โรค มือเท้าปาก hand foot mouth disease


957 ผู้ชม


รคมือ เท้าปาก หรือ hand foot mouth disease เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็ก และเด็กอ่อน อาการเฉพาะคือ มีไข้ ปากมือเท้าเป็นผื่น กินได้น้อย แต่ที่เราสนใจคือ ส่วนหนึ่งของมันเป็นรคระบาดและบางครั้งมีผลข้างเคียงถึงแก่ชีวิตได้ เรามาดูรายละเอียดของโรคนี้กันดู

โรคมือ เท้า ปาก ไม่ใช่โรคเดียวกับโรค foot mouth ที่เกิดในวัวควาย

อาการ

อาการจะเริ่มจาก มีไข้สูง อาจจะถึง 38-39 ในเด็กในวัยเรียนหรือวัยก่อนเรียน เจ็บคอ มีความรู้สึกป่วย ไม่หิว เบื่ออาหาร เพลีย ปวดเมื่อย ประมาณ 2 วัน หลังจากนั้น เด็กจะมีอาการของ

  • ตุ่มหรือแผลเล็กๆ ประมาณ 5-10 ตุ่มที่บริเวณข้างนอกรอบๆปาก หรือข้างในปาก ตุ่มจะเจ็บและเด็กจะกินไม่ได้เพราะเจ็บ
  • ตุ่มแดงเล็กๆ หรือแตกเป็นตุ่มน้ำพอง ที่มือ และเท้า บางทีที่ก้น ในเด็กบางคนมีแค่ผื่น หรือบางคนแตกออกเป็นแผลพุพอง มักจะมีอาการพวกนี้ราว 7-10วันก็จะหายไปเอง ลักษณะตุ่มคือ
    • มักเป็นมากที่มือ โดยเฉพาะหลังมือ ข้างๆนิ้ว ซอกนิ้ว น้อยรายจะเป็นที่ฝ่ามือ
    • เช่นเดียวกับเท้า มักเป็นหลังเท้าและซอกนิ้วมากกว่าฝ่าเท้า

 เด็กส่วนใหญ่เมื่อผื่นหาย ก็จะหายจากอาการ และส่วนใหญ่ มักไม่ต้องการการรักษาพิเศษใดๆ

โรคมือเท้าปาก เกิดจากอะไร

เกิดจากเชื้อไวรัส ในกลุ่ม enterovirus เอนเทอโรไวรัส ที่พบบ่อยที่สุดคือ coxsackievirus a16 บางที เกิดจากเชื้อ enterovirus 71

โรคนี้เป็นโรคที่ร้ายแรงหรือ

คำตอบคือ ส่วนใหญ่ ไม่ และเกือบทั้งหมดของคนไข้หายเองภายใน 7-10วันโดยอาจไม่จำเป็นต้องรักษา ส่วนน้อยของการติดเชื้อจาก ไวรัส ค๊อกแซคกี้ อาจมีภาวะที่เรียกว่า เยื่อหุ้มสมองอักเสบแบบไม่มีเชื้อ หรือ aseptic meningitis ได้ ซึ่งจะมีอาการ คอตึง แข็ง ปวดหัว อาเจียน ปวดหลัง อาจต้องรักษาใน รพ.ด้วยการเจาะหลังเพื่อระบายน้ำไขสันหลังและลดความดันในสมอง

ส่วนหนึ่งของการติดเชื้อจาก เอนเทอโรไวรัส 71 มีผลข้างเคียงที่รุนแรงเช่น อาการอัมพาตคล้าย ๆ โปลิโอ และสมองอักเสบ เอนเซฟาลิติสencephalitis ซึ่งอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ดังที่มีใน มาเลเซียเมื่อ 1997 ใต้หวันใน 1998 และเพิ่งมีในไทยเมื่อไม่นานมานี้

การติดต่อ

เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิด เช่นจากน้ำลาย อุจจาระและสารคัดหลั่งของคนไข้ โรคนี้ติดกันง่ายในช่วง 1 สัปดาห์ของการมีผื่น ไม่ติดต่อผ่านทางสัตว์

ระยะฟักตัว

3-7 วันหลังรับเชื้อจึงจะมีอาการ

โรคนี้มีความเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์หรือไม่

เสี่ยงเช่นกัน ถ้าไปสัมผัสเชื้อในเด็กที่มีเชื้อ แต่มักไม่รุนแรง เด็กที่คลอดในระหว่างที่แม่มีเชื้อ ก็อาจติดแต่ไม่รุนแรง

การวินิจฉัยและรักษา

ไม่มีการรักษาที่เฉพาะ เป็นการรักษาตามอาการ แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ และรักษาอาการเช่น ไข้ ผื่น ให้ยาทาป้องกันแบคทีเรียแทรกซ้อน

การระบาดและการป้องกัน

การระบาด มักในโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงเด็ก มักเกิดในช่วงฤดูร้อน และใบไม้ร่วง

นพ.กิจการ จันทร์ดา

ข้อมูล :CDC
ที่มา https://www.thaihealth.net/h/article604.html

อัพเดทล่าสุด