หลังน้ำลด ลมหนาว เป็นสิ่งที่หลายๆคนต้องเตรียมรับมือ การบรรเทาลมหนาวโดยการอาบน้ำอุ่นก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง แต่ใครจะรู้ว่าเทคนิคการอาบน้ำอย่างง่ายๆ กลับส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างคาดไม่ถึง นั่นคือวารีบำบัดแบบการอาบน้ำร้อนสลับเย็น หรือที่เรียกว่า Contrast Hydro Therapy
วารีบำบัดมีประวัติมายาวนาน แต่เริ่มมีแพร่หลายอย่างจริงจังเมื่อพระชาวเยอรมันชื่อ เซบาสเตียน คไนพ์(1821–1897) ติดเชื้อป่วยเป็นวัณโรค ท่านรักษาตัวเองโดยการไปแช่ตัวในธารน้ำเย็นละแวกที่พำนัก แช่ทุกวัน แม้ในวันที่อากาศหนาว จนชาวบ้านนินทาว่าท่านคงเพี้ยนและคงตายในเวลาอันสั้น แต่นอกจากไม่ตายท่านกลับดูแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็เลยใช้วิชาแช่น้ำรักษาผู้ป่วยอื่นๆ และต่อมาท่านพัฒนาเทคนิคการใช้น้ำในการรักษาแบบต่างๆ เช่น อาบน้ำร้อนสลับน้ำเย็น เป็นต้น.นอกจากทางยุโรปที่พบความมหัศจรรย์ของการอาบน้ำร้อนสลับเย็นแล้ว ศาสตร์ของวารีบำบัดก็เป็นที่แพร่หลายในประเทศตะวันออก เช่นกัน โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนับเป็นประเทศที่ถือว่าประชากรมีอายุเฉลี่ย สูงที่สุดในโลกโดยผลการวิจัยยืนยันจาก Brain Functions Laboratory Inc. ประเทศญี่ปุ่น เมื่อทดลองจากการอาบน้ำร้อนสลับเย็น และทดสอบกับคลื่นไฟฟ้าสมอง และระดับการเต้นของหัวใจ พบว่า เมื่ออาบน้ำร้อนสลับเย็นระดับความโกรธและความเครียดลดลง ความผ่อนคลายเพิ่มขึ้น และการเต้นของหัวใจที่ลดลงเนื่องจากว่าน้ำร้อนจะทำให้หลอดเลือดขยายตัวและเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และทำให้เกิดเหงื่อรวมถึงการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้น ส่วนน้ำเย็นจะทำให้หลอดเลือดหดตัวและ ลดการไหลเวียนของโลหิต รวมถึงการเต้นของหัวใจที่ลดลง และเมื่อมีการอาบน้ำร้อน-เย็นสลับกันจะทำให้ร่างกายถูกกระตุ้นเป็นรอบๆโดยเริ่มจากระบบประสาทส่วนปลาย ระบบประสาทอัตโนมัติ / ระบบประสาทส่วนกลาง ปฏิกิริยาส่วนปลาย ซึ่งจะช่วยให้เกิดการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง การกระตุ้นปฏิกิริยาของร่างกายนี้จะทำให้เซลล์ประสาทมีความนิ่งและส่งผลให้สภาพจิตใจมีการพัฒนาผ่อนคลายซึ่งการอาบน้ำร้อนสลับเย็นเพื่อการผ่อนคลายให้ได้ผลต้องมีการสลับอย่างน้อย 10 รอบ โดยน้ำร้อน 30 วินาที และน้ำเย็น 30 วินาที โดยเริ่มจากการอาบน้ำร้อนก่อน การทำวารีบำบัดลักษณะนี้สามารถทำได้ง่าย และทำได้เองที่บ้าน เพียงแค่ใช้เครื่องทำน้ำอุ่นที่มี function การอาบน้ำร้อนสลับเย็นเท่านั้น1. สุดสายชล หอมทอง. "วารีบำบัด". สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา., มีนาคม 2006.
2. Brain Functions Laboratory Inc. “Shower Sensibility Evaluation Test” , August2010.
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1936&sub_id=95&ref_main_id=2