พักนี้มีโรคที่ร้ายแรง เข้ามาเป็นข่าวบ่อย ผมเองและแพทย์ทั้งหลายต้องทำงานหนัก ในการอธิบายว่า โรคที่เราเป็นนั้น เป็น หรือไม่เป็น หรืออาจเป็นโรคใดบ้าง(โรคยอดฮิตที่ถูกถามมากที่สุดคือ ผมจะเป็นไข้เลือดออกหรือเปล่า จะเป็นหวัดนก มาลาเรีย ไข้กาฬหลังแอ่นฯลฯ หรือเปล่า) โอกาสเหมาะวันนี้ ได้พบเนื้อหาดี ๆ จากชีตเก่าๆที่จดมาเลยนำเรื่อง ไข้กาฬหลังแอ่นมาเล่าสู่กันฟัง
ตอนเป็นแพทย์ฝึกงาน นานๆมากจึงจะเจอคนไข้สักราย (10 ปีในเมืองไทยเจอคนไข้ไม่ถึง 100 ราย นับเป็นโรคที่เจอน้อยมากๆ) แต่เจอแล้ว ทั้งหมอ พยาบาล จะตื่นเต้นมากเพราะ
- เจอน้อยมากในไทย ส่วนใหญ่จะเจอในเขตเมืองหนาว หรือผู้ไปแสวงบุญที่ตะวันออกกลาง
- เจอแล้วส่วนใหญ่จะตายหรือพิการ รุนแรงมาก
- คนที่เข้าไปสัมผัสเชื้อทั้งหมด ไม่เว้นแพทย์ พยาบาล เปล ยามฯลฯ ต้องกินยาป้องกันเชื้อกันถ้วนทั่วทุกคน
เนื่องจากเจอน้อย แพทย์และคนทั่วไปอาจไม่มีประสบการณ์ (ผมเองเจอแค่ 2ราย ต้องกินยา ไรแฟมพิซิน ป้องกัน เข็ดจนตาย)
ข้อมูลจาก อ.พรรณพิศ อายุรศาสตร์ จุฬา นำมาฝากครับ จากไทยเฮลท์ เอนไซโคลปีเดีย
โรค “ ไข้กาฬหลังแอ่น ” เป็นชื่อที่บรรยายถึงอาการได้ดี คือ จะมีไข้ และ อาจจะมีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ได้แก่ อาการคอแข็ง ถ้าถึงกับ “ หลังแอ่น ” แสดงว่า อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบรุนแรงมากแล้ว ส่วนคำว่า “ กาฬ ” แปลว่า สีดำ หมายถึง โรคนี้ร้ายแรงถึงชีวิต โดยสรุปก็คือ อาการจะเริ่มจาก ไข้สูง เจ็บคอ โรคนี้ สามารถติดต่อได้ ทาง การไอจามรดกัน หรือ การสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ น้ำเหลือง ดังนั้น ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยนานๆ จะมีโอกาสได้รับเชื้อ เพราะผู้ป่วยเหล่านั้น จะมีเชื้ออยู่ในลำคอ ตั้งแต่ก่อนมีอาการไข้
เชื้อโรคจะสามารถ กระจายไปได้ 2 แบบ คือ

ภาพจุดเลือดออก จากการกระจายเชื้อในกระแสเลือด (meningococcemia)

การดูแลรักษาไม่ให้เข้าสู่การติดเชื้อรุนแรง นั้น ควรไปพบแพทย์ตั้งแต่วันแรก เมื่อ มีอาการไข้ เจ็บคอ เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของ โรค “ ไข้กาฬหลังแอ่น ” เป็น เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “ ไนซีเรีย เมนนิงไจทิดิส ” ( Neiseria meningitides ) ซึ่งที่จริงแล้ว เชื้อนี้จะถูกทำลายด้วย “ ยาปฏิชีวนะ ” พื้นๆ ทั้งหลาย เช่น เพนนิซิลิน , อีริโทรมัยซิน และมีโอกาสเพียงเล็กน้อยที่เชื้อโรคจะดื้อยา ดังนั้น หากได้รับการรักษาตั้งแต่ในวันแรก เชื้อโรคมักจะ ไม่กระจายไปสู่อวัยวะในระบบอื่นๆ
ดังนั้น ถ้ามี ผู้ป่วยเป็นโรค “ ไข้กาฬหลังแอ่น ” หรือ ผู้ที่เข้าข่าย เป็น ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย ควรได้รับ “ ยาปฏิชีวนะ ” ( Antibiotic )
![]() | ![]() | ผู้ที่ควรได้รับ “ ยาปฏิชีวนะ ” เพื่อฆ่าเชื้อและป้องกันโรค ได้แก่ 1. สมาชิกในครอบครัว ที่อยู่บ้านเดียวกัน 2. เพื่อนนักเรียน ในชั้นเรียนเดียวกัน 3. ทหารที่ปฏิบัติงาน หรือนอนในค่ายเดียวกัน 4. เจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้ป่วย |
“ ยาปฎิชีวนะ ” ที่ให้แก่ ผู้สัมผัสโรคใกล้ชิด ได้แก่ ยา “ ซิบโปรฟลอกซาซิน ” โดยให้กินครั้งเดียว 500 มิลลิกรัม สำหรับ วัคซีนป้องกันโรค ในช่วงระบาด จะไม่มีประโยชน์ และวัคซีนที่มีจำหน่ายปัจจุบัน ก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เพราะ ไม่มีสายพันธุ์ที่พบในประเทศส่วนใหญ่ รวมทั้งประเทศไทย ยกเว้น ผู้ที่จะเดินทางไปทำพิธีทางศาสนาในตะวันออกกลาง
การป้องกันโรคที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยง การไอจามรดกัน ไม่ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน ล้างมือให้สะอาดเมื่อสัมผัสน้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วย
ข้อมูล รศ.พญ พรรณพิศ สุวรรณกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่มา https://www.thaihealth.net/h/article578.html
ที่มา https://www.thaihealth.net/h/article578.html