โรคชิคุนกุนยา chikungunya เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะ การติดต่อ และสายพันธ์คล้ายไข้เลือดออก เดงกี่ (dengue hemorrhagic fever) หรือที่เรารู้จักกันดีคือไข้เลือดออก ที่ต่างออกไปคือ ไม่มีการรั่วไหลของสารเหลวออกนอกเส้นเลือดหรือทำให้เกิดอาการช๊อคเหมือนไข้เลือดออกเท่านั้น
เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็นไวรัสอาร์เอ็นเอ ( RNA Virus )จัดอยู่ใน
genus alphavirus และ family Togaviridae
มียุงลาย Aedes aegypti, Ae. albopictus เป็นพาหะนำโรคเหมือนไข้เลือดออก
วิธีการติดต่อ ติดต่อกันได้โดยมียุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้
ระยะฟักตัว โดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน
ระยะติดต่อ ระยะไข้สูงประมาณวันที่ 2 – 4 เป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก
อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกายและอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง (conjunctival injection) แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคืออาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้
หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (migratory polyarthritis) อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี ไม่พบผู้ป่วยที่มี
อาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก อาจพบการตรวจรัดแขนเกิดจ้ำเลือดได้( tourniquet test) ให้ผลบวก และจุด
เลือดออก (petichiae) บริเวณผิวหนังได้
ความแตกต่างระหว่างไข้เลือดออก กับการติดเชื้อชิคุนกุนยา
1. ใน chikungunya มีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างฉับพลันกว่าในไข้เลือดออกเดงกี่ DF/DHF คนไข้จึงมาโรงพยาบาล
เร็วกว่า
2. ระยะของไข้สั้นกว่าในไข้เลือดออกเดงกี ผู้ป่วยที่มีระยะไข้สั้นเพียง 2 วัน พบใน chikungunya ได้
บ่อยกว่าใน ไข้เลือดออกเดงกี่ DF/DHF โดยส่วนใหญ่ไข้ลงใน 4 วัน
3. ถึงแม้จะพบจุดเลือดได้ที่ผิวหนัง และการทดสอบทูนิเกต์ให้ผลบวกได้ แต่ส่วนใหญ่จะ
พบจำนวนทั้งที่เกิดเองและจากทดสอบน้อยกว่าในไข้เลือดออกเดงกี่ DF/DHF
4. ไม่พบผื่นหาย( convalescent petechial rash )ในไข้ชิคุนกุนยาเหมือนในไข้เลือดออกเดงกี่ DF/DHF ที่มีลักษณะวงขาวๆ
5. พบผื่นได้แบบปื้นแดงๆ๖ maculopapular rash) และตาแดง( conjunctival infection) ใน ชิคุนกุนยาได้บ่อย
กว่าในเดงกี
6. พบอาการปวดตามเนื้อตัว ปวดตามข้อ( myalgia / arthralgia )ในชิคุนกุนยา ได้บ่อยกว่าในเดงกี
7. ในชิคุนกุนยา chikungunya เนื่องจากไข้สูงฉับพลัน พบการชักร่วมกับไข้สูงได้ถึง 15% ซึ่งสูงกว่าในไข้เลือดออกเดงกี่ถึง 3 เท่า
ระบาดวิทยาของโรค การติดเชื้อชิคุนกุนยา
ไวรัสนี้เดิมมีรกรากอยู่ในทวีปอาฟริกา ในประเทศไทยมีการตรวจพบครั้งแรกพร้อมกับที่มีไข้เลือดออกระบาดและเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย เมื่อ พ.ศ. 2501 โดย Prof.W McD Hamnon แยกเชื้อชิคุนกุนยา ได้จากผู้ป่วยโรงพยาบาลเด็ก กรุงเทพมหานคร ในทวีปอาฟริกามีหลายประเทศพบเชื้อชิคุนกุนยา มีการแพร่เชื้อ 2 วงจรคือ primate cycle (rural type)(คน-ยุง-ลิง) ซึ่งมี Cercopithicus monkeys หรือ ลิงบาบูนBarboon เป็นพาหะขยายเชื้อ( amplifyer host) และอาจทำให้มีผู้ป่วยจากเชื้อนี้ประปราย หรืออาจมีการระบาดเล็กๆ (miniepidemics) ได้เป็นครั้งคราว เมื่อมีผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้อนี้อยู่ และคนอาจนำมาสู่ชุมชนเมือง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มียุงลายชุกชุมมาก ทำให้เกิด urban cycle (คน-ยุง) จากคนไปคน โดยยุง Aedes aegypti และ Mansonia aficanus เป็นพาหะ
ในทวีปเอเซีย การแพร่เชื้อต่างจากในอาฟริกา การเกิดโรคเป็น urban cycle จากคนไปคนโดยมี Ae. aegypti เป็นพาหะที่สำคัญ ระบาดวิทยาของโรคมีรูปแบบคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อที่นำโดย Ae. aegypti อื่นๆ ซึ่งอุบัติการของโรคเป็นไปตามการแพร่กระจาและความชุกชุมของยุงลาย
หลังจากที่ตรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย ก็มีรายงานจากประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย ได้แก่ เขมรเวียตนาม พม่า ศรีลังกา อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ในประเทศไทยมีการตรวจพบครั้งแรกพร้อมกับที่มีไข้เลือดออกระบาดและเป็นครั้งแรก
มีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา 6 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2531 ที่จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ.
2534 ที่จังหวัดขอนแก่นและปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. 2536 มีการระบาด 3 ครั้งที่จังหวัดเลย
นครศรีธรรมราช และหนองคาย พบผู้ป่วยที่ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ สถานการณ์โรคมีแนวโน้มที่ดี
ขึ้น มีผู้ป่วยรายใหม่น้อยลง ตั้งแต่เดือนกันยายน 2551 ถึงวันที่ 12 ตุลาคม 2551 พบรายงานผู้ป่วย
รวมทั้งหมด 170 ราย ใน 2 จังหวัด คือนราธิวาส ใน 3 อำเภอ ได้แก่ ยี่งอ 99 ราย เจาะไอร้อง 9 ราย
และ อ.แว้ง 44 ราย และพบที่ อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี จำนวน 18 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
โรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้นและมีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น พบ
โรคนี้ได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากไข้เลือดออกและหัดเยอรมันที่ส่วนมากพบในผู้อายุน้อยกว่า 15
ปี ในประเทศไทยพบมีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา 6 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2531 ที่จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ.
2534 ที่จังหวัดขอนแก่นและปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. 2536 มีการระบาด 3 ครั้งที่จังหวัดเลย
นครศรีธรรมราช และหนองคาย
การรักษา ไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง (specific treatment) การรักษาเป็นการรักษาแบบ
ประคับประคอง (supportive treatment) เช่นให้ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ และการพักผ่อน
ที่มา https://www.thaihealth.net/h/article731.html