ไขความลับ ทำไมไข้หวัดใหญ่ ถึงชอบหน้าหนาว


838 ผู้ชม


แพทย์และนักวิทยาศาสตร์โต้เถียง และความสงสัยมานานว่า เหตุใด โรคไข้หวัดใหญ่ หรือ Influenza จึงระบาดหนักในหน้าหนาว นักวิจัยในนิวยอร์ค สหรัฐ พยายามไขความลี้ลับนี้ และพบว่า อากาศที่หนาวนี่แหละคือสิ่งที่ทำให้ไวรัสระบาดหนัก

ตัวการสำคัญคือ สภาวะที่อากาศหนาว ทำให้ไวรัส มีความคงตัวอยู่ที่อากาศหรือสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น โดยเฉพาะอากาศที่หนาวและแห้ง

นพ.ปีเตอร์ นักวิจัยจาก Mount Sainai School of Medicine กล่าวว่า " ไวรัสไข้หวัดใหญ่ จะแพร่กระจายในสถานีรถไฟใต้ดิน ได้เร็วกว่า ห้องที่อุ่นๆ " โดย ตีพิมพ์ผลวิจัยเหล่านี้ลงในวารสาร PLoS Pathogens. มูลเหตุชักจูงให้เกิดการศึกษานี้ เกิดจากการเข้าไปค้นหาวารสาร เอกสารเก่าๆ เกี่ยวกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อ 1918 ที่ระบาดไปทั่วโลกทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายล้านคน (flu pandemic) โดยเขาสงสัยว่า เหตุใดการระบาดถึงเกิดรวดเร็วและรุนแรง

ตั้งแต่อดีต ตัวโรค ไข้หวัดใหญ่เอง ก็มาจากรากศัพท์ ภาษาอิตาลี Influenza = influenza di freddo หรือ influence of the cold (พลพวงจากความเย็น) นั่นคงจะเป็นนิยามที่เกิดจากการสังเกตมานานหลายร้อยปี ไข้หวัดใหญ่ในทวีปทางซีกเหนือ จะระบาดในช่วงพย. ถึง มีนาคม ส่วนทางซีกโลกใต้ จะระบาดในช่วง พค. ถึง กย. แต่ในเขตศูนย์สูตร หรือเขตร้อน อาจจะไม่มีการระบาดหนัก หรือประปรายตลอดปี  

มีสมมุติฐานมากมายที่เคยมีผู้นำมาอธิบายถึงการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในหน้าหนาว ไล่มาตั้งแต่ เป็นเพราะผู้คนมักอยู่รวมกันในบ้าน เด็กๆ มักรวมกันแออัดในห้องที่อบอุ่น หรือการที่ภาวะภูมิคุ้มกันลดลงจากการขาดวิตามินดี เนื่องจากแสงแดดลดลง กระแสอากาศที่พัดเปลี่ยนไป ฯลฯ แม้ยังไม่มีการพิสูจน์ แต่กุญแจหลักหรือ key factor คือ การที่เด็กๆในโรงเรียน เริ่มเป็นและระบาดออกมา ในการระบาดใหญ่ มักเริ่มต้นเกิดจากโรงเรียน แต่อธิบายไม่ได้ว่า ทำไม จึงไม่เกิดการระบาดทั้งปี เช่นเดียวกับสมมุติฐานว่าการอยู่รวมกันอย่างแออัด ซึ่งมีหลายแห่ง ก็อยู่รวมกันอย่างแออัดทั้งปี เป็นต้น

นพ.ปีเตอร์ กล่าวว่า "เราต้องการข้อมูลเพิ่ม และต้องสามารถทดลองได้ด้วย" ซึ่งสิ่งที่ยากลำบากคือ การหาสัตว์ทดลองที่เหมาะสม ในหนูธรรมดา สามารถเป็นไข้หวัดได้ แต่ไม่มีการแพร่กระจาย เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ก็มีปัญหาเชิงจริยธรรมในการทดสอบ เขายังกล่าวอีกว่า "เราเลยย้อนกลับไปดูข้อมูลเก่าเมื่อปี 1919 ในวารสาร JAMA ที่กล่าวถึงการระบาดของไข้หวัดใหญ่ใน แคมป์ โคดี้ ที่ นิว เม็กซิโก  ซึ่งพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า ในทันทีที่การระบาดไปถึงที่นั่น พบว่า มีการตายจำนวนมากของเหล่า หนูทดลอง (Guinea Pig) ตอนแรก ผู้ที่ทำการศึกษาคาดว่า มันคงจะตายจากการเป็นอาหารเป็นพิษ แต่จากการผ่าตรวจหนูเหล่านั้น พบว่า มันเป็นปอดบวมตาย (ปอดบวมหรือนิวมอเนีย pneumonia เป็นผลข้างเคียงที่รุนแรงของไข้หวัดใหญ่--ผู้เขียน)"

นพ.ปีเตอร์ จึงนำหนูทดลอง Guinea pig มาลองให้มันพบกับเชื้อไข้หวัดใหญ่ พบว่า มันติดเชื้อและระบาดไปยังหมู่หนูทดลองได้ จึงเป็นการเริ่มต้นอย่างจริงจัง ของพฤติกรรมของไข้หวัดใหญ่ โดยทำการวิจัยในสภาวะการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิและสภาพความชื้น เราได้ข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

ที่อุณหภูมิ 41 F การแพร่กระจายของไวรัสสูงมากและลดลงจนเหลือ 0 เมื่ออุณหภูมิ 86 F

เช่นกัน การแพร่กระจายของไวรัสสูงมากเมื่อความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเป็น 20% และลดจนไม่แพร่กระจายเลยเมื่อความชื้นเป็น 80%

การแพร่กระจายจะคงอยู่นาน 2 วันที่อุณหภูมิ 41 F

ที่สำคัญคือ การกระจายของไวรัส ผ่านทางอากาศ ไม่ใช่ทางการสัมผัส หรือ respiratory droplets (อานุภาคเล็กๆเช่นไอจาม) เหมือนไข้หวัดธรรมดา

แต่สำหรับการป้องกันที่ดีที่สุด เขากล่าวว่า คือการฉีดยาป้องกันไข้หวัดใหญ่

นี่คือหลักฐานสำคัญชิ้นหนึ่ง ที่ช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมไข้หวัดใหญ่ดีขึ้น ที่สำคัญคือ ในเมืองร้อนและความชื้นสูงเช่นบ้านเรา ที่อุณหภูมิเฉลี่ย สูงกว่ามาก คงจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดหนักๆได้บ้าง

source:CDC
ที่มา https://www.thaihealth.net/h/article654.html 

อัพเดทล่าสุด