซื้อบรา ถ้าคุณลองใส่แล้วมีช่องว่างระหว่างบรากับหน้าอก แสดงว่าคัพใหญ่เกินไป แต่ถ้าหน้าอกล้นออกด้านข้าง แปลว่าคัพเล็กเกินไป ขนาดคัพที่พอดีกับหน้าอกนั้น ยอดอกจะต้องชนกับส่วนที่แหลมที่สุดของบรา การใส่บราที่เล็กเกินไปอาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพของคุณได้
ผลกระทบที่คาดไม่ถึง
  • สายบราที่รัดตึงเกินไปจะทำให้ปวดศีรษะ ไหล่ หลัง คอ และเป็นจุดเริ่มต้นของการปวดหัวเรื้อรังหรือไมเกรน เนื่องจากกล้ามเนื้อช่วงไหล่ถูกดึงรั้งจนเลือดบริเวณนั้นไหลเวียนไม่สะดวก
  • การใส่บราไซส์เล็กเกินไปทำให้เกิดภาวะเครียดต่อระบบกล้ามเนื้อ ระบบหายใจและระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เหนื่อยง่าย บางรายมีอาการเจ็บหน้าอกเรื้อรัง
  • จากการศึกษาเรื่อง Bra and Breast Cancer study ที่สหรัฐอเมริกา พบว่าการใส่บราที่รัดแน่นต่อเนื่องเป็นเวลานานเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม เพราะแรงกดทำให้เกิดการคั่งของเลือดและน้ำเหลือง และเกิดเป็นก้อนเนื้อที่บริเวณหน้าอก ซึ่งอาจกลายเป็นเนื้อร้ายในเวลาต่อมา

 
บรากาวได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะช่วยเพิ่มขนาดหน้าอกได้อย่างเป็นธรรมชาติ  และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก โดยแบ่งเป็นประเภทที่ทำจากซิลิโคน และที่ทำจากผ้า ทั้งสองประเภทมีแถบกาวชนิดพิเศษเพื่อยึดระหว่างบรากาวกับหน้าอก
ข้อแนะนำในการใช้
  • ควรเลือกขนาดของบราให้เหมาะสมกับบรากาวที่เสริมเข้าไป
  • ก่อนใช้ ควรทำความสะอาดผิวบริเวณที่สวมใส่ให้แห้งและไม่ควรทาโลชั่น น้ำหอม แป้ง หรือผลิตภัณฑ์ดูแลผิวใดๆ
  • ถึงแม้ ศูนย์ Women’s Health Boutique สหรัฐอเมริกา เชื่อว่า การใช้บรากาวปลอดภัยและไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ แต่ถ้าเกิดการระคายเคือง หรือคันบริเวณเต้านม ควรให้เลิกใช้ทันที
  • หลังใช้ควรทำความสะอาดบราด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ หรือน้ำอุ่น ใช้ผ้าซับน้ำด้านที่เป็นกาว นำไปผึ่งในที่ร่มจนแห้งสนิท แล้วจึงเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติ

 
อุปกรณ์สำคัญที่ช่วยจัดเรียงกล้ามเนื้อหน้าท้อง ทำให้หน้าท้องแบนราบ สะโพกและต้นขากระชับได้รูป แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
  1. PANTS มีลักษณะคล้ายกางเกงใน แต่กระชับกว่า
  2. HIPS เน้นยกสะโพก เก็บเนื้อบริเวณต้นขา
  3. GIRDLE เน้นความกระชับ หน้าท้องแบนราบ
  4. BODY SUIT ช่วยกระชับหุ่นตั้งแต่หน้าอก ลงมาถึงช่วงล่าง 
ผลกระทบที่คาดไม่ถึง
  • ผู้ที่สวมสเตย์รัดหน้าท้องนานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อหลังไม่แข็งแรง ปวดหลังเป็นประจำหรือปวดหลังเรื้อรัง แม้เวลานั่ง ยืน หรือเดิน
  • อวัยวะภายในช่องท้องทำงานได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากแรงบีบรัดของสเตย์ โดยอวัยวะที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ กระเพาะอาหาร ลำไส้ ระบบขับถ่าย
  • มีผลต่อระบบไหลเวียนเลือด ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้นและหายใจได้ไม่เต็มที่ในบางราย
  • การสวมสเตย์รัดทรงนานเกินไปจะทำให้รู้สึกไม่สบายและเกิดความเครียด ในระยะยาวจะส่งผลให้ระบบในร่างกายทำงานผิดปกติ เช่น ระบบกล้ามเนื้อ (อาการปวดเมื่อยเรื่องรัง) ระบบขับถ่าย (ท้องผูกบ่อย) ระบบย่อยอาหาร (อาหารไม่ย่อยหรือย่อยยาก เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือเป็นแผล)

 
จี-สตริง เป็นที่นิยมในหมู่หญิงสาวที่ไม่ต้องการให้เห็นขอบกางเกงชั้นในเวลาใส่กางเกงหรือกระโปรงแนบเนื้อ แต่การใส่ จี-สตริง โดยขาดความรู้ด้านสุขอนามัยย่อมส่งผลเสียได้เช่นกัน
ผลกระทบที่คาดไม่ถึง
  • การใส่ จี-สตริง ที่มีขนาดเล็ก หรือสายรัดตึงเกินไป ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อบริเวณง่ามก้นหรือเกิดการเสียดสีจนอาจเป็นแผลผิวหนังถลอก หรืออักเสบที่บริเวณอวัยวะเพศ หรือทวารหนักได้
  • หากรักษาความสะอาดไม่ดีพอ สายของ จี-สตริง จะเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียบริเวณรอบทวารหนัก ชื่อ Gardinerella Vaginalis เป็นเหตุให้แบคทีเรียดังกล่าวแพร่เข้าสู่ช่องคลอด เกิดปัญหาการติดเชื้อ มีอาการตกขาว กลิ่นเหม็น และคันที่บริเวณอวัยวะเพศ

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2377&sub_id=103&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด