กรมการแพทย์แผนไทย เตรียมจัดมหกรรมสมุนไพร ครั้งที่ 7


938 ผู้ชม


กรมการแพทย์แผนไทย เตรียมจัดมหกรรมสมุนไพร ครั้งที่ 7 ผลักดันภูมิปัญญาไทย เข้าสู่ระบบบริการแพทย์ทางเลือก เดินหน้าหนุนนโยบาย สธ.เน้นใช้สมุนไพรไทยสร้างบบรรยากาศในรพ.ยุคใหม่

วันนี้ (19 ส.ค.) ที่ รร.ดิเอ็มเมอรัลด์ รัชดา กทม. พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร เภสัชกรเชี่ยวชาญ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ร่วมกันแถลงข่าว “มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 7 ”

โดย พญ.วิลาวัณย์ กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นการจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรเครื่องหอมในด้านการแพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแบบบูรณาการ โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะมีประโยชน์ในการขับเคลื่อนภูมิปัญญาของคนไทยในด้านการใช้สมุนไพรมากขึ้น โดยมหกรรมดังกล่าว จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-2 ก.ย. 2553 ที่อิมแพคเมืองทอง ภายใต้แนวคิด “หอมกรุ่นทั่วไทย หอม
ไกลทั่วโลก” เน้นการนำกลิ่นเครื่องหอมจากธรมชาติมาใช้ทดแทนกลินสารสังเคราะห์ใน โรงพยาบาลได้ ช่วยสร้างบรรยากาศภายในโรงพยาบาลให้สดชื่น ซึ่งเป็นหลักคิดที่สอดคล้องกับนโยบายพลิกโฉมโรงพยาบาลยุคใหม่ ของ สธ.ที่เน้นการปรับปรุง 3 ด้าน คือ โครงสร้างดี บริการดี ระบบบริหารดี

พญ.วิลาวัณย์ กล่าวด้วยว่า จากการจัดงานทั้ง 6 ครั้งที่ผ่านมใา ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เนื่อวงจากมีบุคลากรทางการแพทย์ นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ให้ความสนวจมากกว่าปีละ 200,000 คน ซึ่งถ้าหากพิจารณาในแง่ของความสำเร็จ ในด้านการผลักดันให้เกิดการพัฒนาด้านสุขภาพวิถีไทย ส่งผลให้คนไทยหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เช่น หลายคนหันมาบริโภคข้าวกล้อง ผักพื้นบ้าน ใช้ยาจากสมุนไพรในการรักษาโรค เช่น ผักเชียงดา เป็นผักเพื่อผู้ป่วยเบาหวาน

ด้าน ภญ.ดร.สุภาภรณ์ กล่าวว่า สมุนไพรไทยเป็นดังขุมทรัพย์ของแผ่นดิน ซึ่งนับว่าเป็นความโชคดีของคนไทยที่มีทรัพยากรอันล้ำค่านี้ แต่เหตุผลที่เราต้องเร่งสนับสนุนสมุนไพรอย่างเร่งด่วน เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤติที่น่ากังวล จากการสำรวจของ รพ.เจ้าพระยาฯ พบว่า

ภาคอีสาน เหนือและใต้ ค้นพบสมุนไพรหายากที่มีประโยชน์วิถีชีวิตชาวบ้าน เช่น แหน่งหอม ว่านสาวหลง ซึ่งเป้นพืชหอมที่ชาวบ้านใช้ในชีวิตประจำวัน โดยใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องหอมสำหรับพิธีงานแต่ง นอกจากนี้ยังมี สุมนไพรชื่อ พังคี เป็นพืชหอมที่พบในป่าเต็งรัง ชาวบ้านมักใช้เป็นยาแก้ท้องอืด ท้องขึ้น แน่นท้อง เนื่องจากมีคุณสมบัติช่วยขับลม และพืชที่สำคัญอีกชนิด คือ ขิงแคงปลากั้ง หรือ บอนหอม เสน่จันทน์ เป็นสมุนไพรที่พบมากในตำรายาโบราณของภาคอีสาน ที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากเหง้า โดยการต้มดื่ม ช่วยบำรุงประสาท บำรุงหัวใจ คลายเครีด นอกจากนี้สามารถประยุกต์เป็นลูกประคบ ตามบริเวณร่างกายที่บวมและฟกช้ำ ได้อีกด้วย

“ในมหกรรมสมุนไพรจะช่วยให้ทุกท่านได้รับรู้ถึงชนิดและการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรต่างๆทั่วทุกภาค โดยเฉพาะชนิดที่หายาก นอกจากนี้ยัง จะได้รับชมรับรู้เรื่องของกรรมวิธีในการใช้สมุนไพรทั้งแบบพื้นบ้าน และแบบสมัยใหม่อีกด้วย ” ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร กล่าว
ที่มา https://xn--q3ckhk5a4fzd.thaihealth.net/กรมการแพทย์แผนไทย-เตรีย.html

อัพเดทล่าสุด