7 สารอาหารที่ดีต่อสุขภาพผู้สูงอายุ


709 ผู้ชม


ผู้สูงอายุจำเป็นต้องการเอาใส่ใจดูและเรื่องสุขภาพมากเป็นพิเศษ เพราะว่าการรับประทานอาหารที่ดีสุขภาพจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี ไม่เจ็บป่วยอีกด้วยวันนี้ 108 health มีข้อมูลสารอาหารที่จำเป็นทั้ง 7 ชนิดมาฝากค่ะ         ผู้สูงอายุจำเป็นต้องการเอาใส่ใจดูและเรื่องสุขภาพมากเป็นพิเศษ เพราะว่าการรับประทานอาหารที่ดีสุขภาพจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี ไม่เจ็บป่วยอีกด้วยวันนี้ 108 health มีข้อมูลสารอาหารที่จำเป็นทั้ง 7 ชนิดมาฝากค่ะ 
การดูแลสุขภาพร่างกายไม่ว่าจะเป็ญวัยไหนเป็นสิ่งจำเป็นและสำคุญอย่างยิ่ง เพราะสุขภาพเป็นเรื่องสำคัณวันนี้ 108 health เอาข้อมูลเกี่ยวกับ 7 สารอาหารที่ผู้สูงอายุมักขาด ทำให้ผู้สูงอายุเสียสุขภาพ เพราะมักขาดสารอาหารดังต่อไปนี้
 
  • วิตามินบี 12 ร่างกายผู้สูงอายุไม่สามารถดูดซึมวิตามินบี 12 ได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนวัยหนุ่มสาว ทำให้มักมีอาการโลหิตจาง แนะนำให้กินอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 12 ได้แก่ ปลา และโยเกิร์ต ให้บ่อยครั้งขึ้น
 
  • วิตามินดี ผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยมีโอกาสได้รับแสงแดด อาจจะเกิดภาวะขาดวิตามินดี เนื่องจากแสงแดดจะไปกระตุ้นคอเลสเตอรอลที่ผิวหนังให้เปลี่ยนเป็นวิตามินดี จึงควรกินอาหารที่มีวิตามินดีเป็นประจำ เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า โยเกิร์ต และน้ำผลไม้ต่างๆ และพยายามออกมารับแสงแดดอ่อนๆ ทุกเช้าให้เป็นกิจวัตร เพื่อส่งผลที่ดีต่อสุขภาพ
 
  • แคลเซียม เมื่อมีอายุสูงวัย ร่างกายมักขาดแคลเซียมและเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน แหล่งอาหารที่มีแคลเซียม ได้แก่ ผักคะน้า บรอกโคลี และโยเกิร์ต และเพื่อลดปัญหาเรื่องการบดเคี้ยว อาการปากแห้ง และช่วยให้ผู้สูงอายุเจริญอาหารมากขึ้น 
 
  • โพแทสเซียม สาเหตุของการขาดโพแทสเซียมในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มาจากการไม่ได้รับอาหารที่มีโพแทสเซียมอย่างเพียงพอ จึงควรเพิ่มผักและผลไม้ที่ให้โพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย ลูกพรุน ลูกไหน มันฝรั่งไม่ปอกเปลือก เป็นประจำ
 
  • แมกนีเซียม เนื่องจากความสามารถในการดูดซึมแมกนีเซียมในวัยสูงอายุลดลง และแมกนีเซียมในอาหารมักสูญเสียไประหว่างกระบวนการผลิต อาหารที่ควรกินเป็นประจำเพื่อเพิ่มแมกนีเซียม คือ ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วฝัก เมล็ดพืชต่างๆ 
 
  • ใยอาหาร เนื่องจากปัญหาการบดเคี้ยวและการย่อยอาหารทำให้ผู้สูงอายุกินอาหารที่มีใยอาหารน้อยลง วิธีแก้ปัญหาคือปรุงให้อาหารนิ่มขึ้น อาหารที่มีใยอาหารมากที่ควรกินเป็นประจำ เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่ว ผัก และผลไม้ต่างๆ 
 
  • โอเมก้า 3ผู้สูงอายุจำนวนมากมักขาดกรดไขมันโอเมก้า 3 เนื่องจากมีอาหารเพียงไม่กี่ชนิดที่อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 เมื่อบวกกับความอยากอาหารที่ลดลง ทำให้มีโอกาสขาดโอเมก้า 3 สูง แนะนำให้กินอาหารต่างๆ ดังเช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ถั่วเหลือง น้ำมันคาโนลา ผักโขม บรอกโคลี เป็นประจำ
 
นอกจากผู้สูงอายุจะดูแลตัวเองแล้ว คนใกล้ชิดอย่าลืมช่วยดูแลสุขภาพอีกแรงนะคะ  เพราะไม่มีกำลังใจไหนดีเท่ากับการดูแลใกล้ชิดของลูกหลานสำหรับผู้สูงอายุอีกแล้ว ดังนั้นการดูแลสุขภาพจึงไม่ใช่เป็นเรื่องยากที่จะให้ร่างกายทีดีต่อสุขภาพ
 

อัพเดทล่าสุด