ทำไมถึงเป็นโรคภูมิแพ้


1,059 ผู้ชม


โรคภูมิแพ้ หรือโรคแพ้ (Allergy) หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอาการไวผิดปกติต่อสิ่งซึ่งสามารถก่อให้เกิดภูมิแพ้ (Allergen)          โรคภูมิแพ้ หรือโรคแพ้ (Allergy) หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอาการไวผิดปกติต่อสิ่งซึ่งสามารถก่อให้เกิดภูมิแพ้ (Allergen) 
ซึ่งธรรมชาติสารเหล่านี้อาจไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้กับคนปกติทั่วไป
  • ทำไมถึงเป็นโรคภูมิแพ้
  • โรคภูมิแพ้ที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง
  • สาเหตุโรคภูมิแพ้ในทัศนะการแพทย์จีน
  • ใครมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้มากกว่ากัน

 
คำแนะนำ    ที่ว่าการรักษาโรคภูมิแพ้ที่ได้ผลที่สุดคือการหลีกเลี่ยงสารภูมิแพ้นั้น ฟังดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย แต่ในทางปฏิบัติแล้วกลับทำได้ลำบาก ดังที่เราเห็นจากอัตราความชุกของโรคภูมิแพ้ในปัจจุบันมีแต่นับวันเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นโรคฮิตของคนไทยไปแล้ว เราหันไปทางไหนก็สามารถเจอผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ได้อย่างง่ายๆ และผู้ป่วยเหล่านี้มักจะเรื้อรังเป็นเวลานานหรืออาจเป็นตลอดชีวิต ทำให้บั่นทอนสุขภาพและคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก หากสารภูมิแพ้นั้นหลีกเลี่ยงได้ง่ายๆ เหตุการณ์แบบนี้คงจะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดน่าจะเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอยู่ในภาวะสมดุล ไม่ทำงานตอบโต้ไวเกินไปต่อสิ่งแปลกปลอมที่ไม่เป็นอันตราย ไม่ว่าเราจะเจอฝุ่น ขนสัตว์ ไรฝุ่น เกสรดอกไม้หรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศก็จะไม่มี “แพ้” มีแต่ “ชนะ”...


ทำไมถึงเป็นโรคภูมิแพ้...
โรคภูมิแพ้เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าใจผิดว่าสิ่งแปลกปลอมบางอย่างที่เข้าสู่ร่างกายนั้นเป็นอันตราย จึงตอบสนองโดยการผลิตสารภูมิต้านทานขึ้นเพื่อกำจัดและทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้น เช่นเดียวกับการตอบสนองเมื่อมีเชื้อแบคทีเรีย ปรสิตหรือไวรัสเข้าสู่ร่างกายทั้งๆ ที่อาจเป็นแค่ฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสร ไข่ ไรฝุ่นหรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศเท่านั้นเช่น คนทั่วไปสูดฝุ่นละอองภายในบ้านซึ่งมีไรฝุ่นจะไม่เกิดอาการผิดปกติ แต่ถ้าผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้สูดเอาฝุ่นละอองเข้าไปจะเกิดอาการน้ำมูกไหล คันจมูก คันตาหรือมีอาการหอบหืด เป็นต้น โรคภูมิแพ้จึงเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานตอบโต้ไวเกินไป ซึ่งผิดกับความเชื่อของคนทั่วไปว่าโรคภูมิแพ้เป็นโรคที่ภูมิต้านทานของร่างกายต่ำลงหรือน้อยลง


โรคภูมิแพ้ที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง...
1.  โรคแพ้อากาศ   ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยมักจะมีอาการคันจมูก คัดจมูกน้ำมูกไหล ไอ มีเสมหะมาก อาจจะกระแอมบ่อยๆ เนื่องจากน้ำมูกไหลลงคอ เป็นหวัดบ่อยหรือเป็นหวัดง่าย โรคแพ้อากาศพบได้ในคนทุกวัยโดยเฉพาะเด็กนักเรียนในเขตกรุงเทพฯเป็นโรคนี้มากถึง 40% ซึ่งต่อไปในอนาคตเด็กเหล่านี้ก็มักจะถ่ายทอดโรคภูมิแพ้ให้แก่ลูกๆ
 
2.  โรคหืด    เกิดจากการอักเสบของหลอดลมทำให้มีความไวและตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นมากผิดปกติ เมื่อผู้ป่วยโรคหืดสัมผัสสิ่งกระตุ้น หลอดลมก็จะหดตัวอย่างรุนแรงจนตีบแคบทำให้หายใจลำบาก ไอ หอบ แน่นหน้าอกและหายใจมีเสียงวี้ดๆ โรคหืดพบบ่อยในคนทุกวัยและสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ หากพ่อแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นโรคหืด ลูกจะมีโอกาสเป็นหืดได้ 30-50% และจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 60-100% หากพ่อแม่เป็นโรคหืดทั้งคู่
 
3.  ลมพิษ   ซึ่งมีอาการบวม แดง คันที่ผิวหนังตำแหน่งใดก็ได้ในร่างกาย ลมพิษอาจจะเป็นอยู่เพียงไม่กี่ชั่วโมงหรืออาจจะเป็นๆ หายๆ ลมพิษสามารถเป็นได้กับคนทุกวัยเช่นกันโดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้:
1.ลมพิษชนิดเฉียบพลัน จะเป็นๆ หายๆ น้อยกว่า 6 สัปดาห์ ซึ่งมักจะเกิดจากการแพ้อาหาร ยาหรือการติดเชื้อ
2.ลมพิษชนิดเรื้อรัง จะเป็นๆ หายๆ มากกว่า 6 สัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการแพ้อาหารหรือการติดเชื้อ ผู้ที่เป็นลมพิษเรื้อรังมักจะมีลมพิษตามตำแหน่งที่เกาหรือกดทับเป็นเวลานาน เช่น รอยรัดของเสื้อชั้นในหรือกางเกง เป็นต้น

สาเหตุโรคภูมิแพ้ในทัศนะการแพทย์จีน...
การแพทย์จีนได้จัดโรคภูมิแพ้ให้อยู่ในกลุ่มโรคที่เกิดจากภาวะพร่องพลัง ซึ่งหมายถึงสมรรถภาพการทำงานของอวัยวะในร่างกายถดถอยลงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติไปด้วย ภาวะพร่องพลังมักจะเกิดขึ้นร่วมกันในปอด ม้ามและไต ผู้ป่วยจึงมีอาการได้หลายอย่างทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะพร่องพลังนั้นจะไปเป็นหนักในอวัยวะใด อาทิ:
พลังม้ามพร่อง    มักจะมีอาการหน้าซีดเหลือง ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่อยากพูดคุยเบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย แน่น จุกเสียดที่ท้อง มีลมในกระเพาะอาหาร ท้องเสียเป็นประจำหรืออุจจาระหยาบไม่เป็นก้อน ฯลฯ
พลังปอดพร่อง    มักจะมีอาการหายใจขัด หายใจถี่ หอบ ไอเรื้อรังโดยเฉพาะไอแบบไม่มีแรงหรือไอตอนกลางคืน มีเสมหะมาก เสียงพูดเบาหรือค่อย เหงื่อออกง่ายทั้งๆ ที่ไม่รู้สึกร้อนหรือเหงื่อออกในขณะนอนหลับ เป็นหวัดง่าย ลิ้นมีฝ้าขาวหรือลื่น ฯลฯ
พลังไตพร่อง  เมื่อไตอ่อนแอมากๆ ก็จะทำให้พลังในไตพร่องลงซึ่งมักจะมีอาการหายใจขัด หายใจถี่ หอบหืด หายใจได้ไม่เต็มอิ่ม อ่อนเพลียง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง ใจเต้นแรง มีอาการบวมที่ใบหน้าและแขนขา เหงื่อออกง่าย ลิ้นมีฝ้าขาวหรือลื่น ขอบลิ้นทั้ง 2 ด้านมีรอยกดทับของฟัน ฯลฯ
ผลวิจัยทางคลินิกในปัจจุบันได้พิสูจน์แล้วว่า ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยพร่องพลังมักจะทำงานผิดปกติไปด้วย ซึ่งอาจแสดงในด้านภูมิต้านทานของร่างกายต่ำลงทำให้ง่ายต่อการรุกรานของโรค หรือในด้านภูมิต้านทานของร่างกายตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นมากผิดปกติส่งผลให้เกิดโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยพร่องพลังจึงมีดัชนีชี้วัดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติไปอย่างน้อย1 ดัชนี เช่น ปริมาณของเซลล์ CD3 CD4 CD8 อัตราส่วนของเซลล์ CD4 ต่อ CD8 ระดับของซีรั่ม IgA IgE IgG หรือ IgM แอนติบอดี เป็นต้น

ใครมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้มากกว่ากัน...
ผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้สูงกว่าได้แก่ ผู้ที่มีพ่อแม่หรือปู่ ย่า ตา ยาย พี่ ป้า น้า อา ซึ่งเป็นญาติที่มีสายเลือดเดียวกันเป็นโรคภูมิแพ้ พ่อและแม่เคยเป็นโรคภูมิแพ้ ลูกๆ จะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้ถึง 80% ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกๆ จะมีโอกาสเป็น 50% และสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ก็มักจะเป็นโรคภูมิแพ้ประเภทเดียวกันด้วย
นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงในชีวิตประจำวันและพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะจะเพิ่มโอกาสการเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น การใช้ยาเคมีอย่างพร่ำเพรื่อ (ยาแก้ปวด ยาคุมกำเนิดยารักษาสิว ยาปฏิชีวนะ ยาลดความดัน ยาลดความอ้วน ฮอร์โมนทดแทนฯลฯ) ความเครียดมลภาวะเป็นพิษ ยาฆ่าแมลงที่ตกค้างในผักผลไม้ สารฮอร์โมนที่สะสมในเนื้อสัตว์ อาหารทะเลที่แช่ฟอร์มาลินหรือได้รับสารปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม สารโซเดียมที่อยู่ในอาหาร ขนมขบเคี้ยวและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (ผงชูรส ผงฟู ฯลฯ) อาหารรสจัด รสเค็ม อาหารและเครื่องดื่มที่ผสมสีทำงานเกินกำลังหรือทำงานหามรุ่งหามค่ำ อดหลับอดนอน ตลอดจนการมีเพศสัมพันธ์ที่มากเกินควร เป็นต้น
ที่มา   https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1756&sub_id=95&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด