เด็กอ้วน


725 ผู้ชม


เด็กอ้วน ทำอย่างไรดี เป็นเอกสารจากรายการพบแพทย์ศิริราช สั้น ๆ แต่น่าสนใจครับ
รศ.พญ.ชนิกา ตู้จินดา 

     เด็กอ้วนจะดูน่ารักสำหรับสายตาคนทั่วไป แต่ผลร้ายจากความอ้วนมีหลายประการรวมทั้ง ทำให้อายุสั้น เราจึงควรทำความรู้จักกับเด็กอ้วนดังต่อไปนี้ 
     สาเหตุ 1. เด็กเกิดจากครอบครัวที่อ้วน เรียกว่าเป็นพันธุกรรมเลย แรกเกิดน้ำหนักก็มาก พ่อแม่ ก็อ้วน 
                2. เด็กที่เจริญอาหารเป็นพิเศษ เด็กเหล่านี้ดูเหมือน “เกิดมาเพื่อเป็นเด็กอ้วน” เพราะดู อะไร ๆ ก็อร่อยไปเสียทุกอย่าง 
                3. พวกที่รับประทานแต่เก็บสะสมมาก จะดูคล้ายคนมีกรรม คือรับประทานแต่ยังอ้วน เพราะไม่ค่อยได้ออกกำลังเผาผลาญ 
                     อาหารต่าง ๆ 
                4. อ้วนจากความผิดปกติฮอร์โมน พบน้อยกว่าพวกแรก ๆ แต่อาจจะแก้ไขได้ถ้ารักษา ถูกต้อง 
                5. ความไม่สบายใจ เด็กอ้วนบางคนเวลากลุ้มอกกลุ้มใจจะหาทางระบาย โดยการรับ ประทานจุทานจุบทานจิบ ยิ่งเครียดมาก 
                     ขาดเพื่อนยิ่งทานจุ เด็กบางคนวิตกเรื่องการเรียน กลับทานจุ บางคนใกล้สอบอ้วนมาก สอบเสร็จแล้วจะคุมอาหารได้ 
การควบคุมอาหาร 
      อาหารเป็นส่วนสำคัญยิ่งทำให้อ้วน จึงควบคุมอาหารประเภทแป้ง ได้แก่ ข้าว กล้วย ก๋วยเตี๋ยว ของหวาน ๆ ของมัน เช่น ข้าวขาหมู ข้าวเหนียวทุเรียน ข้าวเหนียวมะม่วง ขนมใส่กะทิมาก ๆ ของทอดควรเปลี่ยนเป็นของที่ใช้ปิ้งหรือนึ่ง หรืออบ เพื่อลดแคลอรี ไม่ควรดื่มน้ำอัดลม 
การควบคุมต้องได้รับความร่วมมือจากญาติผู้ใหญ่ 
      ถือว่า “ญาติผู้ใหญ่” มีบทบาทสำคัญมากเพราะถ้าท่านไม่ยอมให้หลานลดน้ำหนัก แม้ว่า พ่อ – แม่ – หมอ อาจารย์ที่โรงเรียนจะพยายามเท่าใดก็ไม่สำเร็จ เพราะท่านมักจะเรียกไปรับ ประทานอาหารด้วย จึงควรอธิบายให้ญาติผู้ใหญ่ฟังถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น 
อันตรายจากความอ้วน 
                 1.ทำให้การพัฒนาอาจจะล้าช้า เช่น ในเด็กหัดนั่ง หัดคลาน หัดเดิน อาจทำให้ล่าช้ากว่าเด็ก ปกติ เวลาพลัดตกหกล้มจะเจ็บ 
                     มากกว่าเด็กธรรมดาเนื่องจากน้ำหนักมาก เล่นกีฬาไม่ได้ดี 
                 2.ทำให้กระดูกและข้อต่อเสื่อมสภาพเร็วกว่าวัยอันสมควร เนื่องจากต้องรับน้ำหนักมากอยู่ นาน 
                 3.ทำให้เกิดโรคเบาหวาน อาหารที่รับประทานมากโดยเฉพาะแป้งและ น้ำตาลจะทำให้ ตับอ่อนทำงาน จนกลายเป็นโรคเบา 
                     หวาน 
                 4.ทำให้การเรียนเลวลง เนื่องจากเด็กอ้วนบางคนถูกเพื่อนฝูงล้อเลียนจนเกิดความอับอาย และเข้าเพื่อนฝูงไม่ได้ เก็บตัว ไม่ 
                     คบหากับใคร การเรียนและสมาธิเลวลง แต่บางคนก็พยายาม ปรับตัวเองจนยอมตัวเป็นตัวตลกในหมู่เพื่อนฝูง ๆ เวลาถูกล้อ 
                     เลียน 
                 5.อ้วนมาก ๆ หายใจไม่สะดวก เกิดอาการ “หัวใจล้มเหลว” ตายโดยฉับพลัน 
การควบคุมอาหารควรทำตามวัย 
                       -ในวัยอายุ 1-2 ปี ควรได้อาหารเสริมพอควร ได้นมวันละ 2-3 แก้ว หรือขวดละ 8 ออนซ์ 
                       -วัยเกิน 2 ปี ถึงวัยรุ่น คุณแม่ควรควบคุมอาหารให้เด็กแข็งแรงและสูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่ ควรจะอ้วนมาก ควรลดพวกอาหารหวานจัด, มันจัด ซึ่งทำให้อ้วน แต่อาหารโปรตีนทำให้เด็ก เติบโตและไม่อ้วนควรได้รับตามปกติ คุณเอง ถ้าอยากทราบว่า “อ้วนไปไหม” ทำดังนี้ 
                     คุณผู้ชาย ส่วนสูง – 100 ซม. = น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับทุกคน 
                     คุณผู้หญิง ส่วนสูง – 110 ซม. = น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับทุกคน 
      แต่ในเด็กเล็ก ๆ เราจะใช้ตารางการเจริญเติบโตบอกได้ว่าลูกอ้วนเกินไปหรือไม่ คุณพ่อคุณ แม่หมั่นสังเกตดู ถ้าเริ่มอ้วน ให้ทำดังนี้ 
                 1.ควบคุมอาหาร 
                 2.เพิ่มการออกกำลังกาย 
                 3.ถ้ายังไม่สำเร็จ 
     โปรดนำไปพบแพทย์เพราะอาจจะต้องการยาที่ช่วยในการ รักษาโรคอ้วน โดยเฉพาะ ครอบครัวที่มีผู้เป็นเบาหวาน โอกาสเด็กจะเป็นโรคเบาหวานได้มาก กว่าเด็กปกติ

ที่มา https://www.thaihealth.net/h/article258.html

อัพเดทล่าสุด