โรคฉี่หนู


1,087 ผู้ชม


โรคที่มากับน้ำท่วม หรือหน้าฝนอีกโรค ที่พบบ่อยๆตามทุ่งนา คือ โรคฉี่หนู หรือที่เรียกว่า เล็ปโตสไปโรสิส leptospirosis

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อเล็บโตสไปร่า  (Leptospira interogans)  เชื้อนี้สามารถพบได้ในสุนัข สุนัขจิ้งจอก สัตว์เลี้ยงในบ้าน แต่พบมากในหนูซึ่งสามารถแพร่เชื้อออกมาได้โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค

มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนต่อหนาว มีน้ำขัง

การติดต่อ

สัตว์ที่นำเชื้อได้แก่ พวกสัตว์แทะ เช่น หนู โดยเฉพาะ หนูนา หนูพุก รองลงมาได้แก่ สุนัข วัว ควาย สัตว์พวกนี้เก็บเชื้อไวในไตเมื่อหนูปัสสาวะเชื้อจะอยู่ในน้ำหรือดิน เมื่อคนสัมผัสเชื้อซึ่งอาจจะเข้าทางแผล เยื่อบุในปากหรือตา บางรายงานระบุผิวหนังปกติเชื้อก็สามารถเข้าสู่ร่างกายได้

คนรับเชื้อได้ 2 วิธี

1.ทางตรง โดยการสัมผัสสัตว์ที่นำเชื้อ ระหว่างสัตว์ต่อสัตว์ หรือคนต่อคนโดยเพศสัมพันธ์

2.ทางอ้อม โดยเชื้อที่ปนในน้ำ ในดิน เข้าสู่คนทางผิวหนัง หรือเยื่อบุ ที่ตา ปาก จมูก

อาการที่สำคัญ

หลังจากได้รับเชื้อ 10-26 วันโดยเฉลี่ย 10 วันผู้ป่วยก็จะเกิดอาการของโรคซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ระยะ

1.ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด เมื่อเชื้อเข้าร่างกายจะเข้าสู่กระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้คือ

· ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะทันที มักจะปวด บริเวณหน้าผาก หรือหลังตา บางรายปวดบริเวณขมับทั้งสองข้าง

· ปวดกล้ามเนื้อมากโดยเฉพาะบริเวณ ขา เอว เวลากด หรือจับจะปวดมาก

·ไข้สูงร่วมกับหนาวสั่น

อาการต่างๆอาจอยู่ได้ 4-7 วัน นอกจากอาการดังกล่าวผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน บางรายมีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง

การตรวจร่างกายในระยะนี้ที่สำคัญจะตรวจพบ ผู้ป่วยตาแดง มีน้ำตาหรือขี้ตาไหล คอแดง มีจ้ำเลือดตามผิวหนัง บางรายมีผื่นตามตัว

2.ระยะร่างกายสร้างภูมิ ระยะนี้ถ้าเจาะเลือดจะพบภูมิต่อเชื้อเพิ่ม ผู้ป่วยจะมีไข้ขึ้นใหม่ ปวดศีรษะ คอแข็งมีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง

การวินิจฉัย

จากประวัติการสัมผัสโรค และตรวจร่างกายเมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะตรวจ

·CBC การตรวจเลือดทั่วไป จะพบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่ม บางรายเกร็ดเลือดต่ำ

·ตรวจปัสสาวะ พบเม็ดเลือดแดง ไข่ขาวในปัสสาวะรวมทั้งพบน้ำดี bilirubin ในปัสสาวะ

·ตรวจการทำงานของตับ พบการอักเสบของตับโดยจะมีค่า SGOT,SGPT  สูงขึ้น

·ในรายที่รุนแรงการทำงานของไตจะเสื่อม ค่า Creatinin,BUN จะเพิ่มขึ้น

·การเพาะเชื้อจากเลือดสามารถเพาะได้ในระยะแรกของโรค

·การตรวจทางภูมิคุ้มกัน สามารถตรวจพบหลังการติดเชื้อ 2 สัปดาห์

การรักษา

·ควรให้ยา penicillin,tetracyclin,streptomycin,erythromycin เป็นยาที่ใช้ได้ผลในโรคนี้ และควรจะได้รับยาภายใน 4-7 วันหลังเกิดอาการของโรค

·การได้รับน้ำและเกลือแร่อย่างเพียงพอ


ที่มา  https://www.thaihealth.net/h/article638.html

อัพเดทล่าสุด