ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม ตอน 1


1,599 ผู้ชม


 เดือนตุลาคม เป็นเดือนที่เกี่ยวข้องกับ มะเร็งเต้านม โดยองค์การอนามัยโลก ถือว่า เดือนตค.เป็นเดือนระวังป้องกันมะเร็งเต้านม หรือ breast cancer awareness month ทำไมถึงสำคัญเช่นนั้น? ก็เพราะ ข้อมูลสำคัญคือ 1 ใน 8 ของสตรีในวัยใดวัยหนึ่ง จะเป็นมะเร็งเต้านม!(american cancer society)นั่นคือความสำคัญ วันนี้ ผมจึงนำเสนอข้อมูลเล็กน้อยเพื่อเป็นเกร็ดความรู้ครับ

มะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในมะเร็งที่สุภาพสตรีกลัวกันมาก ทั้งที่จริงๆแล้ว พบว่า โรคที่พบบ่อยและทำให้งแก่ชีวิตในสตรี คือโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็งอื่นๆเสียมากกว่า และปัจจุบัน ด้วยเทคนิคที่ก้าวหน้า การวินิจฉัยเร็วขึ้น และการผ่าตัดที่ไม่ต้องเลาะเอาเต้านมออก ทำให้สตรี มีความเสี่ยงลดลง ยิ่งถ้าเราสามารถพบได้เมื่ออายุน้อย ยิ่งดีเท่านั้น

อาการและอาการแสดง

ที่สำคัญที่สุด(และพบบ่อยที่สุด ที่ผมต้องให้คำปรึกษา)คือ ก้อนที่เต้านมส่วนมาก ไม่ใช่มะเร็ง และถ้าก้อนนั้นจะสงสัยว่าเป็นมะเร็ง มันมักจะไม่มีอาการเจ็บ แต่อาจจะมี

  • น้ำ หรือ เลือดไหลออกมาจากหัวนม
  • หัวนมหดไป ไม่เท่ากัน
  • นมโตขึ้น หรือไม่เท่ากัน หรือรูปร่างเปลี่ยน หรือมีผิวบริเวณเหนือก้อนที่เปลี่ยนไป อาจจะมีหยาบ บุ๋ม หรือเป็นขรุขระคล้ายผิวส้ม

ภาวะอื่นๆที่ทำให้เกิดก้อน และสับสนกับมะเร็งเต้านมได้แก่

  • ไฟโบรซิสติก หรือเต้านมไม่เรียบ ก้อนที่คลำมักหาขอบเขตไม่เจอ เหมือนกับว่าคลำหมอนที่มีความนุ่มและแข็งไม่เท่ากัน ข้างในเหมือนตะปุ่มตะป่ำ
  • ซิสต์ เป็นถุงน้ำในเต้านม มักเกิดในคนอายุ 35-50ปี จะมีอาการเจ็บก่อนจะเป็นประจำเดือน และหายไป ส่วนใหญ่พอหมดประจำเดือนจะหายไป
  • ไฟโบร อดีโนมา ก้อนนุ่ม ขยับไปมาได้ ในคนอายุวัยเจริญพันธ์ ไม่เจ็บ มักต้องทำการเจาะชิ้นเนื้อมาตรวจ
  • การติดเชื้อที่เต้านม (mastitis)มักเกิดในแม่ที่ให้นมลูก ก้อนบวมร้อนแดงเจ็บมีไข้
  • การได้รับบาดเจ็บจากการกระแทก มีก้อนช้ำซึ่งเจ็บ อาจมีห้อเลือด ประวัติจะแยกออกจากมะเร็งชัดเจนและมักหายไปเอง

สาเหตุ

เต้านมของทุกคน ประกอบด้วยต่อมเต้านมประมาณ 15-20 พู ส่วนประกอบส่วนใหญ่คือ ไขมัน ประมาณ 80-85% ส่วนน้อยคือต่อมและท่อน้ำนม โดยมีเยื่อที่ห่อหุ้มแต่ละพูคล้ายผลไม้(เช่นส้มโอ)

เวลาตั้งท้อง ปริมาณต่อมและท่อน้ำนมจะเพิ่มขึ้นทำให้เต้านมคัดเต็มไปด้วยน้ำนม นอกจากนี้ ส่วนประกอบอื่น มีเช่น เส้นเลือด เส้นประสาท และท่อน้ำเหลือง

ในกรณีมะเร็ง ก็คือมีการเจริญผิดปกติของเซลเหล่านี้โดยควบคุมไม่ได้ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดยังไม่ชัด แต่ที่แพทย์ส่วนใหญ่ทราบคือ มีกรรมพันธ์ร่วมประมาณ 5-10% โดยเฉพาะความบกพร่องของยีนในโครโมโซม ที่เรียกว่า  ยีน BRCA1 และ BRCA2 นอกจากนี้ อาจบกพร่องในยีนที่ควบคุมมะเร็งคือ p53 tumor suppressor gene

ส่วนใหญ่ความบกพร่องทางกรรมพันธ์จะเกิดเอง แต่มีบ้าง ที่เกิดการมิวเตท หรือกลายพันธ์จากการได้รับรังสีเอกซเรย์ เช่นไดรับรังสีตั้งแต่เด็กๆ หรือสารก่อมะเร็งพวก polycyclic hydrocarbons ในบุหรี่ และเนื้อที่ย่างเกรียม

ปัจจัยเสี่ยง

  • อายุ ยิ่งอายุมากยิ่งเสี่ยง โดยทั่วไปจะเกิดในคนอายุมากกว่า 25 ปี และ80% พบในคนที่อายุมากกว่า 50 เมื่ออายุ 85 ปี ความเสี่ยงของคุณคือ 1 ใน 8
  • ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง ญาติสายตรงที่เป็นมะเร็งเต้านม หรือรังไข่
  • ประวัติเคยเป็นมะเร็งในข้างหนึ่ง อีกข้างก็จะมีโอกาสเป็นสูงกว่าปกติ เช่นถ้ามีคนหนึ่งเป็น คุณมีโอกาสเสี่ยงเป็นสองเท่าของปกติเลยทีเดียว
  • การได้รับรังสีตั้งแต่เด็ก
  • น้ำหนักเกิน อ้วน
  • การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานาน ๆ การมีเมนส์ในอายุน้อยกว่า 12 การหมดประจำเดือนช้ากว่าปกติ
  • เชื้อชาติ คนผิวขาวมีโอกาสมากกว่า
  • การรักษาด้วยฮอร์โมนในสตรีวัยหมดประจำเดือน
  • การรักษาด้วยยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ไม่มีตอบที่แน่ชัดว่าเสี่ยง อย่างไรก็ตาม การศึกษาใหม่ ๆ ไม่พบว่า การกินยาคุมมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม(new england journal)
  • สูบบุหรี่ ชัดเจน และถึงแม้คุณจะได้รับควันจากผู้อื่น ก็ยังเสี่ยงด้วย
  • การดื่มสุรามากเกิน มีความเสี่ยงกว่าปกติ 20%
  • การได้รับสารก่อมะเร็ง เช่นเนื้อย่างที่ไหม้

การตรวจร่างกาย breast self exam.

การตรวจโดยใช้การคลำ การศึกษาใหม่ๆ พบว่า การแนะนำให้ตรวจเต้านมโดยคนไข้เองที่เคยกระทำมาในอดีต ไม่ได้ผลเพียงพอในการพบมะเร็งในระยะแรก หลายๆแห่ง แนะนำว่า ควรมีการมาตรวจกับแพทย์ที่ผ่านการฝึก ทุก 3 ปี ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ในคนที่มีประวัติเสี่ยง เช่นมีประวัติครอบครัว แต่เมื่ออายุมากกว่า 40 แนะนำมาตรวจทุกปี

การตรวจโดยการใช้เอ็กซเรย์ แมมโมแกรม

ยังได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร ในคนอายุน้อยกว่า 40 แนะนำให้ตรวจทุกปีในช่วงอายุ 40 - 50 ซึ่งอาจทดแทนได้โดยการตรวจโดยใช้การคลำ  และ ปีเว้นปีในคนที่มีอายุมากกว่า 50

การตรวจโดยใช้แมมโมแกรม เต้านมจะต้องโดนบีบโดยแผ่นพลาสติดที่มีฟิล์มสองแผ่น ใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาที อาจจะเจ็บพอสมควร และถ้าเต้านมอยู่ในช่วงมีประจำเดือน อาจเจ็บมาก

การตรวจอื่นๆ

  • computer aided detection ใช้คอมพิวเตอร์ตรวจร่วมกับเอ็กซเรย์
  • digital mammography
  • เอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็ก หลายที่ใช้ในกรณีที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง สามารถพบได้ตั้งแต่ก้อนเล็กๆ แต่อาจมีปัญหาเรื่องผลบวกลวง ทำให้ต้องตัดเต้านมหรือให้การรักษาโดยไม่จำเป็น
  • อัลตร้าซาวด์ อาจได้ประโยชน์ในบางคน แต่มีผลบวกลวงมาก
  • ตัดชิ้นเนื้อตรวจ อาจตัด หรือใช้เข็มเจาะ เอาเฉพาะน้ำที่ดูดได้ไปตรวจ บางครั้งอาจจะใช้การใส่สายไปทางต่อมเต้านมแล้วล้างเอาน้ำมาตรวจ

สำหรับการรักษา ต่อตอนที่ 2 ครับ
https://www.thaihealth.net/h/article606.html
ที่มา 

อัพเดทล่าสุด